sustainability

“เอลนีโญ” พ่นพิษทุบผลผลิตภาคเกษตรฟิลิปปินส์ เสียหาย 1.5 หมื่นล้านเปโซ

    “ฟิลิปปินส์” ประเมิน ไตรมาส 2 “เอลนีโญ” พ่นพิษทุบผลผลิตภาคเกษตรเสียหาย 1.5 หมื่นล้านเปโซ “ข้าว-ข้าวโพด” เสียหายรวมกว่า 7 แสนตัน ยังมีชาวประมงได้รับผลกระทบอีก กว่า 3 แสนราย พร้อมประกาศเฝ้ามือรับมือลานีญา ผวา พายุ ฝนถล่มหนัก คาดนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นอีก

สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปินส์ รายงาน ผลผลิตทางการเกษตรโดยรวมของฟิลิปปินส์อาจลดลงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 หลังจากแนวโน้มภัยแล้งที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ

โดยนาง Marie Annette Galvez-Dacul ผู้อํานวยการบริหารศูนย์อาหารและธุรกิจการเกษตรมหาวิทยาลัยแห่งเอเชียและแปซิฟิก (UA&P) เปิดเผยว่า ผลผลิตทางการเกษตรของฟิลิปปินส์มีแนวโน้มลดลงร้อยละ 1.5 ถึง ร้อยละ 2.5 ในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญและซึ่งจะเป็นการลดลงของผลผลิตทางการเกษตรและการประมงที่มากกว่าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566ที่ลดลงร้อยละ 1.3 โดยเป็นการถดถอยของการเติบโตร้อยละ 0.05 ในไตรมาสแรกของปี 2567 เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน 2566 ทําให้มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปกติ และทำให้เกิดความแห้งแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตทางการเกษตร โดยข้าวได้รับผลกระทบมากที่สุด (ร้อยละ 20)ของผลผลิตทางการเกษตรโดยรวมของประเทศ และข้าวโพดรองลงมา (ร้อยละ 8) ในไตรมาสแรกของปี 2567

นาย Raul Q. Montemayor ผู้จัดการของสหพันธ์เกษตรกรเสรี (Federation of Free FarmersNationa) คาดว่า ผลผลิตทางการเกษตรจะลดลงเนื่องจากผลกระทบที่ยืดเยื้อจากปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 อย่างไรก็ตาม สํานักอุตุนิยมวิทยาฟิลิปปินส์ (The state weatherbureau) ได้ประกาศการสิ้นสุดของปรากฏการณ์เอลนีโญแล้ว แม้ว่าความแห้งแล้งยังคงอยู่ในบางพื้นที่ของประเทศ โดยภาคเกษตรกรรมยังมีส่วนร่วมประมาณ 1 ใน 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) และการสร้างงานประมาณ 1 ใน 4 ของงานทั้งหมด

ด้านนาย Danilo V. Fausto ประธานหอการค้าเกษตรและอาหารแห่งฟิลิปปินส์ (PhilippineChamber of Agriculture and Food, Inc.) ระบุ ว่ าการเติ บโตของพื้ นที่เพราะปลูกในไตรมาสที่ 2ผลผลิตทางการเกษตรโดยรวมของฟิลิปปินส์อาจลดลงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 หลังจากแนวโน้มภัยแล้งที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ

นาง Marie Annette Galvez-Dacul ผู้ อํานวยการบริหารศูนย์อาหารและธุรกิจการเกษตรมหาวิทยาลัยแห่งเอเชียและแปซิฟิก (UA&P) เปิดเผยว่า ผลผลิตทางการเกษตรของฟิลิปปินส์มีแนวโน้มลดลงร้อยละ 1.5 ถึง ร้อยละ 2.5 ในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญและซึ่งจะเป็นการลดลงของผลผลิตทางการเกษตรและการประมงที่มากกว่าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566ที่ลดลงร้อยละ 1.3 โดยเป็นการถดถอยของการเติบโตร้อยละ 0.05 ในไตรมาสแรกของปี 2567 เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน 2566 ทําให้มีปริมาณน้ําฝนน้อยกว่าปกติ และทําให้เกิดความแห้งแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตทางการเกษตร โดยข้าวได้รับผลกระทบมากที่สุด (ร้อยละ 20)ของผลผลิตทางการเกษตรโดยรวมของประเทศ และข้าวโพดรองลงมา (ร้อยละ 8) ในไตรมาสแรกของปี 2567

นาย Raul Q. Montemayor ผู้จัดการของสหพันธ์เกษตรกรเสรี (Federation of Free Farmers Nationa) คาดว่า ผลผลิตทางการเกษตรจะลดลงเนื่องจากผลกระทบที่ยืดเยื้อจากปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 อย่างไรก็ตาม สํานักอุตุนิยมวิทยาฟิลิปปินส์ (The state weatherbureau) ได้ประกาศการสิ้นสุดของปรากฏการณ์เอลนีโญแล้ว แม้ว่าความแห้งแล้งยังคงอยู่ในบางพื้นที่ของประเทศ โดยภาคเกษตรกรรมยังมีส่วนร่วมประมาณ 1 ใน 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) และการสร้างงานประมาณ 1 ใน 4 ของงานทั้งหมด

นาย Danilo V. Fausto ประธานหอการค้าเกษตรและอาหารแห่งฟิลิปปินส์ (PhilippineChamber of Agriculture and Food, Inc.) ระบุ ว่าการเติบโตของพื้นที่เพราะปลูกในไตรมาสที่ 2มีแนวโน้มที่ทรงตัว โดยเสริมว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญไม่ได้ส่งผลกระทบมาก แต่ก็ยังมีผลกระทบอยู่ ดังนั้น ผลกระทบจากเอลนีโญอาจทำให้ผลผลิตลดลง

นอกจากนี้ จากรายการของกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (DA : final bulletin issued ) ในเดือนสิงหาคม ระบุว่าความเสียหายของพื้นที่เพราะปลูกจากปรากฏการณ์ เอลนีโญมีมูลค่ารวม 1.5 หมื่นล้านเปโซโดยผลผลิตของข้าวและข้าวโพดได้รับผลกระทบมากที่สุดตามลำดับ ปริมาณผลผลิตที่เสียหายทั้งหมดอยู่ที่ 784,344 ตัน ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม 270,855 เฮกตาร์ ซึ่งร้อยละ 68 หรือ 184,182 เฮกตาร์สามารถกู้คืนได้ โดยส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและชาวประมง จำนวน 333,195 ราย

 

ปรากฏการณ์ลานีญา

นาย Francisco Tiu Laurel Jr. เลขาธิการ กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์(DA) กล่าวว่า ในปี2567 DA ตั้งเป้าการเติบโตทางการเกษตรอยู่ที่ร้อยละ 1 – 2 โดยได้คำนึงถึงผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ และลานีญาแล้ว และเสริมว่าตัวเลขการเติบโตดังกล่าวสามารถเป็นไปได้หากฟิลิปปินส์ไม่ประสบกับ พายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ นาย Danilo V. Fausto เสริมว่า สำหรับครึ่งปีหลังเราเผชิญกับ ความท้าทายเนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งภาคการเกษตรจะได้รับผลกระทบอย่างมาก

โดยหน่วยงาน บริหารบริการบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์และดาราศาสตร์ของฟิลิปปินส์ (PAGASA) ระบุว่า ฟิลิปปินส์มีโอกาสถึง ร้อยละ70 ที่ปรากฏการณ์ลานีญาจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการ เกิดพายุเขตร้อนได้ในเดือนต่อๆไป นาย Roehlano M. Briones นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาฟิลิปปินส์กล่าวว่า การเติบโตของภาคเกษตรอาจจะอยู่ที่ร้อยละ 1 ตลอดทั้งปี หากภาคปศุสัตว์ สัตว์ปีก และการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำฟื้นตัว นาย Raul Q. Montemayor ผู้จัดการของสหพันธ์เกษตรกรเสรี(Federation of Free Farmers Nationa) ระบุว่า ปริมาณฝนในช่วงเดือนกรกฎาคมจะช่วยให้เกษตรกรให้ฟื้นตัวได้

 แต่อย่างไรก็ตาม ไต้ฝุ่นที่ฟิลิปปินส์พบเจอล่าสุด "พายุทกซูรี" แสดงให้ว่าสภาพอากาศนั้นเป็นปัจจัยที่สามารถคาดเดาได้ยาก และภาคเกษตรมีความเปราะบางต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติมากเพียงใด อย่างไรก็ตาม นาย Fermin D. Adriano อดีตปลัดกระทรวงเกษตร กล่าวว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ผลผลิตทางการเกษตรจะบรรลุเป้าหมาย ที่กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ตั้งไว้ในปีนี้โดยเสริมว่า ปรากฏการณ์ลานีญาที่กำลังจะเกิดขึ้นจะสร้างความเสียหายกับผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้นจึงเป็นไปได้ยากที่บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

 

ฟันธงข้าวไทยมีความได้เปรียบ

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา ได้ตั้งข้อสังเกต ว่า ฟิลิปปินส์เป็นตลาดที่มีบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยมีการบริโภคเฉลี่ยมากถึงปีละประมาณ 16 ล้านตัน ทั้งนี้ แม้ว่าฟิลิปปินส์จะมีการเพาะปลูกเพื่อการบริโภคภายในประเทศ แต่ไม่สามารถผลิตข้าวเพื่อ การพึ่งพาตนเองได้ หรือไม่สามารถผลิตข้าวได้เพียงพอกับความต้องการ โดยสามารถผลิตได้เพียง ปีละประมาณ 12 ล้านตัน ทำให้จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวปีละกว่า 3 ล้านตัน

ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ยังเป็น หนึ่งในประเทศกลุ่มเสี่ยงที่สุดในเอเชียเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นอาหารหลัก พื้นฐานของประเทศ ที่มีความท้าทายหลายประการในการผลิตข้าวให้เพียงพอกับความต้องการและการ ขยายตัวของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากในแต่ละปี นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังต้องเผชิญกับภัยพิบัติ ทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด พายุไต้ฝุ่นที่ส่งผลต่อความเสียหายต่อพืชผลทาง การเกษตรทุกปีรวมทั้ง การขาดแคลนเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย

รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของ ประชากรในแรงงานภาคเกษตรและล่าสุดความกังวลต่อผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่ที่อาจทำให้ ผลผลิตข้าวในประเทศลดลง ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งหามาตรการต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีอุปทานและ สต็อกข้าวที่เพียงพอในการรับมือกับสถานการณ์ความเสี่ยงต่างๆ ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าในปีนี้ ฟิลิปปินส์จะต้องนำเข้าข้าวมากถึง 4.1 ล้านตัน เพื่อเสริมอุปทานข้าวในประเทศและสำรองข้าวไว้ใช้ในยาม ขาดแคลน

ทั้งนี้ ปัจจุบันฟิลิปปินส์เป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวอันดับ 1 ของโลก ทำให้ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่ง ในตลาดส่งออกข้าวศักยภาพของไทย โดยไทยเป็นหนึ่งในแหล่งนำเข้าข้าวสำคัญของฟิลิปปินส์รองจาก ประเทศเวียดนามที่ครองส่วนแบ่งตลาดข้าวนำเข้าในฟิลิปปินส์มากกว่าร้อยละ 80 โดยในปี 2566 ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวปริมาณรวม 3.61 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 6.65 จากปี 2565 ที่มีปริมาณนำเข้า 3.87 ล้านตัน โดยนำเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 2.97 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 82.23 รองลงมาได้แก่ ไทย ปริมาณ 3.42 แสนตัน (ร้อยละ 9.46) และเมียนมา ปริมาณ 1.56 แสนตัน (ร้อยละ 4.33) ตามลำดับ

ทั้งนี้ ข้าวไทยมีข้อได้เปรียบสำคัญในเรื่องคุณภาพมาตรฐานที่เป็นที่เชื่อมั่นใจของ ผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์และสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น เนื่องจากราคาข้าวไทยปัจจุบันอยู่ในระดับใกล้เคียงกับคู่แข่งแต่ยังคงต้องแข่งขันกับประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ เวียดนามที่มีพันธุ์ข้าวขาวพื้นนุ่มตรงกับความต้องการ ของตลาด ซึ่งไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาและผลิตพันธุ์ข้าวให้มีความหลากหลาย โดยเฉพาะข้าวขาวพื้นนุ่มเพื่อ ตอบโจทย์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดฟิลิปปินส์จึงจะมีโอกาสในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดข้าว ในฟิลิปปินส์ได้มากขึ้นต่อไป