ถอดบทเรียน “เลบานอน” กับความอันตรายของ “แอมโมเนียมไนเตรท”

05 ส.ค. 2563 | 04:30 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ส.ค. 2563 | 10:29 น.

รายงานพิเศษ : ถอดบทเรียน “เลบานอน” กับความอันตรายของ “แอมโมเนียมไนเตรท”

จากกรณีเหตุระเบิดช็อกโลกที่ เมืองเบรุต ประเทศเลบานอน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก สร้างความตกตะลึงให้กับคนทั้งโลก 

 

โดยสาเหตุของการระเบิดครั้งนี้ระบุว่ามาจากสารเคมีที่ชื่อว่า “แอมโมเนียมไนเตรท” ที่เก็บไว้ในโกดังเก่ามากถึง 2,750 ตัน ที่เก็บเอาไว้นานกว่า 6 ปี ความเสียหายไกลเป็นวงกว้าง ทำให้เมืองเบรุตราบเป็นหน้ากลองภายในเสี้ยววินาที

ถอดบทเรียน “เลบานอน” กับความอันตรายของ “แอมโมเนียมไนเตรท”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ต้นตอระเบิดใหญ่ "เลบานอน"

ระเบิดช็อคโลก! ที่ท่าเรือเลบานอน (คลิป)

#PrayForLebanon ทั่วโลกส่งกำลังใจ “เลบานอน”

 

ฐานเศรษฐกิจตรวจสอบข้อมูล ความอันตรายของ “แอมโมเนียมไนเตรท (ammonium nitrate)” จากกรมวิชาการเกษตรและหลายหน่วยงานพบว่า แอมโมเนียมไนเตรท มีสูตรทางเคมีว่า NH4NO3 มีไนโตรเจน  34% ละลายน้ำได้ดีมาก ดูดความชื้นง่ายมาก ดินเป็นกรดเมื่อใส่ปุ๋ยชนิดนี้ ถ้าผสมปุ๋ยชนิดนี้กับกรดกำมะถัน จะทำให้เกิดระเบิดได้

ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรท (ammonium nitrate, NH4NO3) มีธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นหนึ่งในธาตุอาหารหลักของพืช แต่คำถามว่าปุ๋ยเคมีสำหรับบำรุงพืชพันธุ์จะเป็นระเบิดปุ๋ยได้อย่างไร

 

การนำปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรทมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำระเบิดมีมานานแล้วโดยนำไปผสมกับเชื้อเพลิง เนื่องจากระเบิดที่ได้ใช้งานง่าย และมีราคาถูก จึงนิยมใช้มากในเหมืองถ่านหิน เหมืองหิน เหมืองแร่โลหะ และอื่นๆ สำหรับการนำปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรทไปใช้ทำระเบิดเพื่อก่อการร้ายเริ่มครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1970 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 

ภาพความเสียหายที่เมืองเบรุต ประเทศเลบานอน

ปัจจุบันประเทศในแถบตะวันออกกลาง เช่น อัฟกานิสถาน เป็นต้น ก็ยังนิยมทำและใช้อยู่ เนื่องจากระเบิดแบบนี้ใช้ปุ๋ยเคมีเป็นส่วนประกอบ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ระเบิดปุ๋ย (fertilizer bomb)

ปุ๋ย แอมโมเนียมไนเตรท (ammonium nitrate) และกลุ่มไนเตรตทั้งหลายเช่น แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท (calcium ammonium nitrate) เป็นปุ๋ยหัวเชื้อราคาถูกมีลักษณะเป็นผงสีขาวเหมือนน้ำตาลทราย จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุระเบิด ใช้ทำระเบิดแรงดันสูง 

แอมโมเนียมไนเตรท

ปัจจุบันแอมโมเนียมในเตรท ถูกควบคุมโดยกระทรวงกลาโหม และกรมวิชาการเกษตร ไม่รับขึ้นทะเบียนเป็นปุ๋ยเคมี ตามประกาศ โดยกรมวิชาการเกษตร ได้ยกเลิกการควบคุมแอมโมเนียมไนเตรทเป็นปุ๋ยเคมีและปุ๋ยยูเรีย สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการระเบิดได้ เช่น การระเบิดหินในเหมืองแร่ต่างๆ

 

ซึ่งการนำยูเรียไปใช้เพื่อเป็นวัตถุระเบิดมีการควบคุมอยู่แล้ว เว้นแต่นำไปใช้เป็นปุ๋ยเท่านั้น จึงอยู่ในการควบคุมของกรมวิชาการเกษตร สำหรับกระทรวงพาณิชย์กฎหมายฉบับนี้ สามารถเป็นผู้กำกับดูแลเส้นทางเดินของปุ๋ยยูเรีย มิให้นำไปใช้เป็นวัตถุระเบิดได้เช่นเดียวกับกระทรวงกลาโหม

 

ที่มา กรมวิชาการเกษตร และ ราชกิจจานุเบกษา