นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์ พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลการสำรวจ ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับกับเศรษฐกิจไทยเดือนธ.ค.2563จากการสอบถามตัวอย่างจากประชาชน ทั่วประเทศเป็นจำนวน 2,249 คน พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวอยู่ในระดับต่ำสุด ในรอบ 5 เดือนนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2563 เป็นต้นมาเนื่องจากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19รอบใหม่ที่มีการระบาดเป็นวงกว้างและรวดเร็ว ของโควิด -19
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ปรับตัวดีขึ้น ทุกรายการเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนพ.ย. 2563 แต่ยังต่ำกว่าปกติ(ที่ระดับ100)แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ เพราะมีความกังวลในวิกฤตโควิด-19 COVID-19รอบใหม่ในประทศ ไทยและทั่วโลก ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสปรับตัวแย่ลงได้ในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ ในอนาคตของผู้บริโภคลดลง
ดังนั้น การปรับตัวลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการในเดือนนี้ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่น ของผู้บริโภครับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนและปรับตัวอยู่ในระดับ ต่ำสุดในรอบ 5 เดือนนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2563 เป็นต้นมา โดยปรับตัวลดลงจากระดับ 52.4 เป็น 50.1 ซึ่งการที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวม ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงเห็นว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงแย่จากจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อ กำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานใน อนาคตโดยบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต
รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 36.3 มาอยู่ที่ 34.5 แสดงว่าภาวะเศรษฐกิจไทย ในปัจจุบันแย่มากในมุมมองของผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตก็ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกันโดยปรับตัว ลดลงจากระดับ 60.1มาอยู่ที่ระดับ 57.4 ซึ่ง อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าปกติ(คือ100)สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังขาดความเชื่ออย่างมากเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในอนาคต
การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ปรับตัวลดลงอีกครั้ง และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนนั้น ศูนย์พยากรณ์ฯ คาดว่าผู้บริโภคยังคงชะลอการใช้จ่ายอย่างมากตลอดจนไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 จนกว่าสถานการณ์โควิด -19 จะคลายตัวลง โดยในเห็นว่ารัฐบาลควรอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปเพื่อพยุงเศรษฐกิจต้องใช้เงินอีก 2 แสนล้านบาท แต่หากจะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจจะต้องใช้วงเงิน 4-6 แสนล้านบาท รวมทั้งหากจะกระตุ้นการใช้จ่ายมาตรการคนละครึ่งยังสามารถต่อยอดได้โดยอาจเพิ่มวงเงินจาก 3,500 บาทต่อคน เป็น 5,000 บาทต่อคน หรือเพิ่มจำนวนคนเข้าร่วมโครงการจาก 15 ล้านคนเป็น 20 ล้านคน
อย่างไรก็ตามศูนย์พยากรณ์ก็ยังมั่นใจว่ารัฐบาลจะควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ ไม่มีการระบาดในวงกว้างเพิ่มขึ้นจนต้องล็อกดาวน์แบบเข้มข้นเหมือนในช่วงเดือนมี.ค.และเม.ย.2563 โดยคาดว่าผลกระทบต่อโควิดต่อเศรษฐกิจไทยหากควบคุมสถานการณ์ได้และล็อกดาวน์ไม่เข้มข้นจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเดือนละ 101,000 ล้านบาท หรือกระทบจีดีพีติดลบ 0.63% ต่อเดือนและจีดีพีจะอยู่ที่ 0.9-2.2% แต่หากล็อกดาวน์ทั้งประเทศจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเดือนละ 200,710 ล้านบาท หรือกระทบจีดีพีติดลบ 1.25% ต่อเดือนและจีดีพีจะอยู่ที่ติดลบ-0.35%
รวมทั้งหนี้ครัวเรือนมีโอกาสทะลุ 90% ได้ในไตรมาสแรกของปี 2564 หากการล็อกดาวน์เข้มงวดขึ้นอย่างไรก็ตามในสัปดาห์หน้าศูนย์พยากรณ์ฯจะแถลงผลสำรวจหนี้ครัวเรือนของประชาชน ซึ่งมีแนวโน้มว่าการก่อหนี้ภาคครัวเรือนของประชาชนจะสูงขึ้นโดยเฉพาะหนี้นอกระบบเนื่องจากที่ผ่านมาประชาชนได้ใช้สิทธิในการกู้สินเชื่อในระบบเต็มเพดานโดยใช้สินทรัพย์ เช่น รถ บ้าน ที่ดิน ค้ำประกันไปแล้ว ดังนั้นในรอบการสำรวจล่าสุดที่จะถึงนี้เป็นการสำรวจในช่วงที่ประชาชนได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 จึงมีแนวโน้มว่าต่อไปหนี้นอกระบบจะมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาเพื่อให้ประชาชน ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อให้มากขึ้น