นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ถึงปริมาณการส่งออกในปี 2563 ว่าใกล้เคียงกับเป้าที่ตั้งไว้ 6 ล้านดันที่ส่งออกได้ทั้งปีรวม 5.72 ล้านตันหรือลดลง24.5% มูลค่า3729 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.16 แสนล้านบาท)ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ที่มีปริมาณ 7.58 ล้านตัน มูลค่า 1.31 แสนล้านบาท โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 24.54 และร้อยละ 11.23 ตามลำดับ ซึ่งถือว่าต่ำสุดเป็นประวัติศาสตร์นับตั้งแต่มีการส่งอกข้าวไทย ซึ่งปัจจัยหลักที่จะยังคงส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยหลักๆยังคงเป็นในเรื่องของ ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่งสำคัญ เช่น อินเดีย และ เวียดนาม ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นระยะ ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังคงมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ส่งออก ประกอบกับผู้นำเข้าหลายประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 ส่งผลให้กำลังซื้อลดลง
ซึ่งตลาดหลักๆของไทยยังคงเป็นแอฟริการใต้ โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 11.75% ไทยส่งออกไปตลาดดังกล่าว672,770ตันตลาดสหรัฐ ส่งออกไป672,183 ตัน มีส่วนบ่างตลาด 11.74% ตลาดเบนิน ส่งออกไป 476,290 ตัน มีส่วนแบ่งตลาด8.32% ตลาดจีน ส่งออกไป380,363 ตัน และตลาดเองโกลา ส่งออกไป347,292 ตันหรือมีแชร์ตลาด6.07% ซึ่งชนิดข้าวที่ส่งอออกสูงสุดยังคงเป็นข้าวขาว5% ส่งออกไป1.90ล้านตัน หรือ33.22% ข้าวหอมมะลิ100% 1.45 ล้านตัน หรือ 25.35% ข้าวนึ่ง 1.44 ล้านตัน หรือ 25.17% ข้าวหอมไทย 0.57 ล้านตันหรือ9.96% และข้าวเหนียว 0.28 ล้านตันหรือ 4.9%
ทั้งนี้ประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับ1 ของโลกยังคงเป็นอินเดีย โดยมีปริมาณส่งออกอยู่ที่13.61 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี2562 ที่มีปริมาณ 9.35 ล้านตัน สาเหตุที่เวียดนามส่งออกเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีผลผลิตข้าวในประเทศปริมาณมากและมีราคาถูกกว่าทั้งของไทยและเวียดนาม อันดับ2 เป็นเวียดนาม ปริมาณส่งออก 5.96 ล้านตัน ลดลงจากปี2562 ที่มีปริมาณ 5.7 ล้านตัน อันดับ 3 ไทย ส่งออกได้ 5.72 ล้านตัน ลดลงจากปี2562 ที่มีปริมาณ 7.58 ล้านตัน อันกับ4 ปากีสถาน มีปริมาณส่งออก3.55 ล้านตัน และสหรัฐ ส่งออก2.67 ล้านตัน ส่วนจีนส่งออก2.5ล้านตันและเมียนมาส่งออก 2.2 ล้านตัน
“ไทยอาจจะติดดับการส่งออกเยอะในเชิงปริมาณหรือไม่ แต่เราควรกลับมามองในแง่ของเชิงมูลค่าดีกว่าหรือไม่ การจะกลับขึ้นมาอันดับ1ของโลก แต่เราต้องดูด้วยว่าสถานการณ์ตลาดในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างไร เราไม่ควรยึดติดในเชิงปริมาณ”
ส่วนเป้าหมายการส่งออกข้าวในปี2564 นั้น กรมได้มีการหารือกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ซึ่งต่างมองตรงกันว่าส่งออกข้าวไทยปีนี้น่าจะอยู่ที่ 6 ล้านตัน ส่วนมูลค่านั้นยังไม่สามารถบอกได้เพราะค่าเงินบาทของไทยมีความผันผวน และยังมีปัจจัยเสี่ยงเดิมๆเข้ามาต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ทั้งค่าบาทที่แข่งกว่าคู่แข่งส่งผลให้ราคาข้าวไทยแพงขึ้น ปัญหาหารขาดแคลนตู้คอนเทรน์เนอร์
สำหรับแผนการดำเนินการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในต่างประเทศในปี 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของCOVID – 19 ที่กลับมาทวีความรุนแรงขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ทำให้กรมฯ ไม่สามารถเดินทางไปพบปะกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติในต่างประเทศดังเช่นที่ผ่านมาได้ กรมฯ ในฐานะหนึ่งในหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563 – 2567 ใช้โอกาสนี้ในการเร่งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ข้าวไทยให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับกฎระเบียบให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวไทย การจัด Workshop เพื่อพิจารณาแนวทางผลักดันการพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยประสานกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งการจัดทำข้อมูลตลาดข้าวเชิงลึกเพื่อส่งต่อให้หน่วยงานภาคการผลิตต่อไป ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้หลักการ “ตลาดนำการผลิต” เพื่อให้ไทยสามารถผลิตสินค้าข้าวที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละตลาดมากขึ้น นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการดำเนินการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในต่างประเทศจาก Offline เป็น Online มากขึ้น
ด้าน นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ปี2563 ไทยส่งออกข้าวได้5.72 ล้านตัน ถือว่าต่ำสุดในรอบ20ปี เนื่องจากราคาข้าวไทยที่แพงกว่าเวียดนาม ในขณะที่ข้าวของคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ที่มีราคาถูกกว่าไทย อยู่ที่ 380 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เวียดนาม 510 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในขณะที่ข้าวไทยราคาอยู่ที่540 ดอลลาร์สหรับต่อตัน ซึ่งถือว่าราคาห่างกันมาก ดังนั้นสถานการณ์ส่งออกข้าวในปีนี้น่าจะไม่มีอะไรดีขึ้นมาก โดยเป้าปีนี้สมาคมและกระทรวงพาณิชย์เห็นตรงกันว่าน่าจะส่งออกที่ 6 ล้านตัน หรือเฉลี่ยเดือนละ 5 แสนตัน ส่วน การประมูลแบบG to G ปีนี้น่าจะยังคไม่มี ส่วน G to G กับจีน ของข้าวแสนที่8 นั้น ยังอยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องราคาเพราะจีนกดราคาต่ำมาก ไทยเสนอไปที่560-570ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน จีนต่อราคาอยู่ที่470 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งเป็นราคาที่ไทยรับไม่ได้