จากกรณีที่เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ที่ผ่านมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานประชุมปัญหาแรงงานลิงเก็บมะพร้าว เพื่อหาแนวทางชี้แจงต่างชาติที่นำเข้าผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากไทย กรณีที่ PETA (พีตา) หรือ องค์กรประชาชนเพื่อการปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีจริยธรรม กล่าวหาไทยใช้แรงงานลิงในอุตสาหกรรมผลิตจนส่งผลให้ห้างบางแห่งในอังกฤษแบนผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากไทย
นายเกียรติศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการบริหารและผู้จัดการโรงงานชาวเกาะ บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด หรือ กะทิชาวเกาะ กล่าวตอนหนึ่งในที่ประชุม ยอมรับว่าตั้งแต่กระแสข่าวไทยใช้ลิงเก็บมะพร้าว ส่งผลให้เกิดการแบนสินค้ากะทิชาวเกาะที่ประเทศอังกฤษ และถูกถอดออกจากชั้นวางสินค้าในห้างขนาดใหญ่ 2-3 ห้าง กระทบยอดขายหายไป 30% ซึ่งถือว่ากระทบมาก เนื่องจากในรายงานของพีตาได้ระบุชื่อแบรนด์กะทิชาวเกาะชัดเจน ซึ่งไทยมีส่วนแบ่งจากผลิตภัณฑ์มะพร้าวในตลาดอังกฤษ 80% ในตลาดโลก
นายเกียรติศักดิ์ ระบุอีกว่า นอกจากนี้ลูกค้าที่สหรัฐอเมริกาก็มีการสอบถามแต่ยังไม่กระทบยอดขายซึ่งทางบริษัทมีการชี้แจงข้อเท็จจริงไปแล้วว่ามีการใช้แรงงานคน และมีการเอ็มโอยูกับสวนบางแห่ง แต่ยืนยันว่าบริษัทได้ทำเอ็มโอยูกับชาวสวน ซับพลายเออร์ ว่าจะไม่มีการใช้แรงงานลิงในการเก็บมะพร้าว และบริษัทยังลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชาวสวน ซึ่งหากสวนไหนมีการใช้ลิงในการเก็บมะพร้าวเราจะไม่รับซื้อ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลิงเก็บมะพร้าว ประโยชน์แฝง NGO
ลิงกังเก็บมะพร้าว ภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย
ปม "ลิงเก็บมะพร้าว" เดือด "ปองพล" ขุดคดี PETA ย้อนถามรักลิงจริงหรือ
“อย่างไรก็ตามเราต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับผู้นำเข้า แม้ว่าปัจจุบันจะมีแค่อังกฤษประเทศเดียวที่นำสินค้ากะทิของไทยลงจากชั้นวาง แต่ประเทศในโซนยุโรปก็มีสอบถามเข้ามาบ้าง ดังนั้นต้องเร่งสร้างความเข้าใจรวมถึงทำความเข้าใจกับจีนแม้จะยังไม่ได้รับผลกระทบในตอนนี้แต่ในอนาคตก็ไม่แน่นอน ดังนั้นเราต้องรีบเคลียร์ประเด็นนี้ แต่ยืนยัน100%ว่า อุตสาหกรรมมะพร้าวของไทยมีโรงงานผลิต15 แห่ง และมี 9แห่ง ที่อยู่ในสมาชิกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปมีสัดส่วน80-90% ของประเทศ ยันยันว่าไม่ใช้มีการแรงงานลิงในการเก็บมะพร้าวแน่นอน รวมถึงประเทศที่ไทยนำเข้ามะพร้าวด้วย ”
ด้าน นางศศิวรรณ นวลศรี ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดอาวุโส บริษัทไทย อกริ ฟู๊ด จำกัด (มหาชน) หรือ กะทิยี่ห้ออร่อยดี กล่าวว่าบริษัทมีการทำเอ็มโอยูกับชาวสวนเช่นกันซึ่งหากพบว่าทำผิดเงื่อนไขก็จะไม่มีการรับซื้อมะพร้าวเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมนัดดังกล่าวของกระทรวงพาณิชยน์ ได้เชิญ ฝ่ายที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด ผู้ผลิตแบรนด์กะทิชาวเกาะ บริษัทไทยอกริ ฟู๊ด จำกัด (มหาชน) แบรนด์ อร่อยดี บริษัทไทยโคโคนัท จำกัด(มหาชน) บริษัทสุรีย์ อินเตอร์ฟู๊ด จำกัด แบรนด์สุรีย์และเอกไทย บริษัทเอเชียติคอุตสาหกรรมเกษตร จำกัด สมาคมพิทักษ์สัตว์ไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม