เราชนะ มาตรการเยียวยาบรรเทาผลกระทบประชาชนจากโควิด-19 รอบใหม่ ที่ กระทรวงการคลังกำลังจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 19 มกราคม 2564 ถือเป็นมาตการ อัดฉีดเงิน ที่นักเศรษฐศาตร์เรียกว่า “เฮลิคอปเตอร์ มันนี่” ก้อนใหญ่ราว 2.1-2.5 แสนล้านบาท ครอบคลุมประชาชนกว่า 30-35 ล้านคน เพื่อเยียวยาเศรษฐกิจไทยรอบ 2
แน่นอนว่าเงินที่จะนำมาใช้ ในการเยียวยามาตรการ “เราชนะ” ครั้งนี้จะมาจากเงินกู้ตามพ.ร.ก.กู้เงินฯ 1 ล้านล้านบาท
ขณะที่เงินกู้ที่เหลืออยู่ในขณะนี้ประมาณ 4.7 แสนล้านบาท แบ่งเป็น เงินกู้สำหรับโครงการการแพทย์และสาธารณสุข 31,118 ล้านบาท เงินกู้สำหรับการเยียวยา 206,446 ล้านบาท และเงินกู้สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม 260,589 ล้านบาท
เมื่อดูรายละเอียดใน พ.ร.ก.กู้เงินฯ 1 ล้านล้านบาท มาตรา 4 และ มาตรา 5 จะพบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
มาตรา 4 ให้การกู้เงินตาม พระราชกำหนดนี้ เป็นการกู้เงินตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
มาตรา 5 เงินกู้ตามพระราชกำหนดนี้ จะนำไปใช้เพื่อการอื่นนอกจากการดังต่อไปนี้มิได้
(1) เพื่อแก้ไขปัญหาการะบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(2) เพื่อช่วยเหลือเยียวยาและชดเชยให้แก่ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจกการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(3) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
แผนงานหรือโครงการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดนี้
มาตรา 6 การกู้เงินตามพระราชกำหนดนี้ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงขีดความสามารถของรัฐในการชำระหนี้คืนประกอบด้วย ทั้งนี้ การกู้เงินเพื่อการตามมาตรา 5(1) และ (2) ให้มีมูลค่ารวมกันไม่เกินหกแสนล้านบาท และเพื่อการตามมาตรา 5(3) ให้มีมูลค่ารวมกันไม่เกินสี่แสนล้านบาท
ในกรณีจำเป็น คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5(2) มาใช้ เพื่อการตามมาตรา 5(1) ก็ได้
ในกรณีจำเป็นอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5(3) มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5(1) และ (2) เพิ่มเติมก็ได้ แต่เมื่อรวมวงเงินกู้ ทั้งหมดต้องไม่เกินหนึ่งล้านล้านบาท
นั่นหมายความว่า มีกรอบการใช้เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ไว้อย่างชัดเจนว่า เงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อโครงการการแพทย์และสาธารณสุข เมื่อรวมกับการเยียวยาแล้วมีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 6 แสนล้านบาท
แต่หากเงินกู้ทั้ง 2 ก้อนดังกล่าวมีไม่เพียงพอ ครม.สามารถโยกเงินกู้เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและ สังคมมาใช้สำหรับการเยียวยาได้ แต่เมื่อดึงมาแล้วไม่สามารถนำกลับไปใช้ในการฟื้นฟูได้
แน่นอนว่าถ้าดูจากวงเงินกู้เพื่อการเยียวที่เหลือจำนวน 206,446 ล้านบาท คงไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้สำหรับการเยียวยาในมาตรการ “เราชนะ” จำเป็นที่จะต้องดึงเงินกู้เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่เหลือราว 2.6 แสนล้านบาทเข้ามาเติมอย่างน้อยราว 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้วงเงินสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเหลืออยู่ 2 แสนล้านบาท
จึงมีคำถามตามมาว่า เงินกู้จำนวนดังกล่าวเพียงพอที่จะใช้สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ภายหลังการระบาดของโควิดหรือไม่ หากไม่พอรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งถือเป็นอีกโจทย์ที่หนักอื้งของรัฐบาล
การเยียวยาพิษโควิดรอบ 2 ครั้งนี้ โดยเฉพาะมาตรการ “เราชนะ” จึงนับเป็นเดิมพันครั้งสำคัญของรัฐบาล
ที่มา: คอลัมน์ถอดสูตรคุย โดย บรรทัดเหล็ก หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,645 หน้า 10 วันที่ 17 - 20 มกราคม 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รมว.คลังเคลียร์ชัดผู้ถือบัตร "บัตรคนจน” ทุกคนได้สิทธิ์ “เราชนะ” เยียวยา 3,500 บาท
คลัง ดึงเงินกู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจ เยียวยา"เราชนะ"
ต่อลมหายใจศก. กำ 6 แสนล้านสู้ เพิ่มเงินคนละครึ่ง-จ่าย 3,500 “เราชนะ”
“บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” 14 ล้านคน เฮรับเงินเยียวยา 2 เด้ง 4,000 ต่อเดือน
ประกันสังคมมาตรา 33 คือใครบ้าง อดลงทะเบียนรับเงินเยียวยา“เราชนะ” 3,500