อ่านเลย “เราชนะ”เกษตรกรตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยา 7,000 อย่างไร

21 ม.ค. 2564 | 11:34 น.

อ่านเลย “เราชนะ” คลังแนะเกษตรกร 3 กลุ่ม ตรวจสอบสิทธิ รับเงินเยียวยา 7,000 บาท กันแบบชัดๆ

ความคืบหน้าโครงการเราชนะ ล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ออกมาชี้แจงการรับสิทธิเงินเยียวยาเดือนละ 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือนรวม 7,000 บาท ของเกษตรกร ภายหลังมีการตั้งข้อสังเกตุว่าเกษตรกรอาจไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการ"เราชนะ" มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้

 

คุณสมบัติของเกษตรกรที่จะได้รับสิทธิ

- เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

- ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม

- ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐที่ได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยงานของรัฐโดยตรง

- ไม่เป็นข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

- ไม่เป็นผู้รับบำนาญปกติหรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ

- ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท ตามฐานข้อมูลที่มีล่าสุด

- ไม่มีเงินฝากรวมกันทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ตามฐานข้อมูลที่มีล่าสุด

การรับสิทธิ “เราชนะ”ของเกษตรกร

 

กลุ่มที่ 1 เกษตรกรที่บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับวงเงินช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทันที 

 

กลุ่มทื 2 เกษตรกรที่ มีแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ที่ได้ให้ความยินยอมให้นำข้อมูลไปประมวลผลหรือเปิดเผย เพื่อดำเนินมาตรการอื่น ๆ ของรัฐ ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ กระทรวงการคลังจะมีการตรวจสอบคุณสมบัติ  หากผ่านการตรวจสอบและคัดกรองตามคุณสมบัติ จะได้รับวงเงินช่วยเหลือผ่าน แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ทันที

 

กลุ่มที่ 3 เกษตรกรเป็นผู้ที่ไม่มีข้อมูลอยู่ในระบบฐานข้อมูล กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และกลุ่มผู้ที่มีแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”ฯ ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com หากผ่านการตรวจสอบและคัดกรองตามคุณสมบัติ จะได้รับวงเงินช่วยเหลือผ่าน แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"เราชนะ" สุพัฒนพงษ์ คลายข้อสงสัยทำไมไม่โอนเงินเข้าบัญชี ผู้ที่ได้สิทธิ์

เราชนะ.com ไม่จ่ายเยียวยา3500 เป็นเงินสด แล้วจ่ายช่องทางไหน-ยังไง เช็กได้ที่นี่ 

"เราชนะ" คลัง ชี้แจงปมเกษตรกรอาจไม่ได้เงินเยียวยา7000 บาท

ประกันสังคม ใช้สิทธิทำฟันอะไรได้บ้างที่ไม่ต้องสำรองจ่าย

www.เราชนะ.com เปิด 2 ข้อควรรู้ 17.36 ล้านคน ก่อนลงทะเบียนรับเงินเยียวยา7,000