ปักกิ่ง, ( ซินหัว ) - ไม่นานมานี้ หลายประเทศต่างออกมารายงานความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนทดลองสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ของตน นำพามาซึ่งความหวังแก่คนทั่วโลก ท่ามกลางการระบาดใหญ่ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกระตุ้นให้ผู้คนมีเจตคติที่เป็นกลาง มีเหตุผล และเป็นวิทยาศาสตร์ต่อวัคซีนทดลอง
เมื่อวันจันทร์ (20 ก.ค.) ข้อมูลจากองค์การอนมัยโลก (WHO) ระบุว่าขณะนี้มีวัคชีนที่อยู่ระหว่างการประเมินผลทางคลินิกอย่างน้อย 24 รายการ และอยู่ระหว่างการทดลองก่อนการทดสอบในมนุษย์ (Pre-clinical) อีก 142 รายการ
วันจันทร์เพียงวันเดียว มีประเทศที่ออกมารายงานผลการวิจัยฉบับใหม่ของวัคซีนโรคโควิด-19 ถึง 4 ประเทศ
ทีมนักวิจัยจีนระบุในการศึกษาฉบับใหม่ที่ได้รับการเผยแพร่ลงในเดอะแลนเช็ต (The Lancet) วารสารทางการแพทย์ชื่อดังว่า ในการทดลองระยะที่ 2 ของวัคซีนโรคโควิด -19 พบว่าวัคซีนรายการดังกล่าวมีความปลอดภัยและชักนำการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้
"การทดลองระยะที่ 2 ช่วยเพิ่มพูนหลักฐานที่ยืนยันถึงความปลอดภัยและการตอบสนองภูมิทางคุ้มกันในกลุ่มผู้ทดลองที่มีจำนวนมากกว่าการทดลองระยะที่ 1 การทดลองนี้จึงเป็นย่างก้าวที่สำคัญในการประเมินวัคซีนทดลองระยะต้นของตัวนี้ และขณะนี้เราได้เริ่มทำการทดลองระยะที่ 3 แล้ว" ศาสตราจารย์จูเฟิ่งไฉ จากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประจำมณฑลเจียงซูของจีน กล่าว
ข่าวเกี่ยวข้อง
WHOฟันธง “วัคซีนต้านโควิด” พร้อมใช้งานปีหน้า
WHO ขานรับวัคซีนของทีมอังกฤษ สามารถต้านโควิด
ข่าวดี "ไฟเซอร์"เผยทดลอง “วัคซีนต้านโควิด-19” ในมนุษย์ได้ผลน่าพอใจ
การศึกษาอีกฉบับที่ได้รับการเผยแพร่ลงในวารสารเดอะแลนเช็ตในวันเดียวกัน เปิดเผยผลการทดลองวัคซีน ChAd0x1 nCoV-19 ระยะ 1 และ 2 ซึ่งเป็นวัคซีนสำหรับ โรคโควิด-19 ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดกำลังวิจัยอยู่ โดยระบุว่าวัคซีนไม่มีข้อน่ากังวลด้านความปลอดภัยในขั้นต้น ทั้งยังกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงได้
มหาวิทยาลัยเผยว่า การทดลองข้างต้นมีกลุ่มทดลองเป็นอาสาสมัครวัยผู้ใหญ่สุขภาพดีมากกว่า 1,000 คน ผลปรากฏว่าวัคซีนกระตุ้นการตอบสนองของเซลล์ที (T cell ) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สามารถต่อสู้กับเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ได้ ภายใน14 วันหลังรับวัคซีน และกระตุ้นแอนติบอดีหรือโปรตีนภูมิคุ้มกันได้ภายใน 28 วัน
ด้านกระทรวงกลาโหมรัสเชีย เผยว่า จากการร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การระบาดวิทยาและจุลชีววิทยากามาเลยา (Gamaleya Scientific Research Institute of Epidemiology and Microbiology) กระทรวง ฯ ประสบความสำเร็จในการทดลองทางคลินิกของวัคซีนโรคโควิด-19 ที่มีอาสาสมัครเข้าร่วมทดลอง
"อาสาสมัครทุกคนที่ได้รับภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ต่างรู้สึกดี" รุสลัน คัดจิสเมโลวิช ซาลิคอฟ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหมคนที่ 1 ของรัสเซีย ให้ข้อมูลกับอาร์กูเมนตี อี ฟักตี ( Argumenty i Fakty ) หนังสือพิมพ์ของมอสโก
ส่วนไบโอเอ็นเทค (BoNTech) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของเยอรมนี และไฟเซอร์ (Pfizer) บริษัทเภสัชกรรมของสหรัฐฯ แถลงว่าข้อมูลจากการทดลองวัคซีนสำหรับป้องกันโรคโควิด-19 ของพวกเขา มีความปลอดภัยและชักนำการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ อีกทั้งผู้ป่วยยังมีการตอบสนองของเซลล์ที (T cell )ในระดับสูง
นอกจากนี้ช่วงเดือนกรกฎาคม มีสถาบันวิจัยในอีกหลายประเทศที่ได้รายงานความคืบหน้าการทดลองวัดซีนโรคโควิด-19 ของตน
การศึกษาที่ได้รับการเผยแพร่ลงในนิว อิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซีน (NEJM) วารสารการแพทย์ฉบับหนึ่งเมื่อวันที่ 14 ก.ค. ระบุว่าคณะนักวิจัยรายงานว่าวัคซีน mRNA-1273 สำหรับโรคโควิด-19 ที่พัฒนาร่วมกันโดย สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (NAID) และบริษัทโมเดอร์นา เธราพิวทิกส์ ( Moderna Therapeutics) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของสหรัฐฯ ชักนำการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ และไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรงในอาสาสมัคร ในการทดลองทางคลินิกครั้งที่ 2
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (UQ) ในออสเตรเลีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในไทย และสถาบันอื่นๆอีกหลายแห่ง ยังรายงานผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจในการวิจัยวัคชีนโรคโควิด-19
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข่าวดีเกี่ยวกับวัคซีนโรคโควิด-19 ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเตือนถึงความไม่แน่นอนของการพัฒนาวัคซีน และการทดลองทางคลินิก ตลอดจนความเสี่ยงและความท้าทายนานับปการ อาทิ การกลายพันธุ์ของไวรัส ขณะเดียวกันก็ได้กระตุ้นถึงเจตคติที่เป็นกลาง มีเหตุผล และเป็นวิทยาศาสตร์ต่อวัคซีนทดลอง
ดร.ไมเคิล ไรอัน ผู้อำนวยการบริหารโครงการเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพ (Health Emergencies Program) ขององค์การอนามัยโลก กล่าวเมื่อวันที่ 3 ก.ค.ว่า ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดการแน่นอนสำหรับการส่งมอบวัคซีนโรคโควิด-19
ไรอัน ระบุระหว่างการแถลงว่าแม้ข้อมูลเบื้องต้นของวัคซีนทดลองบางรายการจะมีแนวโน้มโนัมค่อนข้างน่าพอใจ แต่ยังคาดการณ์ไม่ได้ว่ารายการใดที่มีประสิทธิภาพทางคลินิกที่สมบูรณ์ พร้อมเสริมว่าวัคซีนทดลองอาจเผยประสิทธิภาพต้าน โรคได้ภายในสิ้นปีนี้ แต่คำถามก็คือจะเริ่มผลิตในปริมาณมากได้เร็วแค่ไหน
อาชาร์ก อัล-เอาซัต (Asharq al-Awsat) หนังสือพิมพ์ของซาอุดีอาระเบีย รายงานเมื่อไม่นานนี้ว่า บรรดานักวิจัยควรหลีกเลี่ยงการมองโลกในแง่ดีเกินควร ในเรื่องความคืบหน้าของวัคซีน ในการทดลองทางคลินิกบางรายการ และควรรอผลการทดลองเพิ่มเติมต่อไป
เคนเนธ เฟรเซอร์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทเมอร์ก (Merck) บริษัทยาของสหรัฐอเมริกากล่าวว่าเราไม่อาจรับประกันประสิทธิผลของ วัคซีนที่อยู่ระหว่างการพัฒนาในขณะนี้ได้
รายงานการศึกษาบางฉบับ ยังแสดงให้เห็นว่าระดับของแอนติบอดีจะลดลง หลังผู้ป่วยโรคโควิด-19 ฟื้นตัว ด้วยเหตุนี้ ความพยายามร่วมกันของทีมวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นในการรับมือปัญหาต่างๆ อาทิ วิธีที่จะทำให้วัคซีนโรคโควิด -19 สามารถให้ภูมิคุ้มกันที่เพียงพอในระยะยาว และวิธีจัดการกับความผันแปรของไวรัสที่อาจเกิดขึ้นได้
นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก ( WHO )ได้เรียกร้องว่าก่อนจะมีวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ใช้งานอย่างเป็นทางการ ทุกประเทศควรดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่ครอบคลุมทุกด้านอย่างต่อเนื่อง