ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ “คายโควตานมผง” ทิ้ง กว่า 1.4 พันตัน หลังต้นทุนพุ่ง

01 ก.ค. 2564 | 09:58 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ก.ค. 2564 | 17:16 น.

โรงแปรรูปนม ลำลักพิษ ราคา "นมผง" ค่าขนส่ง ตู้คอนเทนเนอร์ขาด โอดต้นทุนสูง แบกไม่ไหว 9 ราย คายโควตา สูงสุดกว่า 1.4 พันตัน กอรป WTO/ TFTA “ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์” ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ “ดัชมิลล์” สูงสุด กว่า 535 ตัน รองลงมา “แดรี่พลัส” 420 ตัน

แหล่งข่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วันนี้ (1 ก.ค.64) คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือมิลค์บอร์ด ได้มีการประชุมเรื่องการจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย งวดที่2 (ร้อยละ10) ส่วนที่เหลือ และโควตาส่วนที่คืน รอบที่1  ทางฝ่ายเลขาฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมว่ามีผู้ประกอบการขอคืนโควตา ในกรอบ WTO  และกรอบ TAFTA  จำนวน 9 ราย รวม 1,402.72 ตัน

 

 โดยแบ่งเป็น 1.บริษัท ดัชมิลล์ จำกัด  (TAFTA) จำนวน 535.72 ตัน 2. บริษัท แดรี่พลัส จำกัด  จำนวน 420 ตัน  3.บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำนวน 250 ตัน 4. บริษัท เอบิโก้ แดรี่ฟาร์ม จำกัด จำนวน 80 ตัน 5.บริษัท ฟู้ดโปรแจ็ค (สยาม) จำกัด จำนวน 43 ตัน 6.บริษัท ฟู้ด แกลเลอรี่ จำกัด จำนวน 10 ตัน 7. บริษัท อิสท์เวท์เทรดิ้ง แอนด์ เอเย่นซีส์ จำกัด จำนวน 5 ตัน 8. บริษัท ดัชมิลล์ จำกัด (WTO) จำนวน 29.50 ตัน และ 9. บริษัท แดรี่พลัส จำกัด (WTO) จำนวน 29 ตัน

 

“สาเหตุที่คืนเนื่องจากทางต้นทางนมผง ราคาปรับสูงขึ้น  ประกอบกับค่าระวางสูงมาก ทำให้ราคาต้นทุนปรับสูงมาก ผู้ประกอบการแบกภาระไม่ไหว จึงขอคืนโควตา  จึงทำให้ไม่สามารถนำเข้าได้ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ประเทศไทยได้มีการอนุญาตนำเข้านมผง”

 

แหล่งข่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ถึงการจัดสรรโควตานำเข้านมและครีม ปี2564 รอบที่2  ให้กับผู้ประกอบการที่มีรายงานการนำเข้าโควตาที่ได้รับร้อยละ 50 ขึ้นไป จำนวน 28 ราย  ปริมาณ 6,207.07  ตัน โดยแบ่งเป็น กลุ่มนิติบุคคลที่ 1 ที่นำเข้านมผงขาดมันเนย (กลุ่มที่รับซื้อน้ำนมดิบ) จำนวน 10 ราย  ปริมาณ 5,030 ตัน (WTO จำนวน 4,960.07 ,TAFTA จำนวน 70 ตัน ดังนี้

 

  1. บริษัท ดัชมิลล์ จำกัด      จำนวน 1,200 ตัน
  2. บริษัท แดรี่พลัส  จำกัด    จำนวน  870 ตัน
  3. บริษัท ฟรีสแลนด์ คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 2,170 ตัน
  4. บริษัท ฟรีสแลนด์ คัมพิน่า เฟรช (ประเทศไทย) จำกัด  จำนวน 100 ตัน
  5. บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ฟู๊ดส์ จำกัด จำนวน 40 ตัน
  6. บริษัท ดานอน สเปเซียลไลซ์ นิวทรีชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 150 ตัน
  7. บริษัท แมรี่แอนแดรี่โปรดักส์ จำกัด จำนวน 270 ตัน
  8. บริษัท เอบิโก้ แดรี่ฟาร์ม จำกัด จำนวน 150 ตัน
  9. บริษัท มะลิ กรุ๊ป 1962 จำกัด  จำนวน 60.07 ตัน


 

ส่วนกลุ่มนิติบุคคลที่ 2 (กลุ่มผู้ประกอบการทั่วไป) จำนวน 18 ราย  ปริมาณ 1,177.52 ตัน (ความตกลง WTO)

1. บริษัท กรไทย จำกัด

2.บริษัท ทรีท็อป เคมิคัลแอนด์ฟู้ดส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

3.บริษัท นิวลี่ เว็ดส์ ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด

4. บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)

5.บริษัท ไทยยามาซากิ จำกัด

6.บริษัท ไมเนอร์ แดรี่ จำกัด

7.บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด

8.บริษัท ยูไนเต็ดฟูดส์ จำกัด (มหาชน)

9.บริษัท วรา ฟู้ดแอนด์ดริ๊ง จำกัด

10.บริษัท ไอ.พี.เนเชอรัลโปรดักส์ จำกัด

11.บริษัท กรุงเทพสตาซอินดัสเทรียล จำกัด

12.บริษัท อินกริดิออน (ประเทศไทย) จำกัด

13.บริษัท ฟู้ด โพรเกรซ แมนนูแฟคเจอริง จำกัด

14.บริษัท กริฟฟิทท์ ฟูดส์ จำกัด

15. บริษัท โอสถสภา จำกัด

16.บริษัทเขาช่อง กรุ๊ป จำกัด

17.บริษัท สกายไลน์ เฮลท์แคร์ จำกัด

18.บริษัท ฟูดเทค โปรดัสก์ (ไทยแลนด์) จำกัด

 

อย่างไรก็ดี กรณีผู้ประกอบการไม่มีการนำเข้าโควตาที่ได้รับการคืนให้โควตาที่ได้รับก็จะมีการนำมาพิจารณาจัดสรรให้กับผู้ประกอบการที่ยังมีความต้องการต่อไป หรือ หากโควตากลุ่ม1 หรือ กลุ่ม2 เหลือจากการจัดสรรในกลุ่มให้นำมาจัดสรรให้กับผู้ประกอบการที่ยังมีความต้องการนำเข้าตามวิธีการจัดสรรในแต่ละกลุ่ม

 

ส่วนผู้ที่อุทธรณ์ 2 ราย  ผ่านสมาคมอุตสาหกรรมนมและอาหาร (กลุ่ม2)  เพราะขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และการดีเลย์การส่งสินค้า 15-30 วัน ทำให้ไม่สามารถนำเข้าโควตาที่ได้รับตามเงื่อนไข  ได้แก่ บริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) จำกัด และสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น  ทางที่ประชุมมิลค์บอร์ด มีมติให้นำเข้าในส่วนโควตาที่เหลือ ที่มีผู้ประกอบการคืนโควตา หากจะมีความประสงค์จะนำเข้าให้ใช้โควตานี้ นำเข้านมผงได้ ไม่มีปัญหา