รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ถึง สัปดาห์ก่อนมีเหตุการณ์ภัยซ้ำซ้อนน้ำท่วมใหญ่ที่ยุโรป มาสัปดาห์นี้ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมาที่ประเทศจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 20 คน ในเมืองหลวง เจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน และมีการอพยพกว่า 200,000 คน สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจมน้ำ น้ำล้นตลิ่ง
ศ. Johnny Chan แห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกงกล่าวว่านี่คือผลพวงจาก “ภาวะโลกร้อน” ทำให้มีปริมาณฝนตกหนักในรอบ 1,000 ปี กล่าวคือปริมาณฝนสะสม 3 วัน ที่เมืองเจิ้งโจว มีมากถึง 617.1 mm (โดยที่ปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีที่เมืองนี้ 640.8 mm) กล่าวคือฝนตก 3 วันเทียบเคียงฝน 1 ปี เหตุการณ์แบบนี้จะเกิดบ่อยครั้งขึ้นในอนาคต
ปลายปีนี้คาดว่าปรากฏการณ์ “ลานีญา” มีโอกาสเกิดขึ้น ถ้าปริมาณฝน 1,000 ปี มาตกในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ในปีที่เราเผชิญกับ Covid-19 เหมือนเจิ้งโจวที่มีประชากรใกล้เคียง กทม. จะเกิดอะไรขึ้น? แผนรองรับเป็นอย่างไร? จะอพยพกันอย่างไร ? อพยพไปที่ไหน ?
นี่คือ "มหันตภัยซ้ำซ้อน" ที่เราควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และมีสติน่ะครับ ผมได้จำลองสถานการณ์ไว้แล้ว (ดูรูปแนบ) การประเมินความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญมาก โปรดติดตามตอนต่อไป !!