ส่งออกไทยปี 65 ความท้าทายใหญ่ท่ามกลางปัจจัยลบ

15 พ.ย. 2564 | 05:11 น.
อัปเดตล่าสุด :15 พ.ย. 2564 | 13:47 น.

ส่งออกไทยปี65 กับความท้าทายที่ยังมีรอบด้าน ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด สงครามการค้า ค่าระวางเรือที่สูงลิ่ว  IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลกขยายตัว4.9ในปี65 ขณะ คาดแนวโน้มการส่งออกในปี 2565 มีทิศทางขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงในภาพรวม

ส่งออกไทยปี 2564 เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ถึงสิ้นปีนี้จะขยายตัวเป็นตัวเลขสองหลัก  โดยเอกชนส่วนใหญ่ฟันธงว่าจะขยายตัวได้ที่ 12-13% เป็นไปได้มากสุด ขณะที่ความท้าทายของการส่งออกไทยปี 2565 ที่ภาคเอกชนและนักวิชาการคาดการณ์ในเบื้องต้นจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัว โดยจะขยายตัวได้ระหว่าง 4-5% ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่มาก  ถือเป็นความท้าทายของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แม่งานหลักในการผลักดันการส่งออกของประเทศที่ต้องฝ่าฟัน

ส่งออกไทยปี 65 ความท้าทายใหญ่ท่ามกลางปัจจัยลบ

 

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยในการให้สัมภาษณ์กับ“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ในปี 2565 กรมมองว่า การระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศที่เริ่มกลับมารุนแรงอีกครั้ง และความไม่แน่นอนว่าจะยืดเยื้อหรือไม่ ซึ่งมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้นของประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ จีน รัสเซีย จะเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งและส่งมอบสินค้า และต่อการส่งออกของไทย

 

นอกจากนี้ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยภายหลังเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. 64 ซึ่งหากเกิดการระบาดระลอกใหม่ที่รุนแรงอาจทำให้ต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้งจะกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตจากการปิดโรงงานในประเทศ  ปัญหาด้าน supply chain disruption ที่อาจเกิดขึ้นจากการปิดโรงงาน/หยุดการผลิตในประเทศคู่ค้าที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตเดียวกัน ซึ่งในส่วนของประเทศจีน

ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

นอกจากปัญหาการระบาดระลอกใหม่ในหลายพื้นที่ที่ทำให้รัฐบาลจีนเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมการเดินทางข้ามจังหวัด ยังมีปัญหาวิกฤตพลังงานในจีนที่ทำให้เกิดการขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ซึ่งกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตของจีนที่ต้องลดกำลังการผลิตลง และส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนทั่วโลก

ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกปี2565  

ปัญาค่าระวางเรือสูง สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 64 ระบุปัญาค่าระวางเรือมีทิศทางทรงตัวในระดับสูง และมีโอกาสปรับตัวขึ้นอีกจนถึงช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2565 นอกจากนี้ ยังมีปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาสูง โดยเฉพาะชิป และเหล็ก ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนของภาคการผลิตเพื่อส่งออก โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาหารกระป๋องและแปรรูป ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย

    ส่งออกไทยปี 65 ความท้าทายใหญ่ท่ามกลางปัจจัยลบ         

ดังนั้น จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออก โดยในส่วนกระทรวงพาณิชย์จะเดินหน้าความร่วมมือกับภาคเอกชนภายใต้กลไก กรอ. พาณิชย์ เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็ว

ส่งออกไทยปี 65 ความท้าทายใหญ่ท่ามกลางปัจจัยลบ

“การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะยังดำเนินต่อไป แต่อ่อนแรงลงและมีความไม่แน่นอนมากขึ้น โดย IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลกขยายตัวที่ 5.9% ในปี 2564 และ 4.9% ในปี 2565 โดยปรับลดจากคาดการณ์เดิม เมื่อเดือนกรกฏาคม 2564 ลง เนื่องจากปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทาน (supply disruption) ที่ยืดเยื้อ และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศที่แย่ลงซึ่งทำให้มาตรการควบคุมการระบาดกลับมาเข้มงวดขึ้นอีกครั้ง

 

ทั้งนี้ การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของสายพันธุ์เดลต้า และความเสี่ยงของการกลายพันธุ์ใหม่ เพิ่มความไม่แน่นอนว่าการระบาดทั่วโลกจะสิ้นสุดลงเมื่อใด”

ส่งออกไทยปี 65 ความท้าทายใหญ่ท่ามกลางปัจจัยลบ

ดังนั้นแนวโน้มการส่งออกในปี2565 IMF คาดว่าจะมีทิศทางขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงในภาพรวม อย่างไรก็ดี หากพิจารณาเป็นรายประเทศคู่ค้า ยังมีตลาดที่มีศักยภาพ

 

โดยประเทศที่ IMF คาดการณ์ว่าจะยังคงมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในปี 2565 คือ อินเดีย (+8.5%) และประเทศที่เศรษฐกิจคาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวดีขึ้นในปี 2565 เทียบกับปี 2564 ได้แก่ ประเทศในกลุ่มอาเซียน-5 (เวียดนาม 6.6% / ฟิลิปปินส์ 6.3% / มาเลเซีย 6.0%/ อินโดนีเซีย 5.9%) ซาอุดิอาระเบีย (4.8%) และญี่ปุ่น (+3.2%) เป็นต้น

 

ส่วนปัจจัยบวกต่อการส่งออกไทย ได้แก่ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง  แต่ทั้งนี้คาดว่าในปีหน้าค่าเงินบาท มีแนวโน้มที่อ่อนค่าลงยังส่งผลดีต่อความสามารถในการส่งออกของไทย ขณะที่ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์คาดจะเริ่มคลี่คลายประมาณกลางปีหน้า