นำมาซึ่งการคุมเข้มการเคลื่อนย้ายหมู กระทรวงพาณิชย์รับลูกห้ามส่งออกหมูมีชีวิต 3 เดือน พร้อมจัดทีมกรมการค้าภายใน พาณิชย์จังหวัดร่วมกับกรมปศุสัตว์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบห้องเย็นคุมเข้มการกักตุนหมู ขณะที่ก่อนหน้านี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)พร้อมปล่อยกู้ผ่าน 3 โครงการวงเงินรวม 3 หมื่นล้านบาท หนุนเกษตรกรในการเลี้ยงสุกรครบวงจร เพื่อเพิ่มปริมาณสุกรให้ออกสู่ตลาดได้มากขึ้นในเร็ววันนั้น
รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ ให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ” โดยให้มุมมองในการบริการจัดการอุตสาหกรรมสุกร(หมู)ของประเทศนับจากที่ทางการออกมายอมรับมีโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF เป็นโรคอุบัติใหม่ ซึ่งนับจากนี้จะเกิดผลพวงตามมาอีกมากมาย และจะพลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่อุตสาหกรรมหมูของไทยในหลายเรื่อง
มันไม่ง่ายนะ ประเด็นคือมันจะต้องควบคุมจัดการโรคระบาดก่อน จะเห็นว่ารัฐบาลหรือกรมปศุสัตว์ยังไม่ได้มีแอ็กชั่นแพลนออกมาเลยว่าจะควบคุมหรือจัดการโรคระบาดอย่างไร มีแต่ไปดูผู้บริโภคจะนำหมูเข้า หรือชดเชยฟาร์มหมู อะไรอย่างนี้ แต่วิธีการจะจัดการอย่างไร้ เช่นวันก่อนบอกว่าเจอที่ราชบุรีใช่มั้ย แล้วแหล่งอื่น ๆ ล่ะ คุณไม่ได้เปิดเผยเลยนะ แหล่งอื่น ๆ ที่มีปศุสัตว์เขตอยู่ 9 เขต เขตไหนเป็นมากเป็นน้อยอย่างไรควรที่จะบอกข้อมูลให้สาธารณชนได้รับรู้ และคุณมีแผนบริหารจัดการอย่างไรในแต่ละเขต เพราะว่า ถ้าบางเขตระบาดน้อย มันก็ป้องกันดูแลให้หมูออกมาได้ มันก็ยังเลี้ยงได้ ถ้ามันไม่ได้ติด เราก็กันวงไว้ไม่ให้โรคระบาดเข้าไปแต่ว่าตรงไหนที่มันติดแล้วก็ต้องไปกำจัด หรือไปทำลาย แล้วก็จ่ายชดเชย
"แต่วันนี้ลักษณะของข้อมูลแพลนนิ่งลักษณะอย่างนี้มันไม่ถูกเปิดเผยออกมาว่าคุณจะจัดการอย่างไร จริง ๆ เขาควรบอกสาธารณชนได้รับรู้ว่าจะบริหารจัดการอย่างไร"
โรคมันเกิดมาตั้ง 2 ปีแล้วนะ อันนี้คือความล่าช้าของระบบราชการ ระบบข้อมูลที่ไม่สื่อสารให้กับสังคม หรือประชาชนได้รับรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นควรต้องสื่อสารตรงนี้ก่อน เสร็จแล้วเร่งลงไปจัดการที่ฟาร์มในส่วนของพวกกรมปศุสัตว์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องผู้เลี้ยง ก็ไปจัดการที่ฟาร์มว่า ตรงไหนเป็น priority (ลำดับความสำคัญ)หลักที่มีการระบาดมาก ซึ่งสันนิษฐานของผมก็คือว่า รายเล็ก ๆ มันล้มไปแล้วล่ะส่วนหนึ่ง อาจจะมีรายกลางบางส่วนอยู่ และอาจจะมีรายใหญ่ได้รับผลกระทบบ้างแต่อาจจะไม่มากมายนัก อาจจะซัก 30% ที่ยังมีสุกรที่จะชำแหละและส่งออกตลาดได้
รายเล็กมันอยู่ไม่ได้ คุณดูในข่าวอะไรต่าง ๆ ที่นครปฐมที่เขาเลี้ยงรายเล็ก ๆ ที่เป็นฟาร์มเปิดทั้งหลายแหล่มันไปแล้ว วันนี้ที่อยู่ได้คือฟาร์มขนาดกลางกึ่งใหญ่ หรือฟาร์มขนาดใหญ่ในระบบปิดที่มีเรื่องไบโอซีเคียวริตี้และไบโอเซฟตี้ที่ค่อนข้างจะดีหน่อย มีการป้องกันดูแลโรคก็อาจจะไม่ได้กระทบ หรือถ้าอาจมีปุ๊บเขาก็กำจัดได้ โดยใช้หลักวิชาการมากขึ้น มีวิธีบริหารจัดการ จะเห็นว่าวันนี้ยังมีหมูเข้าสู่ตลาดอยู่ แต่มีปริมาณที่ลดลง สันนิษฐานว่ามาจากฟาร์มใหญ่ ๆ เหล่านี้
ไม่รู้เหมือนกัน คือหมูทั้งระบบเคยมี 20 ล้านตัวต่อปี ใช้บริโภคในประเทศประมาณ 18-19 ล้านตัว และเขาบอกว่าตอนนี้มันหายไปประมาณ 4 ล้านตัว มันก็อยู่ซัก 14-15 ล้านตัว โดยฟาร์มที่ยังมีหมูอยู่ก็คือฟาร์มขนาดใหญ่ที่มีเรื่องของไบโอซีเคียวริตี้กับไบโอเซฟตี้ที่ค่อนข้างที่จะดี คือเป็นระบบปิด
พันรายเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ที่มีผลผลิตประมาณเกือบ 50% ของผลผลิตโดยรวม ส่วนรายย่อย ๆ เคยมี 1.8-1.9 แสนราย ผมว่ามันหาย ๆ ไปประมาณ 50% นะ แล้วฟาร์มที่ยังดีอยู่คือฟาร์มในภาคใต้ ส่วนภาคเหนือนี่ระบาดมาแล้ว และมีทางตะวันตกคือ อ.บ้านโป่ง ภาคตะวันออกนี่ไม่รู้ เพราะจะเห็นว่าข้อมูลจะเร้นลับมาก ข้อมูลกรมปศุสัตว์ไม่ได้ออกมา ไม่เหมือนกับโควิดจะบอกว่าจังหวัดไหนเป็นอย่างไร แต่พอเรื่องสุกร การจัดการของกรมปศุสัตว์ยังล่าช้ามาก และไม่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิชาการที่ดีพอ
ผ่านวิกฤติสูงสุดมาหรือยัง คือถ้าโรคยังอยู่ มันก็ยังเป็นวิกฤติอยู่ คุณไม่ได้แก้ปัญหา ที่ผ่านมาคุณแก้ปัญหาแบบใต้ดิน พอแก้ปัญหาแบบใต้ดินมันก็ไม่ได้แก้ปัญหาในภาพรวม แต่แก้เป็นจุด ๆ และมันก็ยังเกิดขึ้นอยู่ คุณแก้ฟาร์มนี้ มันก็ไปเกิดอีกฟาร์มหนึ่ง เพราะฉะนั้นฟาร์มรายย่อย ๆ ทั้งหลายแหล่ก็จะโดนกระทบ
วิธีการวันนี้ก็คือว่า ผมคิดว่ารายใหญ่ ๆ เขาเดินของเขาไปเองได้ เพราะเขามีเรื่องโรงเรือนปิดเป็นเกราะของเขา 2. เขามีเรื่องระบบไบโอเซฟตี้กับไบโอซีเคียวริตี้อยู่ แล้วเขามีนักวิชาการอยู่ เขาเลี้ยงตามหลักวิชาการ และมีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย เพราะฉะนั้นโอกาสที่เขาจะติดเชื้อก็มี แต่มีเปอร์เซ็นต์น้อย พอติดปุ๊บเขากำจัดได้ทันที เพราะฉะนั้นเขาไม่ได้เกิดระบาดหนัก แต่ว่ากลุ่มคนเล็ก ๆ ที่เลี้ยงระบบเปิด รายเล็ก รายย่อย รายกลางทั้งหลายที่เลี้ยงระบบเปิดวันนี้บางรายก็หมดตัวไปแล้ว หยุดการผลิตไปแล้ว บางรายตอนนี้สโลดาวน์ก็คือว่า ไม่มั่นใจแล้ว ถ้าติดก็เจ๊งเป็นหนี้เป็นสิน เพราะมันตายทีเดียวยกเล้า อันนี้จะแก้ปัญหาอย่างไร
คำถามคือกรมปศุสัตว์จะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไรกับฟาร์มรายย่อย เพราะตัวเองก็ไม่ได้บอกอะไรมาเลย ไม่มีอะไรออกมาเลย อันนี้คือซัพพลายไซด์ หมูนี่มันเป็นไซเคิล เป็นวัฏจักร ไม่ใช่ข้าวแค่ 3 เดือนก็ออก (ผลผลิต) ไก่แค่ 45 วันคุณก็เลี้ยงใหม่ขึ้นมาได้ และมีวัคซีน แต่หมูที่เป็นโรค ASF ไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือมียารักษา โรค PRRS ยังมีวัคซีน มันก็แก้ปัญหาได้
วัฏจักรหมูมีตั้งแต่แม่พันธุ์ วันนี้แม่พันธุ์สำหรับรายเล็ก ๆ บางรายเขาก็พยายามถนอมแม่พันธุ์ไว้ แต่บางรายแม่พันธุ์ก็ไปแล้ว คือต้องเข้าใจ หมูมี 3 ผู้ประกอบการ คือผู้ประกอบการที่เลี้ยงแม่พันธุ์ 2.ผู้ประกอบการที่ทำลูกหมู และ 3.ผู้ประกอบการหมูขุน วันนี้รายเล็กรายย่อยทั้งหลายแหล่ แม่พันธุ์ส่วนหนีงก็หายไปแล้วเหมือนกัน ก็ต้องถ้ามันตายยกเล้า แต่ที่มีอยู่ เขาก็พยายามถนอมแม่พันธุ์ให้คงอยู่ คืออาจจะเลี้ยงไว้แม่สองแม่ เพื่อจะเอาลูกไว้เลี้ยงต่อ หรือเพื่อประคองตัวไว้ และกว่าที่แม่พันธุ์จะตกลูกต้องใช้เวลา
ถามว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร 1.วันนี้ในฟาร์มขนาดเล็กจะต้องควบคุมโรคระบาดให้อยู่ก่อน 2. เมื่อโรคระบาดชะลอตัวแล้ว ควบคุมได้แล้ว ซึ่งการควบคุมก็ต้องเป็นเขตไป ปศุสัตว์ก็ดูแลแต่ละเขตไป ถ้าบริหารจัดการตรงนี้ได้ และทุเลาหรือบรรเทาไปแล้ว เหมือนกับโควิดไม่มีคนติดโรคแล้ว อันนี้ก็ต้องให้ความรู้เกษตรกรให้ดีขึ้น คือให้ความรู้แก่เกษตรกรในวิธีการเลี้ยงที่หาทางป้องกัน เพราะมันไม่มีวัคซีนป้องกัน คุณก็ต้องป้องกันตัวเอง
ขณะเดียวกันการระบาดของโรคครั้งนี้จะทำให้โครงสร้างเปลี่ยนไป สองคือ คนที่เลี้ยงรายย่อยที่เลี้ยงอยู่ 50% ออกไปจากระบบ ในส่วนที่อยู่คุณอาจจะต้องจัดสินเชื่อพร้อมกับให้ความรู้กับเขา เพื่อจะเข้าสู่ระบบการเลี้ยงใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณซัก 1.5-2 ปี อันนี้เพื่อฟู้ดซีเคียวริตี้ หรือความมั่นคงด้านอาหารในระยะยาวของประเทศ
ใช่ ๆ คือรายที่มีความสามารถวันนี้กว่าจะเข้ามา คือบางรายอาจจะมีแม่หมูอยู่ อาจจะประคองตัวเองได้ส่วนหนึ่งอาจต้องใช้เวลาซัก 1 ปี แต่ราคาอย่างนี้จะช่วยให้เกษตรกรมีอินเทนซีฟที่จะเข้ามาในระบบ แต่ถ้าไปนำเข้า(หมู)เข้ามา แล้วไปกดราคา(หมูในประเทศ)ให้ต่ำ หรือรัฐบาลไปดึงราคาให้ต่ำลง พวกนี้เขาก็จะอยู่ไม่ได้เหมือนกัน เพราะอาหารสัตว์มันก็แพง อะไรก็แพง รัฐบาลก็ต้องเข้าไปดูแลเรื่องอาหารสัตว์ว่าจะทำอย่างไร จะทำอย่างไรจะดึงเขาเข้ามาสู่การเลี้ยงแบบระบบปิด และให้สินเชื่อสู่ระบบปิดมากขึ้น ถึงจะมีระบบปิดได้
ทั้งนี้จะทำให้มีฟาร์มระบบปิดมาตรฐานมากขึ้นโดยใช้หลักวิชาการในการเลี้ยง ก็จะเป็นความมั่นคงระยะยะยาว ซึ่งบางทีต้องไปหาที่(สถานที่เลี้ยง)ใหม่เลยนะ ซึ่งก็จะมีเกษตรกรเข้ามาในที่ใหม่ ๆ แต่วันนี้ต้องเมนเทน อย่างภาคใต้ไม่ระบาด ถ้าเราสำเร็จเอ็กซ์เรย์แล้ว เซอร์เวย์แล้วระบาดก็ต้องรักษาภาคใต้เอาไว้ เพื่อให้มีกันชนที่ชัดเจน ไม่ให้มีโรคแพร่เข้าไปในภาคใต้ อย่างนี้ถึงจะมีวิธีการจัดการที่ดี อันนี้คือด้านซัพพลายไซด์
ส่วนด้านดีมานต์ไซด์เป็นของกระทรวงพาณิชย์ ถ้าจะนำเข้าเนื้อหมูจากต่างประเทศก็ต้องดูด้วยว่าต้องเข้ามาในระบบโควตา ไม่ได้นำเข้ามาเยอะจนกระทั่งทำให้อุตสาหกรรมล้มละลายไปหมด
ต้องยุโรป เพราะถ้าจากอเมริกาไทยมีมาตรฐานเรื่องสารเร่งเนื้อแดง เขาไม่ยอมรับ เพราะเราไม่มี เพราะฉะนั้นในอเมริกาใช้สารเร่งเนื้อแดงคงนำเข้าไม่ได้ ถ้านำเข้าสินค้าในไทยจะเป็น 2 มาตรฐาน แต่ถ้าจะนำเข้าก็น่าจะนำเข้าต้องจากยุโรป โดยมีโควตากำกับ และมีระยะเวลานำเข้าที่ชัดเจน ซึ่งเรื่องนี้ต้องไม่ให้กระทบผู้เลี้ยงรายใหม่ที่จะเข้ามา
ยังไม่มีวัคซีนในทุกประเทศ รวมทั้งไทยก็กำลังทำอยู่ เพราะฉะนั้นวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญ เหมือนกับสถานการณ์โควิด แต่ว่าในขณะที่ยังไม่มีวัคซีน
จากประสบการณ์ในจีน ในเวียดนามก็ปีกว่าขึ้นไป ขึ้นกับเราจะฟื้นฟูได้เร็วแค่ไหน เรากำจัดโรคได้ขนาดไหน วันนี้มันเป็นเขต ๆ อยู่แล้ว ก็ไปดู ในโลกนี้ยับไม่มีวัคซีน ถ้ามีก็จะแก้ไขปัญหานี้ได้