“เฉลิมชัย” พอใจงานปฎิรูปกระทรวงเกษตรฯ

07 ก.พ. 2565 | 10:06 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ก.พ. 2565 | 17:11 น.

“อลงกรณ์” เผย “เฉลิมชัย” รัฐมนตรีเกษตรฯ พอใจ พลิกโฉมงานปฎิรูปภาคเกษตร คืบหน้า 70% พร้อมชูเทคโนโลยีใหม่เมดอินไทยแลนด์ ถ่ายทอดสู่เกษตรกรกว่า 7.6 พันราย ผนึกสภาอุตสาหกรรมฯ ขยายเกษตรอัจฉริยะ 2 ล้านไร่ เตรียมจัดงานเกษตรสร้างสรรค์สู่เกษตร ตามมาด้วย "จุฬาฯ “AIC Expo” มีนาคม

 

“เฉลิมชัย” พอใจงานปฎิรูปกระทรวงเกษตรฯ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC)เปิดเผยวันนี้(7ก.พ.) ว่า จากผลการปฏิรูปการบริการและการบริหารภาครัฐของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และการดำเนินงานของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC : Agritech and Innovation Center)มีความก้าวหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ พอใจต่อผลการทำงาน

 

ล่าสุดโดยเฉพาะการดำเนินงานด้านระบบบริการภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล(  Gov Tech )ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความคืบหน้าถึง70% จากพัฒนาบริการภาครัฐทั้งหมด 176 ระบบเปลี่ยนเป็นการบริการภาครัฐด้วยดิจิตอล( Digital Service )แล้ว 156 ระบบ ซึ่งในส่วนนี้ดำเนินการเสร็จสิ้นและให้บริการแล้ว 109 ระบบหรือคิดเป็น 70%

 

ส่วนการพัฒนาNSW(National  Single Window)54 ระบบ อยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 47 ระบบ ในขณะที่ด้านระบบฐานข้อมูลดิจิตอล( Big Data )โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติได้เชื่อมโยงข้อมูลสู่ภูมิภาคกับศูนย์ AIC เช่นศูนย์AICเพชรบุรี(มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี)ในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการวิจัยและพัฒนาเกลือทะเลไทยเชิงบูรณาการ การวิจัยและพัฒนาต้นแบบด้าน IT

 

 

เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้านเกษตรกรรม และศูนย์ AIC จังหวัดเชียงราย ในการดำเนินโครงการ Flagship ร่วมกับ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงราย เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมกาแฟอาราบิกา การใช้งานระบบ CKAN เพื่อจัดทำ Data Catalogเป็นต้นทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ได้สั่งการให้มีการจัดประชุมเรื่อง NSW เป็นการเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์เพื่อสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศและการพยากรณ์ข้อมูลราคาและตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศ

สำหรับด้านเกษตรอัจฉริยะ ได้มีการรายงานการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565-2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และการขับเคลื่อนการบูรณาการด้านเกษตรอัจฉริยะ ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการเกษตรแม่นยำ 2 ล้านไร่จับคู่เกษตรแปลงใหญ่(Big Farm)กับบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่(Big Brother)

 

 

โครงการความร่วมมือด้านSmart Farming กับบริษัท ล็อกซ์เล่ย์ จำกัด(มหาชน) เพื่อขับเคลื่อนแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะข้าว และระบบช่วยการตรวจประเมินระยะไกล (Remote Audit) หรือการตรวจผ่านระบบออนไลน์ แปลง GAP และเกษตรอินทรีย์ (Organic) (แอพพลิเคชั่น Kasettrack)

 

“เฉลิมชัย” พอใจงานปฎิรูปกระทรวงเกษตรฯ

สำหรับด้าน E-Commerce ได้มีการขับเคลื่อนเรื่องแผนการกระจายผลไม้ในประเทศ และความร่วมมือด้านการเกษตรและการค้าไทย-บาห์เรน รวมทั้งโครงการThailand  E-Commerce Village

 

ส่วนงานด้านธุรกิจเกษตร (Agribusiness) มีการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาแบรนด์ธุรกิจ SMEs ด้วยการสร้างสรรค์คาแรคเตอร์ให้โดนใจกลุ่มผู้บริโภค และการประชาสัมพันธ์การจัดงานตลาดนัด Local CIP Fair และ Character Walking Street โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ในระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2565

นอกจากนี้นายอลงกรณ์ได้มอบนโยบายให้คณะอนุกรรมการด้านธุรกิจเกษตร ศึกษาจุดอ่อนจุดแข็งในเรื่องของระบบธุรกิจเกษตรแบบ Contract Farming ภายใต้กฎหมายปัจจุบันว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งที่จะต้องดำเนินการแก้ไขพัฒนาอย่างไร และการขับเคลื่อนการทำงานในพื้นที่ด้วยคณะทำงานของ AIC ในการพัฒนาธุรกิจเกษตร

“เฉลิมชัย” พอใจงานปฎิรูปกระทรวงเกษตรฯ

ทางด้านผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนการทำงานของ AIC ที่ผ่านมา มีการนำเสนอความก้าวหน้าในเรื่องของการเชื่อมโยงศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กับศูนย์ AIC โดย กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งในปัจจุบันมีการทำโครงการเชื่อมโยงองค์ความรู้ของศูนย์ AIC ผ่าน ศพก. ใน 6 เขตพื้นที่ โดยเกษตรกรสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

 

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเทคโนโลยีการผลิต ที่เป็นองค์ความรู้จาก AIC ไปใช้ในแปลงเกษตรได้เป็นอย่างมาก และมีการสนับสนุนงบประมาณในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาเกษตรกรครบรอบด้านผ่านการดำเนินงานของศูนย์ ศพก.และเครือข่าย การนำ (INNOVATION CATALOG) มาใช้ประโยชน์กับเกษตรกร ของศูนย์ AIC จังหวัดระยอง ร่วมกับศูนย์ ศพก. หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรในพื้นที่

 

 

 สำหรับผลการดำเนินงานด้านแคตตาล็อกนวัตกรรมAIC (INNOVATION CATALOG)  มีจำนวน  641 เทคโนโลยี/นวัตกรรม เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก AIC ผ่าน ศพก. จำนวน 7,679 ราย ศพก. 882 แห่งมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก AIC จำนวน 55 แห่ง และการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะทำงานคัดเลือกรางวัล AIC Award และพิจารณาเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะเรื่อง เข้าร่วมในคณะทำงาน AIC Award อีกทั้งการประชาสัมพันธ์นิทรรศการเสมือนจริง AIC CHULA SARABURI VIRTUAL EXPO 2022 ซึ่งจัดโดย AIC จังหวัดสระบุรี ที่จะมีขึ้นในวันที่ 24-25 มีนาคม 2565

 

นายอลงกรณ์ได้เน้นย้ำถึงการปฏิรูปภาคเกษตรของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคเกษตรกรโดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เมดอินไทยแลนด์ รวมถึงการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศาสตร์พระราชาถือเป็นพื้นฐานสำคัญเสมือนคานงัดการพัฒนาไปสู่เกษตรมูลค่าสูงเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและประเทศชาติ

 

ทั้งนี้เป็นผลจากการประชุมล่าสุดซึ่งมีนายอลงกรณ์ ทำหน้าที่ประธานพร้อมด้วยนายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรฯ.นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ประธานอนุกรรมการธุรกิจเกษตร นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสศก. ประธานอนุกรรมการGovTechและBig Data ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ นายกฤชฐา โภคาสถิตย์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce รศ.ดร. อาณัฐชัย รัตตกุล  ดร.ดาเรศร์ กิตติโยภาส 

 

 

นายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สถานศึกษา ภาคเอกชน และศูนย์ AIC จากทั่วประเทศ ได้ร่วมประชุมผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings ในการขับเคลื่อนคณะอนุกรรมการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้าน Big Data และ Gov Tech ด้านเกษตรอัจฉริยะ ด้าน E-Commerce ด้านธุรกิจเกษตร (Agribusiness) และศูนย์AIC 77 จังหวัดและAICประเภทศูนย์แห่งความเป็นเลิศอีก23ศูนย์