15 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ว่า ปัจจุบันอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลที่อุดหนุนให้แก่นักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชนต่ำกว่าเงินอุดหนุนที่นักเรียนภาครัฐได้รับ
เนื่องจากการอุดหนุนในส่วนของเงินสมทบที่เป็นเงินเดือนครูโรงเรียนเอกชนยังใช้สัดส่วนครูต่อนักเรียนพิการเท่ากับโรงเรียนทั่วไป คือ ระดับก่อนประถมและประถมศึกษา ใช้ครู 1 คน ต่อนักเรียน 25 คน ระดับมัธยมศึกษาใช้ครู 1 คน ต่อนักเรียน 20 คน
ขณะที่สัดส่วนข้าราชการครูในโรงเรียนสอนคนพิการของรัฐ กำหนดสัดส่วนความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน ทางร่างกาย ใช้ครู 1 คน ต่อนักเรียนพิการ 5 คน บกพร่องทางสติปัญญาใช้ครู 1 คน ต่อนักเรียนพิการ 4 คน และออทิสติก ใช้ครู 1 คน ต่อนักเรียนพิการ 3 คน จึงส่งผลให้โรงเรียนเอกชนมีภาระด้านเงินเดือนครูสูงกว่าโรงเรียนทั่วไป
ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ครม.จึงมีมติเห็นชอบปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในปีงบประมาณ 2566 รวมทั้งสิ้น 118.74 ล้านบาท ดังนี้
โดยปรับเพิ่มค่าจ้างครูและผู้ช่วยครูในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนพิการของโรงเรียนเอกชน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
ประเภทสามัญศึกษา
ประเภทอาชีวศึกษา (ระดับ ปวช.)
ผู้ช่วยครูทุกระดับทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา (ระดับ ปวช.)
นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า การปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชนในครั้งนี้ เพื่อให้การจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบมูลนิธิและโรงเรียนเอกชนการกุศล ได้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
ทั้งยังสามารถต่อยอดพัฒนาศักยภาพของนักเรียนพิการได้อย่างเต็มที่ เมื่อผู้พิการสำเร็จการศึกษาจะได้นำความรู้และทักษะไปประกอบอาชีพและอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างมีความสุข