นางธนพร พูลเพิ่ม ผู้อำนวยการททท.สำนักงานอุดรธานี หัวหน้ากลุ่มจังหวัดท่องเที่ยว ”กลุ่มนคราธานี” เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ททท.สำนักงานอุดรธานี มีแผนส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวภายในจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้เหมาะสมกับสถาการณ์และบรรยากาศในปัจจุบัน
โดยในไตรมาส 2-3 นี้ จะมีแคมเปญ"ไหว้พญานาค พญายักษ์แล้ว จะหลงรักนครราธานี” เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่การเดินทางท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ ของนักท่องเที่ยวในพื้นที่กลุ่มนคราธานี
หลังจากที่บรรยากาศการท่องเที่ยวในกลุ่มนคราธานี ประกอบด้วยจังหวัดอุดรธานี หนองคาย และบึงกาฬ เริ่มคลี่คลายลง ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 โดยหลังจากเทศกาลวันแห่งความรัก(วาเลนไทน์)ไปแล้ว สภาวะที่ค่อย ๆ กระเตื้องขึ้นในทางที่เป็นบวกมากขึ้นเรื่อย ๆ
ประกอบกับที่จังหวัดอุดรธานี ได้ร่วมกับ ททท.สำนักงานอุดรธานี และกลุ่มนคราธานี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทำการขับเคลื่อนการเปิดเมืองเฉพาะบางส่วน หรือโครงการ"Udon Sandbox Model" ในพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด 6 พื้นที่ ตามข้อกำหนดมาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติงานเป็นขั้นตอน หรือ Standard Operating Procedure : SOP ในรูปแบบ Sandbox จังหวัดอุดรธานี
เพื่่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว การรักษาพยาบาล ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และตามมาตรฐาน BCG Touriam Model ด้านการท่องเที่ยว ฏกยมีการผ่อนปรนมาตรการข้อบังคับต่าง ๆ ลง ทำให้บรรยากาศการเดินทางไปมาระหว่างพื้นที่และการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ต่าง ๆ มีบรรยากาศที่ค่อนข้างผ่อนคลายไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ
อย่างไรก็ตามในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ๆ หลายแห่งหลายพื้นที่ ต้องดำเนินการภายใต้ของมาตรการรักษาป้องกันความปลอดภัย ของคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัด (ศบค.จังหวัด) ที่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดูแลแหล่งท่องเที่ยวแต่ละพื้นที่ขึ้นมา อาทิเช่น แหล่งท่องเที่ยววังนาคินทร์คำชะโนด อ.บ้านดุง แหล่งท่องเที่ยวถ้ำนาคา อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ ฯลฯ ต่างมีระเบียบข้อกำหนดที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่
ตัวอย่างเช่นการท่องเที่ยวที่ถ้ำนาคา กำหนดให้นักท่องเที่ยวต้องจองคิวผ่านได้เฉพาะที่กรมทรัพยากรธรรมชาติฯ และอนุญาตให้เพียงวันละ 500 คน เท่านั้น โดยอยู่ระหว่างพิจารณาคำขอเพิ่มเป็นวันละ 1,000 คน จึงต้องขึ้นอยู่กับระเบียบข้อกำหนดมาตรการ ของคณะกรรมการฯ ทั้งสองคณะดังกล่าวเป็นหลัก ประกอบกับสถานการณ์การท่องเที่ยวในภาพรวม
ทั้งนี้ ททท.ในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัดคือ อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ และผู้ประกอบการท่องเที่ยว มีความต้องการให้สถานการณ์ท่องเที่ยวดีขึ้น แต่ก็คงไม่ถึงจุดเดิมที่เคยเป็นมา คงยังไม่คึกคักถึงระดับเหมือนก่อนจะมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิค-19 ที่ต้องใช้เวลาอีกระยะ
ด้านนายกำแหง สายวิภู ผู้อำนวยการท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี เปิดเผยว่า ช่วงหลังเทศกาลตรุษจีนของทุกปี สถานการณ์การเดินทางเดินโดยเครื่องบินจะมีผู้โดยสารน้อยลง บางปีสายการบินจะลดจำนวนเที่ยวบินลงตามสถานการณ์ ซึ่งได้เคยคาดการเอาไว้ก่อนหน้านี้ว่า หลังตรุษจีนปี 2565 นี้ว่าจะมีผู้โดยสารลดลง
แต่สถานการณ์เวลานี้การเดินทางกลับกระเตื้องมากขึ้น โดยในแต่ละวันจะมีเที่ยวบินเฉลี่ยวันละ 12-15 เที่ยวบิน มีผู้โดยสวารเพิ่มเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 3,200-4,000 คนเศษ ทำให้สนามบินอุดรธานี ยังเป็นสนามบินที่มีผลประกอบการ มีเที่ยวบิน และยอดผู้โดยสารที่สูงสุดของกรมท่าอากาศยานต่อไป ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่จะส่งผลดีกับกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน และกิจการเดินทางท่องเที่ยว ธุรกิจการบิน สร้างเศรษฐกิจให้กับภูมิภาค
ทั้งนี้ สันนิษฐานว่าเนื่องจากสถานการณ์ของเชื้อโควิค-19 โดยทั่วไปมีทิศทางที่คลี่คลายไปทางที่ดีขึ้น หลายพื้นที่มีการเดินทางไปมาระหว่างกันมากขึ้น มาตรการรักษาป้องกันความปลอดภัยของจังหวัดก็ผ่อนปรนลง พื้นที่หลายแห่งที่ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม ก็ได้รับการผ่อนคลายเป็นพื้นที่สีที่แสดงถึงมีความปลอดภัยมากขึ้น ยิ่งจังหวัดอุดรธานีประกาศมาตรการเปิดเมืองเพื่อการท่องเที่ยวเป็นบางส่วนไปแล้ว ก็ทำให้คนเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มจำนวนมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามสนามบินอุดรธานี ยังคงมีมาตรการรักษาความปลอดภัย อนุญาตให้ผู้โดยสาร หรือญาติ เข้าอาคารผู้โดยสารช่องทางเดียว และออกจากอาคารช่องทางเดียวเหมือนเดิม เพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่าย
ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี มีการพัฒนาต่อเนื่อง อาทิ การเปิดเที่ยวข้ามภาคเส้นทาง ภูเก็ต-อุดรธานี ของสายการบินไทยเวียตเจ็ท สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันพุธ ศุกร์ อาทิตย์ วันละหนึ่งเที่ยวบิน คือ เที่ยวบิน VZ453 ออกจากภูเก็ต เวลา 13.50 น.ถึงอุดรธานี เวลา 15.45 น. และเที่ยวบิน VZ 452 ออกจากอุดรธานี เวลา 16.15 น.ถึงภูเก็ตเวลา 18.10 น.ของวันเดียวกัน โดยจะเริ่มให้บริการทำการบินเที่ยวแรก ในเส้นทางภูเก็ต-อุดรธานี ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 นี้
นอกจากนี้แล้วในเดือนมีนาคม 2565 หากงานซ่อมบำรุงเสริมทางขับ (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์) เสร็จตามแผน สนามบินอุดรธานีจะขยายเวลาปิดสนามบิน จากปัจจุบันที่ปิดเวลา 19.00 น. ไปเป็นเวลา 22.00 น.ตามเดิม รวมทั้งคาดว่าสายการบินทั้ง 5 สาย จะขอขยายเพิ่มเที่ยวบินมากขึ้น อาจจะขึ้นไปเท่ากับหรือมากกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดเชื้อโควิด-19
ทั้งนี้ กรมท่าอากาศยาน ได้รับเงินงบประมาณสำหรับการปรับปรุงพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี สำหรับปี พ.ศ. 2564 จำนวนหลายโครงการ อาทิเช่น งานซ่อมบำรุงเสริมทางวิ่ง(รันเวย์) ทางขับ(แท็กซี่เวย์) ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ และจะแล้วเสร็จภานในเร็ว ๆ นี้ และงานก่อสร้างทางเดินเชื่อมภายใ นและปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสาร เป็นต้น นายกำแหงฯกล่าว