นายอำนวย ทงก๊ก ประธานกรรมการสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” วันนี้ ได้ยื่นหนังสือ ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมี “แรมโบ้” หรือ ดร. เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับหนังสือ ขอความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาน้ำนมดิบของเกษตรกรจําหน่ายไม่หมดและเรื่องการจัดสรรสิทธิ การจําหน่ายนมโรงเรียน จาก 8 บริษัท-สหกรณ์ ประกอบด้วย สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด , สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด , สหกรณ์โคนมมวกเหล็ก จำกัด, สหกรณ์โคนมปากช่อง จำกัด, สหกรณ์โคนมเชียงใหม่ จำกัด, สหกรณ์โคนมเชียงราย จำกัด, สหกรณ์โคนมพัทลุง จำกัด และ บจก. เทียนขำแดรี่ คอร์ปอร์เรชั่น เนื่องจาก
1.ประเด็นปัญหาน้ำนมโคล้นตลาด ที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีปัญหามาอย่างยาวนั้น เป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงในเรื่องน้ำนมโคล้นตลาด เพราะว่ามีการบริหารจัดการน้ำนมโคในแต่ละปีว่าจะมีการทำบันทึกข้อตกลงการซื้อขายน้ำนมโคระหว่างศูนย์รวบรวมน้ำนมโคกับผู้ประกอบการทุกรายว่า มีการรับซื้อน้ำนมโคจนหมดสิ้นภายใต้กำกับดูแลของคณะกรรมการโคนมหรือ มิลค์บอร์ด ตามเอกสารข้อมูลจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากกรณีองค์กรชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทยและสมาคมศูนย์รวบรวมน้ำนมเอกชนร่วมกัน
อ้างว่ามีน้ำนมโคล้นตลาดจนไม่สามารถหาที่จำหน่ายน้ำนมโคได้นั้นเป็นการนำความอันเป็นเท็จไปแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอเงินงบประมาณรายจ่ายและงบประมาณกลางโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกระทำทุจริต และรัฐบาลต้องดำเนินการตรวจสอบผู้ประสบภัยจากการระบาตของโควิด-19 จำนวน 1,400 ล้านบาท และได้มีการประชุมของกรรมาธิการพิจารณาช่วยเหลือเยียวยาอีก 2,800 ล้านบาท
โดยอยู่ระหว่างการดำเนินการของกรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อนำเสนอขอเข้าพิจารณาเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเรื่องเท็จของกลุ่มองค์กรและกลุ่มบุคคลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ เป็นการเป็นการทุจริตอย่างชัดเจน และยังมีการเรียกรับเงินเพื่อตนเองและพวกพ้องในกรณีที่รัฐบาลให้เงินสนับสนุนซื้อนมกล่องเยียวยาโดยมิชอบด้วยทั้ง 2 เหตุการณ์ที่เกิดขั้น จากกรณีน้ำนมโคล้นที่เป็นเท็จดังกล่าว ส่งผลทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่เป็นผลดีต่อการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนมของประเทศไทยในแง่ของการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนมไทย
2. ประเด็นปัญหาทุจริตโครงการนมโรงเรียน 2-3 ปีการศึกษาที่ผ่านมาและการบริหารจัดการปริมาณน้ำนมโค ที่นำมาใช้ในโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน อย่างผิดพลาดจนนำไปสู่การอ้างถึงปัญหาน้ำนมโคล้นตลาดของประเด็นปัญหาข้อที่ 1
2.1คณะกรรมการนมเพื่อเด็กและเยาวชน มีการประกาศหลักเกณฑ์นมโรงเรียนเพื่อจัดสรรสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียนให้กับผู้ประกอบการทุกราย ที่เข้าร่วมโครงการนมโรงเรียนซึ่งขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 "เรื่องแนวทางการปฏิรูประบบบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียน” โดยมีการกำหนดให้นำปริมาณน้ำนมโคจากบันทึกข้อตกลงการซื้อขายน้ำนมโค (MOU)ของคณะอนุกรรมการบริหารนมทั้งระบบ(กรมส่งเสริมสหกรณ์)
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (มิลค์บอร์ด) มาใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินการจัดสรรสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียนอย่างไม่ถูกต้องขัดกับแนวทางที่คณะรัฐมนตรีให้ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 ไว้ว่าไม่ให้นำตัวเลขปริมาณน้ำนมโค(MOU) มาใช้ในการจัดสรรสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียน เนื่องจากเห็นว่าตัวเลขปริมาณน้ำนมโค (MOU) ที่นำมาใช้จัดสรรสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียนที่ผ่านมาสร้างแต่ปัญหา และไม่เป็นที่ยอมรับ จึงให้ใช้ "พันธะสัญญาซื้อขายน้ำนมโค" แทน แต่คณะกรรมการนมเพื่อเด็กและเยาวชนไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม2562 จงใจฝ่าฝืนจนสร้างปัญหาขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้
2.2 เหตุผลที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 ไม่นำปริมาณน้ำนมโคตามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายน้ำนมโค (MOU )มาใช้ในหลักเกณฑ์การจัดสรรสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียนนั้นก็เพราะว่าตัวเลขปริมาณน้ำนมโคตาม MOU ของศูนย์รวบรวมน้ำนมโคกับผู้ประกอบการมีข้อสังเกตว่าน่าจะเป็นตัวเลขปริมาณน้ำนมโคเป็นเท็จ จำนวนมากกว่าที่จะมีการซื้อขายน้ำนมโคกับผู้ประกอบการจริงโดยเมื่อดูจากข้อมูลเอกสารที่ทำกันไว้โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์พบว่ามีข้อพิรุธ ดังนี้
2.2.1 ปริมาณน้ำนมโคที่มีการซื้อขายน้ำนมโคไม่สามารถที่จะซื้อขายและส่งมอบสินค้าน้ำนมโคกันได้ เช่น มีการทำบันทึกข้อตกลงการซื้อขายน้ำนมโคจำนวนน้อยมาก โดยมีการซื้อขายกันแค่วันละร้อยกว่ากิโลกรัมจนถึงหนึ่งพันกิโลกรัมซึ่งข้อเท็จจริงไม่สามารถที่จะซื้อขายน้ำนมโคและส่งมอบกันได้อย่างแน่นอน
2.2.2 ปริมาณน้ำนมโคที่มีการซื้อขายน้ำนมโคกับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมจัดทำบันทึกข้อตกลงการซื้อขายน้ำนมโค(MOU) ปรากฎว่าผู้ประกอบการบางรายที่ตกลงซื้อขายน้ำนมโคยังสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมไม่เสร็จเรียบร้อย และยังไม่มีใบอนุญาตผลิตอาหาร (อย.) รวมทั้งยังไม่มีตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนเพราะว่ายังไม่ได้เข้าร่วมโครงการนมโรงเรียนที่ผ่านมา ดังนั้นเชื่อได้ว่ายังไม่มีการซื้อขายน้ำนมโคของทั้งสองฝ่ายอย่างแน่นอน
2.2.3 การซื้อขายน้ำนมโค 2.2.3 การซื้อขายน้ำนมโคตามเอกสารข้อมูลบันทึกข้อตกลง(MOU) จะพบว่าศูนย์รวบรวมน้ำนมโคหลายศูนย์รวมทั้งผู้ประกอบการหลายราย มีวิธีการซื้อขายน้ำนมโคที่ผิดไปจากการซื้อขายน้ำนมโค มีปริมาณน้ำนมโคของตนเองและได้จำหน่ายให้กับลูกค้าผู้ประกอบการแล้วแต่กลับรับซื้อน้ำนมโคจากแหล่งอื่นๆ เพื่อมาใช้กับโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนของตนเอง
หรือผู้ประกอบการมีการซื้อขายน้ำนมโคโดยไม่มีความจำเป็นแต่ประการใด ซึ่งการดำเนินการซื้อขายน้ำนมโคตามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายน้ำนมโค(MOU) ในลักษณะแบบนี้น่าจะเป็นการซื้อขายน้ำนมโคเพื่อให้ได้ตัวเลขปริมาณน้ำนมโคจำนวนมากกว่าที่มีน้ำนมโคจริงๆ เรียกได้ว่าเป็นการไซฟอนตัวเลขน้ำนมโคเพื่อหวังผลประโยชน์จากการจัดสรรสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียน นั่นเอง
จากประกาศหลักเกณฑ์นมโรงเรียนปีการศึกษาที่ผ่านมาของคณะกรรมการนมเพื่อเด็กและเยาวชน นอกจากจะขัดและไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 แล้วยังสร้างปัญหาขึ้นมานอกจากการทุจริตการจัดสรรสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียนแล้ว ยังไปสร้างปัญหาน้ำนมโคล้นตลาดจากการนำปริมาณน้ำนมโคที่มีจำนวนเกินกว่าที่จะนำมาใช้ในโครงการนมโรงเรียนอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการนมเพื่อเด็กและเยาวชนมีเจตนากำหนดหลักเกณฑ์นมโรงเรียนเพื่อการจัดสรรสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียนที่ผ่านมา เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการบางรายหรือกลุ่มผลประโยชน์โดยมิได้คำนึงถึงผลเสียหายที่ตามมา
3. ประเด็นกลุ่มองค์กรและกลุ่มบุคคลร่วมกันในการสร้างสถานการณ์น้ำนมโคล้น รวมทั้งร่วมกันทุจริตในโครงการนมโรงเรียนสร้างปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนมไทยและเรียกรับเงินส่วนต่างจากการแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จเรื่องน้ำนมโคล้น เพื่อขอให้รัฐบาลช่วยเหลือนำเงินงบประมาณแผ่นดินมาช่วยเหลือซื้อนมเยียวยาในปีที่ผ่านมา จำนวน 1,400 ล้านบาท และยังจะรอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้อีกในปีนี้จำนวนเงิน 2,800 ล้านบาท ตามเอกสารการประชุมของคณะกรรมาธิการเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 และกลุ่มองค์กร กลุ่มบุคคลพวกนี้ยังร่วมกันสร้างตัวเลขปริมาณน้ำนมโคที่เป็นเท็จ ไม่มีการซื้อขายน้ำนมโคจริงตามเอกสารข้อมูลของกรมส่งเสริมสหกรณ์(MOU) เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียน
นายอำนวย กล่าวว่า ขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีโปรดได้สั่งการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องที่ได้แจ้งให้ทราบทั้งข้อที่ 1 และข้อที่ 2 โดยการตรวจสอบปริมาณน้ำนมโคของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไทยทั้งประเทศ ตามหลักและมาตรฐานการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ เช่นการส่งมอบสินค้า(น้ำนมโค/เอกสารการรับและชำระค่น้ำนมโคกับผู้ประกอบการทุกราย/การเสียภาษีเงินได้กับทางกรมสรรพากรเรื่องการทำธุรกิจค้าขายน้ำนมโค และการทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายนมโรงเรียน เป็นต้นว่าเป็นไปด้วยความถูกต้องตามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายน้ำนมโค(MOU) ถ้าพบการกระทำความผิดของศูนย์รวบรวมน้ำนมโคและผู้ประกอบการขอให้ดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระทำผิดอย่างเด็ดขาด
4. ประเด็นข้อเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากนายกรัฐมนตรีให้กับกลุ่มสหกรณ์โคนมและบริษัทเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากกลุ่มองค์กรและกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันกระทำความผิดทุจริตคือช่วยเหลือพิจารณาให้กับผู้ร้องสามารถดำเนินธุรกิจการเลี้ยงโคนมและสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียนปีการศึกษาหน้าและปีต่อๆไป อย่างมั่นคงเพื่อที่จะได้เป็นหลักประกันให้กับสมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของสหกรณ์และบริษัท
รวมทั้งพนักงานลูกจ้างของสหกรณ์โคนมและบริษัท ตลอดห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องได้สามารถดำรงอาชีพเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ และมีขีดความสามารถในการชำระหนี้สินที่มีอยู่กับสถาบันทางการเงินจนหมดสิ้นไปโดยกลุ่มฯ มีปริมาณน้ำนมโคที่รับจากเกษตรกรจริงและขอยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเข้ารับการจัดสรรสิทธิและพื้นที่ในโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนตามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้ โดยขอให้ 8 ผู้ประกอบการ – บริษัท ขอรับการจัดสรรสิทธิ์โควตานมโรงเรียน 446.487 ตัน/วัน จากปริมาณน้ำนมโคที่รับซื้อจากเกษตรกรทั้งหมด 576 .24 ตัน/วัน
อนึ่ง เปิดรายชื่อผู้เสนอข้อร้องเรียน
คลิก หนังสือข้อร้องเรียน