ส่งออกยังฉลุย “จุรินทร์” ชู ตัวเลข ม.ค. ขยายตัว 8%

02 มี.ค. 2565 | 09:54 น.
อัปเดตล่าสุด :02 มี.ค. 2565 | 16:59 น.

ส่งออกยังฉลุย “จุรินทร์” ชู ตัวเลข ม.ค. ขยายตัว 8% สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยังไม่กระทบ แต่พร้อมรับมือถ้ายืดเยื้อ จับตาเรื่องน้ำมัน การขนส่ง วัตถุดิบอาหารสัตว์ ระบุเตรียมแผนรับมือแล้ว ลุยเจาะตลาดอื่นเพิ่ม

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชน ที่เดินหน้าต่อไปอย่างเข้มข้น ภาคการผลิตทั่วโลกยังขยายตัว ดูได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing : PMI) ที่ยืนเหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 19 สะท้อนว่าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวต่อเนื่อง และปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพ และยังได้รับผลดีจากสหรัฐฯ ที่ขยายเวลาทำการในวันหยุด และเพิ่มการทำงานในช่วงกลางคืน ทำให้คล่องตัวขึ้นและตู้คงค้างลดลง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ส่งผลให้ส่งออกเดือนม.ค.2565 มีมูลค่า 21,258.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 8% ซึ่งถือว่ายังขยายตัวได้ดี เมื่อเทียบกับม.ค.2564 ที่ขยายตัวแค่ 0.1% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 23,785 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.5% ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต และการนำเข้าน้ำมันที่ราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยขาดดุลการค้ามูลค่า 2,526.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ส่งออกยังฉลุย “จุรินทร์”  ชู ตัวเลข ม.ค. ขยายตัว 8%

ทั้งนี้ การส่งออกในเดือนม.ค.2565 ตลาดที่ขยายตัวสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.อินเดีย เพิ่ม 31.9% 2.รัสเซีย เพิ่ม 31.9% 3.สหราชอาณาจักร เพิ่ม 29.7% 4.เกาหลีใต้ เพิ่ม 26.8% 5.สหรัฐฯ เพิ่ม 24.1% 6.แคนาดา เพิ่ม 13.6% 7.อาเซียน 5 ประเทศ เพิ่ม 13.2% 8.จีน เพิ่ม 6.8% 9.ลาตินอเมริกา เพิ่ม 5.0% 10.สหภาพยุโรป เพิ่ม 1.4%

ส่งออกยังฉลุย “จุรินทร์”  ชู ตัวเลข ม.ค. ขยายตัว 8%
 ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ประชุมร่วมกับภาคเอกชน ทั้งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาพันธ์ SMEs และสมาคมอื่นที่เกี่ยวข้อง ประเมินร่วมกันว่ายังไม่มีผลกระทบทางตรง หรือถ้าจะมีก็ยังไม่มาก เพราะรัสเซียเป็นตลาดส่งออกของไทยสัดส่วน 0.38% และยูเครนสัดส่วน 0.04% ยังเป็นสัดส่วนที่ไม่มาก แต่เมื่อเจาะเป็นรายสินค้า มีผลกระทบต่อยางรถยนตร์ อาหารแปรรูป อัญมณี และเครื่องสำอาง ที่ส่งออกไปยังรัสเซียและยูเครน

 

ส่งออกยังฉลุย “จุรินทร์”  ชู ตัวเลข ม.ค. ขยายตัว 8%

ส่วนในอนาคต ประเมินว่า อาจจะมีผลกระทบต่อต้นทุนทำธุรกรรมทางการเงิน แต่ตอนนี้ยังไม่มี และจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรือ หากน้ำมันสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมีการปิดท่าเรือบางแห่งในรัสเซียหรือยูเครน การส่งสินค้าของไทยอาจต้องเปลี่ยนท่าเรือ จะมีผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งได้

ส่งออกยังฉลุย “จุรินทร์”  ชู ตัวเลข ม.ค. ขยายตัว 8%
         
สำหรับผลกระทบทางอ้อม อาจมีเรื่องราคาพลังงาน ราคาเหล็กนำเข้าที่นำมาผลิตสินค้าต่อเนื่อง เช่น กระป๋อง หรือก่อสร้าง ที่จะได้รับผลกระทบ รวมถึงธัญพืชนำเข้าเพื่อทำอาหารสัตว์ เช่น ข้าวสาลีและข้าวโพด เพราะเป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก โดยเฉพาะยูเครน

ส่งออกยังฉลุย “จุรินทร์”  ชู ตัวเลข ม.ค. ขยายตัว 8%
“เพื่อเป็นการรับมือ กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมมาตรการต่าง ๆ รองรับร่วมกัน หากเกิดปัญหา โดยจะบุกตลาดทดแทน เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา เตรียมบุกตลาดทดแทนสินค้าของรัสเซียหรือยูเครนที่ไม่สามารถส่งออกไปตลาดสำคัญในโลกได้ จะถือเป็นโอกาสเข้าไปทดแทนตลาดรัสเซียกับยูเครน เช่น มันสำปะหลัง อาจส่งไปจีน แทนข้าวโพดของยูเครน หรือผลิตภัณฑ์ยางในสหรัฐฯ อาหารสำเร็จรูปส่งออกไปทดแทนสินค้าจากรัสเซียยูเครน เป็นต้น”