ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” การให้ข้อมูลของ NGO เรื่อง พบสารตกค้างในส้มทำให้สังคมตื่นตระหนกเกินเหตุ ทางสมาคมได้ตั้งข้อสังเกต 1.แหล่งที่มาของส้ม ใช้ผลผลิตจากที่ไหน ในประเทศหรือต่างประเทศ 2.ปริมาณที่พบความเข้มข้นเท่าไร ตกค้างเกินมาตรฐาน MRLs หรือ Maximum Residue Limits นั้น เป็นพียงมาตรฐานทางการค้า (Trading Standard) ไม่ใช่ค่ามาตรฐานความปลอดภัย (Safety Standard) แล้วโดยปกติคนรับประทานส้ม ปอกเปลือกอยู่แล้ว
แต่ถ้าใครกินส้มทั้งเปลือก..คงตัองตื่นตระหนกไปกับข่าว NGO พบสารตกค้างในส้มพราะ 1. หลักการวิเคราะห์หาสารตกค้างในผลไม้ ต้องวิเคราะห์รวมกันทั้งเนื้อและเปลือก โดยไม่ล้างเปลือก 2. กรมวิชาการเกษตร เคยทดลองวิเคราะห์ส้มเขียวหวานและส้มโอ แยกเนื้อและเปลือก พบว่า สารตกค้างอยู่ในเปลือกเท่านั้น รวมทั้ง ค่า ADI หรือ Acceptable Daily Intake เป็นค่าความปลอดภัยที่บอกเราว่า ในแต่ละวัน
ร่างกายมนุษย์สามารถรับสารนั้นเข้าสู่ร่างกายทางปากได้ทุกวันอย่างปลอดภัยจนตลอดอายุขัย ในปริมาณเท่าไหร่ มีหน่วยเป็น มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมน้ำหนักตัวคนกิน/วัน ซึ่ง ค่า ADI ต้องใช้ค่าเฉพาะอื่น มาประกอบด้วย คือ น้ำหนักตัว (body weight) ของผู้บริโภค และ ปริมาณส้มที่คนๆนั้นสามารถบริโภคได้ต่อวัน
ตัวอย่างเช่น ค่า ADI ของพาราควอต มีค่าเท่ากับ 0.005 มก./กก.น้ำหนักตัว/วัน แสดงว่า คนน้ำหนักตัว 60 กก. สามารถรับพาราควอตเข้าสู่ร่างกายได้อย่างปลอดภัยวันละ = 0.005 x 60 = 0.3 มก.
สมมติว่า ตรวจพบ พาราควอตตกค้างในส้ม 0.02 มก./กก. หมายถึง ถ้าคนกินส้ม (ทั้งเปลือก) 1 กก. จะได้รับสารพาราควอต 0.02 มิลลิกรัม เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งยังไม่เกินค่าความปลอดภัยที่คำนวณไว้ 0.3 มก.
ถ้าจะบริโภคให้ 'เกิน" ค่าความปลอดภัย ️คนมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 60 กิโลกรัม ต้องกินส้ม (ทั้งเปลือก) ที่มีพาราควอตตกค้าง "มากกว่า" วันละ 15 กิโลกรัมต่อเนื่องกันไปจนตลอดอายุขัย คนๆนั้นจึงอาจจะเกิดอันตราย และถ้าก่อนรับประทาน คุณปอกเปลือกส้มออกก่อน โอกาสที่คุณจะได้รับสารตกค้างเข้าสู้ร่างกายยิ่งเหลือน้อยมากกก หรือ ต้องกินส้มมากกว่าวันละ 1,000 กก.
แต่ในโลกนี้ ใครกินส้มได้ทั้งเปลือกได้มากกว่า วันละ 15 กก. บ้าง ถ้ามี‼️ยกมือขึ้น เพราะคุณอาจจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการกินส้มที่มีพาราควอตตกค้างได้
ดร.จรรยา กล่าวว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ใช่สารพิษ ค่าMRLเป็นค่ามาตรฐานทางการค้าไม่ใช่ค่ามาตรฐานความปลอดภัย วิงวอนให้เตือนสติตัวเองก่อนอ่านข่าวสารตกค้าง เพราะการให้ข่าวในลักษณะนี้เป็นการทำร้ายเกษตรกร เป็นการทำร้ายอุตสาหกรรม ถ้ามีข้อมูลไม่ครบ..ถือว่าเป็นข้อมูลที่ต้องการสร้างความตระหนก เท่านั้น แต่ถ้าหากเป็นส้มนำเข้าจากต่างประเทศ ก็ต้องเป็นหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นคนจัดการ
แต่ถ้าเป็นส้มที่ปลูกในประเทศไทยก็ต้องไปสืบดูว่ามาจากแหล่งผลิตที่ไหน มีการล้างทำความสะอาดที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะจากงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรพบว่า สารเคมีอยู่ที่เปลือกเท่านั้น