ตั้งแต่การก่อตั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ปี พ.ศ. 2561 –2564 ภาคธุรกิจของญี่ปุ่นให้ความสนใจลงทุนในEEC เป็นอันดับ 1 โดยได้รับการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนจากสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) มูลค่า 139,970 ล้านบาท โดยปี 2564 มีมูลค่า 19,445 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ (64%) เทคโนโลยีชีวภาพ (10%) และปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (8%)
แม้ช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2564 มูลค่าการลงทุนของภาคเอกชนญี่ปุ่นในพื้นที่ EEC โดยรวมจะลดลง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านการบริการ แต่การลงทุนในภาคการลิต เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เคมีภัณฑ์ อาหาร ยาและเวชภัณฑ์ ยังสามารถขยายตัวได้
จากข้อมูลของ JETRO สานักงานกรุงเทพฯ ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการญี่ปุ่นในประเทศไทยประมาณ 5,856 บริษัท โดยประมาณ 40% มีธุรกิจอยู่ในพื้นที่ EEC ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ EEC ในการเป็นฐานธุรกิจสำคัญของผู้ประกอบการญี่ปุ่นในประเทศไทย
จากการเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการของ Mr. Hagiuda Koichi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่น (METI) เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 ได้เสนอ 2 ข้อริเริ่ม Asia-Japan Investing for the Future (AJIF) และ Asia Energy Transition Initiative (AETI) โดยการร่วมสร้างสรรค์ (co-creation) ระหว่างเอกชนไทยกับญี่ปุ่นจะนาไปสู่การลงทุนสาหรับอนาคต และเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน
ประเทศไทยถือเป็นหมุดหมายสำคัญภายใต้ข้อริเริ่มดังกล่าว มีเป้าหมาย
ซึ่ง AJIF และการส่งเสริมเศรษฐกิจ BCG มีความสอดคล้องกัน ดังนั้น จึงถือเป็นโอกาสในการชักจูงการลงทุนในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเป้าหมายในอนาคต
จากกรอบข้อริเริ่ม AJIF ในระยะต่อไป 5 ปี EEC เตรียมการส่งเสริมการลงทุนของภาคธุรกิจญี่ปุ่น ใน 4 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญ โดยเชื่อมโยงกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญและการพัฒนาเขตส่งเสริมเพื่อกิจการพิเศษในพื้นที่ เช่น EECi ที่จะสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ Smart City ที่จะสร้างโอกาสการลงทุนใหม่ในอุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ
1.การเพิ่มศักยภาพให้พื้นที่ EEC เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานการผลิตของญี่ปุ่น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอนาคต ได้แก่
2. การส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ(Decarbonization) ครอบคลุมเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งภาคเอกชนญี่ปุ่นมีบทบาทในการผลักดันการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยเห็นควรให้มีการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจไฮโดรเจน (Hydrogen Economy) กับญี่ปุ่น โดยสามารถใช้พื้นที่ EEC เป็นพื้นที่นาร่องการใช้เทคโนโลยีใหม่ในภูมิภาค และใช้พื้นที่ EEC เป็นพื้นที่เป้าหมายในการลงทุนอุตสาหกรรมดังกล่าว
ตามนโยบายตามหลักการพัฒนาเศรษฐกิ BCG ซึ่งสอดคล้องกับ Green Growth Strategy และ AJIF ของประเทศญี่ปุ่น ที่สนับสนุนภาคเอกชนญี่ปุ่นลงทุนในเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งในและต่างประเทศ โดยอุตสาหกรรมและธุรกิจเป้าหมาย 3 สาขา ได้แก่ การจัดการและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน, การจัดการผลิตภัณฑ์ตลอดอายุการใช้งาน (End of Life Management), การดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน (Carbon capture and storage)
3) การส่งเสริมความร่วมมือในโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ใน EEC ซึ่งเป็นโครงการสาคัญที่ สกพอ. ได้พัฒนาแนวคิดการดาเนินงานและจะชักชวนนักลงทุนที่มีความสนใจการลงทุนและพัฒนาในระยะต่อไป ทั้งนี้ ด้วยความเชี่ยวชาญและศักยภาพของภาคเอกชนญี่ปุ่นจะมีบทบาทสาคัญในการมีส่วนร่วมการพัฒนาสาหรับโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่ฯ ใน 3 ด้านที่สาคัญ ได้แก่ ศูนย์วิจัยพัฒนาในอุตสาหกรรมเป้าหมายและนวัตกรรมอนาคต (R&D Testbed/ Hub) ความร่วมมือในการพัฒนาเมือง และความร่วมมือในการพัฒนาศูนย์กลางการเงิน