จากงานเสวนา Better Thailand Open Dialogue หัวข้อ “สิ่งแวดล้อมยุคใหม่ เติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจ” ลดโลกร้อน เพิ่มพลังงานสะอาด และเยียวยาระบบนิเวศ ซึ่งมีวิทยากรทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมแชร์ไอเดีย การเดินหน้าประเทศไทยสู่เป้าหมายNet Zero Emission ที่จะเกิดได้จริง
นายวราวุธ กล่าวว่า จากเป้าหมายที่นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศเจตนารมณ์ เมื่อวันนที่ 1 พ.ย.64 ว่า ไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 รัฐบาลได้เดินหน้าสู่เป้าหมาย ด้วยการจัดทำหลายเรื่อง โดยเฉพาะใน 3 ส่วนหลักคือ น้ำเสีย ขยะและมลพิษทางอากาศ มีการห้ามนำเข้าขยะอิเลคทรอนิก การเพิ่มพื้นที่สีเขียว และอื่นๆ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเร่งทำ แม้ประเทศไทยจะเป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 0.8% ของโลก แต่ไทยเป็นประเทศต้นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate change)
ด้านปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ภาคพลังงานและการขนส่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 70% ของการปล่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดของประเทศไทย เนื่องจากเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ถ่านหินละก๊าซธรรมชาติ และ 96% ของภาคขนส่ง ยังใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล
การที่จะเดินหน้าไปให้ถึงการลดก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ จึงต้องมีการบริหารจัดการ นำพลังงานหมุนเวียนเข้ามาใช้ ซึ่งรัฐบาลได้ออกกรอบแผนพลังงานแห่งชาติภายในปี ค.ศ. 2065 – 2070 ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางการพัฒนาพลังงานที่สำคัญ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1. ด้านไฟฟ้าเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดจากโรงไฟฟ้าใหม่ โดยมีสัดส่วน RE ไม่น้อยกว่า 50% ด้านส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
พัฒนาและยกระดับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้า (Grid Modernization) รองรับการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ระบบไมโครกริด มุ่งปลดล็อคกฎระเบียบการซื้อขายไฟฟ้า รองรับการผลิตเอง ใช้เอง (Prosumer) ที่มากขึ้น 2. ด้านก๊าซธรรมชาติเน้นการเปิดเสรีและการจัดหา สร้างความมั่นคงให้กับระบบพลังงานประเทศวางแผนสร้างสมดุลระหว่างการจัดหาในประเทศ และการนำเข้า LNG มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการซื้อขาย หรือ LNG Hub 3. ด้านน้ำมัน ปรับแผนพลังงานภาคขนส่งสร้างสมดุลระหว่างผู้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio Fuel) และ EV และ 4. ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนทุกภาคส่วนให้มากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานจากทุกภาคส่วนให้เข้มข้นมากขึ้น
การจะไปถึงเป้าหมายทั้ง 4 ด้านได้ ทางกระทรวงมีมาตรการ 4D ในการขับเคลื่อน คือ Decarbonization การมุ่งเน้นการส่งเสริมการผลิตที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และมลภาวะ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน, Digitalization ยกระดับการพัฒนาดิจิทัล, Decentralization การใช้ไมโครกริด นำไฟฟ้าส่วนเกินเข้าสู่ระบบ แล้วนำมาขายไฟฟ้าออนไลน์ และ Deregulation เรื่องของกฎระเบียบ
ด้าน ปตท.นายอรรถพล กล่าวว่า ปตท.มีการตั้งเป้าหมายที่ทำการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้เร็วกว่าเป้าหมายประเทศ ซึ่งขณะนี้กำลังร่างแผนและจะประกาศแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนในปีนี้ ซึ่งในเบื้องต้น ปตท.จะดำเนินการในรูปแบบ 3 เรื่องหลัก คือ 1. การพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีออกแบบกระบวนการทำงาน ใหม่ นำพลังงานที่เคยปล่อยทิ้งกลับมาใช้ใหม่ 2. มีการกักเก็บคาร์บอนมาเก็บในแหล่งก๊าซแหล่งน้ำมัน ซึ่งดำเนินการไปแล้วเป็นโครงการนำร่อง คือ แท่นผลิตก๊าซธรรมชาติโครงการอาทิตย์ เก็บได้ 4 แสนตันต่อปี และจะมีการขยายไปยังแหล่งอื่นๆ ต่อไป และ 3. เรื่องข้อกำหนดกฎเกณฑ์ ที่จะทำให้ ปตท.สามารถดำเนินการตามเป้าหมายได้
ขณะนี้ ปตท. ได้ดำเนินการไปแล้วหลายอย่าง รวมไปถึงการปรับพอรตธุรกิจ และที่กำลังทดลองทำอีกอัน คือ คาร์บอนเทรนดิ้ง ด้วยการลองเข้าไปเป็นผู้ซื้อก่อน รวมถึงมีการรทดลองใช้ไฮโครเจน ทั้งการทำโครงการนำร่อง และการทดลองใช้ในกระบวนการทำงานของ ปตท.รวมถึงการปลูกป่าเพิ่มอีก 2 ล้านไร่ ซึ่งจะช่วยดูดซับคาร์บอนได้ 4 ล้านตันต่อปี
ส่วนนายรุ่งโรจน์ เอสีจี ได้กล่าวถึง นโยบาย 4Plus เพื่อมุ่งสู่แนวทาง ESG 4 Plus ได้แก่
ด้านศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า โมเลธุรกิจ BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มาก และ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ทั้ง 3 มิตินี้ต้องเร่งดำเนินการ ซึ่งทุกคนทุกองค์กรอยากทำและมีความเข้มแข็งอยู่แล้ว และ BCG โมเดล เป็นเรื่องของปัจจุบันและอนาคต ที่ภาครัฐมีความมุ่งในเรื่องต่างๆ ได้แก่ 1. มีการจัดตั้งคณะกรรมขับเคลื่อน BCG ระดับประเทศ ที่มีนายกฯ เป็นประธาน มีการซัพพอร์ตในเชิงนโยบายชัดเจน 2. มีการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ และการจัดการ รัฐบาล มีบีโอไอที่ช่วยสนับสนุนการลงทุนของทั้ง รายใหญ่ รายกลาง และรายย่อย 3.การสนับสนุนเชิงวิจัยและนวัตกรรม และ 4. การสนับสนุนกำลังคน
นายวราวุธ กล่าวอีกว่า สัญญาณเตือนจากโควิด-19 ทำใหการเดินหน้าจากทุกๆ ภาคส่วน ต้อง คำนึงถึง green road ถ้าไม่มีธรรมชาติมนุษย์อยู่ไม่ได้ ประเทศไทยต้องมุ่งสู่ Build forward Greener ปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การเดินหน้า BCG โมเดล แม่ต้นทุนที่จ่ายต้องเพิ่มขึ้น แต่ยังไงๆ เราก็ต้องจ่าย เพราะต้นทุนที่ได้มา กับการจัดการของเสียมันต่างกันเยอะ ท้ายที่สุด ถ้าเราไม่ลงทุนกับโลกใบนี้ มนุษย์จะต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาสิ่งเหล่านี้อย่างมหาศาล