ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมถึงด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศทไย (กนอ.) ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีภารกิจหลักด้านการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม และจัดให้มีบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่จำเป็นต่อการประกอบอุตสาหกรรม
รวมทั้งระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย จึงเป็นหนึ่งในหน่วยงานสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนแนวทางดังกล่าวให้ไปสู่เป้าหมาย
-มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่า การ กนอ. กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในหลายมิติ เช่น การส่งเสริมการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการจัดทำมาตรการหรือสิทธิประโยชน์เพื่อสนับ สนุนและสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ประกอบการ
ล่าสุด กนอ. ได้ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทยส่งเสริมการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในงานก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม Smart Park ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ และได้รับการรับรอง มอก. 2594
การดำเนินงานก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม Smart Park มีความจำเป็นต้องใช้คอนกรีตผสมเสร็จประมาณ 120,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณปูนซีเมนต์ประมาณ 40,000 ตัน โดยบริษัท เทิดไท แอนด์ โค จำกัด
ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ ได้ตอบรับนโยบายของ กนอ. ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์การก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาทั้งหมด โดยจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะก่อสร้างได้ถึงประมาณ 2,000,000 กิโลกรัม หรือ เท่ากับปลูกต้นไม้ได้ประมาณ 200,000 ต้น
-ใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการพลังงาน
นอกจากนี้ กนอ. จะส่งเสริมการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการพลังงานภายในนิคมอุตสาหกรรม Smart Park ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดทดแทนการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไฮโดรเจน และพลังงานชีวภาพ เป็นต้น
รวมถึงส่งเสริมระบบการขนส่งภายในโครงการที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดและปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ โดยคาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ในระยะดำเนินการได้ถึง 70% เมื่อเทียบกับนิคมอุตสาหกรรมที่พัฒนาบนพื้นฐานเดิม
อย่างไรก็ดี กนอ. จะดำเนินโครงการ Carbon Symbiosis โดยการปลูกป่าในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม Smart Park จำนวน 238 ไร่ เพื่อปลูกต้นไม้เป็นแนวกันชนเชิงนิเวศ รวมทั้งทำหน้าที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ โดยคาดว่าจะลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้มากกว่า 500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
“การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park ในพื้นที่มาบตาพุด ถูกพัฒนา ภายใต้แนวคิดนิคมอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน มุ่งเน้นความเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ลดการใช้พลังงานจากฟอสซิลจากการเผาเพื่อผลิตความร้อน และไม่อนุญาตให้มีปล่องระบายมลพิษทางอากาศ สอดคล้องกับมาตรการ Carrying Capacity ที่ไม่อนุญาตให้มีการระบายมลพิษทางอากาศเพิ่มเติมในพื้นที่มาบตาพุด รวมทั้งลดการปล่อยมลพิษทางการจราจรและขนส่ง”
-ต้นแบบอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
นายวีริศ กล่าวอีกว่า สมาร์ท ปาร์ค จะเป็นต้นแบบของนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะเชิงนิเวศ ที่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับศูนย์ โดยใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ในการดำเนินการทั้งหมด ตั้งแต่ระบบสาธารณูปโภค ที่นำสายไฟลงใต้ดิน มีการจ่ายไฟฟ้าด้วยระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart grid) รวมทั้งให้โรงงานติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กว่า 80% ของพื้นที่
และกำหนดให้ใช้ระบบขนส่งมวลชนไฟฟ้าในพื้นที่ ซึ่งจากการประเมินคาดว่าจะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 1,800 ตัน หรือเท่ากับการปลูกต้นไม้ได้ประมาณ 180,000 ต้น
“กนอ. อยู่ระหว่างศึกษาร่วมกับญี่ปุ่นถึงความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจนในนิคมสมาร์ท ปาร์ค คาดว่าภายใน 1-2 เดือนข้างหน้าจะสามารถกำหนดราคาเช่า/ขายพื้นที่ได้ อีกทั้ง กนอ. มีการพบปะนักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุนแล้วบางส่วน และพร้อมเดินหน้าจัดโรดโชว์ในต่างประเทศต่อเนื่องในประเทศที่เปิดรับนักท่องเที่ยวแล้ว เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน และประเทศในยุโรปที่สนใจย้ายฐานการผลิต เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ยาและวัคซีน ยานยนต์แห่งอนาคต โลจิสติกส์ และระบบอัตโนมัติ”
อย่างไรก็ตาม กนอ. ยังอยู่ระหว่างหารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ (BOI) เกี่ยวกับมาตรฐานสมาร์ต อินดัสตรี เอสเตต (Smart IE) เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาห กรรมเดิม ปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงงาน อาคารและกระบวนการผลิตสู่ความเป็นกลางทางคาร์ บอน คาดว่าบีโอไอจะนำเสนอสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้บอร์ดบีโอไอพิจารณาได้ในต้นเดือนมิถุนายนนี้
ขณะที่เดือนมิถุนายนนี้ กนอ. มีกำหนดการประชุมเรื่องการจัดการกากอุตสาหกรรมอันตรายและขยะพิษ ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และจะใช้โอกาสดังกล่าวนำเสนอสิทธิประโยชน์การลงทุนในประเทศไทย ตั้งเป้าหมายเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในไทยประมาณ 10 ราย
สำหรับนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์คนั้น อยู่ที่ ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง พื้นที่รวม 1,383.76 ไร่ มูลค่าการลงทุน 2,370 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนา ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และสังคม ตั้งแต่ระยะก่อสร้าง โดยมีการจ้างงานประมาณ 200 คน ทำให้มีเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้นในชุมชน ประมาณ 23,760,000 บาทต่อปี
ส่วนระยะดำเนินการ มีการจ้างงานประมาณ 7,459 คน ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ประมาณ 1,342,620,000 บาทต่อปี ทั้งยังมีการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง น้ำมันเชื้อเพลิงและอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนเงินในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นด้วย คาดจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 3 ปี และเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2567 ซึ่งปัจจุบันความก้าวหน้าของงานก่อสร้างโครงการสะสมเท่ากับ 7.66%
อนึ่ง ผู้ที่สนใจในธุรกิจสีเขียว สามารถติดตามทิศทางการลงทุน และทิศทางสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้ในงานสัมมนา TEA FORUM 2022 “Mission Possible: Energy Transition to theNext 2050” จัดโดยกระทรวงพลังงาน สถาบันวิทยาการพลังงาน พบกับ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “บทสรุปทิศทางของประเทศไทยสู่ Green Energy & Economy”
พร้อมเป้าหมายและความท้าทายจากประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันระดับโลก ใน Exclusive Interview H.E. Dr. Mohammed bin Hamad Al Rumhy, Minister of Energy and Minerals, Ministry of Energy and Minerals,
Sultanate of Oman
และแผนพลังงานชาติ สู่เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก ( Net Zero) จากนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในวันพุธที่ 8 มิถุนายน 2565 เวลา 12.30 เป็นต้นไป ณ ห้อง Synergy Hall ชั้น 6 อาคาร Enco C สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ www.thansettakij.com/seminar/teaforum2022