นายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าในขณะนี้มี 2 บริษัท ที่มีความไม่ชอบมาพากลในอุตสาหกรรมไข่ไก่ ก็คือ มีการผลิตพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (P.S.) ได้แล้วในเมืองไทย ซึ่งในขณะนี้กรมปศุสัตว์กำลังแกะรอยอยู่ เป็นอาจารย์ อยู่แถวราชบุรี ซึ่งตอนนี้กำลังขยายพันธุ์สัตว์ มีหลายคนกำลังไปดูงานในขณะนี้ และอีกแห่งหนึ่งที่บางเลน จังหวัดนครปฐม ไม่แน่ใจว่ามีขั้นตอนการผลิตอย่างไร กรมกำลังสอบสวนและตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อยู่ ซึ่งข้อเท็จจริงมีจริง แต่ไม่อยากเอ่ยชื่อ มาทำให้อาชีพผู้เลี้ยงไก่ปั่นป่วนไปหมด ทำอย่างนี้สมควร หรือ
อย่างไรก็ดี ต้องขอขอบคุณบรรดาเพื่อนพ้องน้องพี่จากสมาคมและสหกรณ์ต่างๆที่วันก่อนไปร้องเรียนกรรมาธิการสภาเรื่องไข่ถูกและเรื่องการประกาศราคาซึ่งได้แสดงออกของความรูสึกที่รับไม่ได้ของคนเลี้ยงซึ่งในสัปดาห์นี้คงมีความคืบหน้าออกมา และขออภัยเกษตรกรคนเลี้ยงไก่ไข่ทุกคนที่รอการประกาศราคาที่เป็นข้อยึดเหนี่ยวทั้งคนขายคนซื้อและสังคมที่เกี่ยวข้องที่รอมานานที่วันในวงการสหกรณ์ไก่ทั้ง 5 แห่งตกลงจะรวมตัวประกาศราคาแต่ขอ “ ชะลอ” ไว้ก่อนด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเรียนมาเพื่อทราบครับ
ด้านนายมงคล พิพัฒสัตยานุวงศ์ นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ส่งเลขที่ 009 / 2565 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2565 เรื่อง ขอทราบผลการพิจารณากรณีการประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม เรียน เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งข้นทางการค้า ได้มีหนังสือที่ สขค 0501/65ง มายังสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เพื่อขอให้ขี้แจงกรณีที่มีการร้องเรียนว่ามีพฤติกรรมร่วมกันในการกำหนดราคาไข่ไก่โดยการประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม ซึ่งสมาคมฯ ได้มีหนังสือที่001/2565 ลว. 14 มีนาคม 2565 ชี้แจงรายละเอียดต่างๆ กลับไป โดยมีรายละเอียดตามที่แจ้งแล้ว นั้น
สมาคมฯ ขอแจ้งสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เพิ่มเติม ดังนี้1) สถานการณ์ไข่ไก่ในปัจจุบัน ราคาปรับลดลงด้วยหลายปัจจัย โดยเกษตรกรรายย่อยจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดโดยเฉพาะจากกรณีที่สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ไม่มีการประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเหมือนในอดีตเพื่อใช้เป็นราคากลางอ้างอิงในการซื้อขาย
ทำให้มีผู้ค้าบางรายฉวยโอกาสใช้ช่องว่างนี้ต่อรองราคาซื้อขายไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม เกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีอำนาจในการต่อรองราคา จำเป็นต้องขายไข่ไก่ในราดาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต นับว่าเป็นการซ้ำเติมเกษตรกรให้ได้รับดวามเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น ในขณะที่แนวโน้มราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ก็ยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกษตรกรยังต้องมาถูกกดราคารับซื้อผลผลิตไข่ไก่อย่างไม่เป็นธรรมซ้ำเดิมเข้าไปอีก
ทั้งนี้สมาคมฯ ได้งดการประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2565 เป็นต้นมา
2) บางกรณีนโยบายหรือมาตรการของภาครัฐ ที่จะให้ผู้ประกอบการนำไปปฏิบัตินั้น ในสถานการณ์ความเป็นจริงกลับเป็นการสร้างปัญหาและอุปสรรคต่อระบบการค้าการตลาดเป็นอย่างมากเหมือนเป็นการซ้ำเติมโดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะราคาไข่ไก่ตกต่ำ เนื่องจากเจตนารมณ์ของการประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มขององค์กรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ต้องการให้มีราคากลางเพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไขใช้เป็นฐานราคาอ้างอิงกับผู้ค้าที่มารับซื้อไข่ไก่ที่หน้าฟาร์ม เพื่อป้องกันการรับซื้อไข่ไก่ในราคาที่ไม่เป็นธรรมไม่สมเหตุสมผล ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ค้าบางรายที่ฉวยโอกาสกดราคารับซื้อในยามที่ราคาไข่ไก่ตกต่ำ
3. ข้าราชการที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน ควรใช้หลักการทำงานแบบนิติศาสตร์คู่กับรัฐศาสตร์ ดังเช่น กระแสพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานไว้ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ความว่า "ถ้าเราจะปกครอง หรือช่วยให้บ้านเมืองมีความสงบสุขเรียบร้อย บางครั้งเราจะปฏิบัติตรงตามกฎหมายทั้งหมดไม่ได้ จะต้องคำนึงถึงหลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ไปพร้อม ๆ กันด้วย และต้องอยู่ด้วยความอะลุ่มอล่วย ไม่กคขี่ซึ่งกันและกัน... ข้าราชการพึ่งปฏิบัติต่อประชาชนโดยไม่มีอคติ ปราศจากเรื่องการเมืองใด ๆ ไม่ว่าจะโดยตรง หรือโดยอ้อม"
4) การประกอบธุรกิจไก่ไข่ในปัจจุบัน อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลภาพรวมด้านการผลิตด้านการตลาด การพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ทั้งระบบ ตลอดจนสนับสนุนให้องค์กรผู้เลี้ยงไก่ไข่ร่วมกันดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดความมีเสถียรภาพด้านราคาและเพื่อความเป็นเอกภาพร่วมกัน
โดยโครงสร้างของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ประกอบด้วย รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ประธานฯ มีคณะกรรมการจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่กรมปศุสัตว์ (ด้านการผลิต) กรมการค้าภายใน (ด้านการตลาด สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(ด้านต้นทุนการผลิต) ฯลฯ
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การประกอบธุรกิจไก่ไขในปัจจุบันอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการที่มีอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการฯ Egg Board ในแต่ละวาระ จะมีการพิจารณาถึงภาพรวมของสถานการณ์ไก่ไข่ในปัจจุบันทั้งด้านการผลิต ด้านการตลาด
เป็นที่น่าสังเกตุว่าทุกครั้งที่มีการประชุมคณะกรรมการฯ Egg Board ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนปี พ.ศ.2560 หรือภายหลังปี พ.ศ.2560 ที่ พ.ร.บ.การแข่งข้นทางการค้า พ.ศ.2560 มีผลบังคับใช้แล้ว อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย กลับไม่ได้มีการทักท้วงในที่ประชุมคณะกรรมการฯ Egg Board ว่าการประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มขององค์กรผู้เลี้ยงไก่ไข่ อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าฯ
ทั้งที่กรมการค้าภายในซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ย่อมต้องทราบดีเกี่ยวกับตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าในลักษณะต่างๆ ดังนั้น การที่อธิบดีกรมการค้าภายใน หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้มาร่วมประชุมคณะกรรมการฯ Egg Board ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย ไม่ตั้งข้อสังเกตุ
หรือทักท้วงให้ที่ประชุมได้ทราบถึงประเด็นนี้ อาจเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20.000 บาท ถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"หรือไม่
5) กรณีเมื่อมีผู้กล่าวหาหรือมีผู้ร้องเรียนกล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ว่ามีบุคคลหนึ่งบุคคลใดกระทำความผิด ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกร้องเรียนย่อมมีสิทธิ์ที่จะทราบข้อมูลหรือรายละเอียดของบุคคลหรือนิติบุคคลที่ร้องเรียน ว่าเป็นการร้องเรียนโดยเจตนาอันบริสุทธิ์หรือไม่ หรือเพื่อกลั่นแกล้งร้องเรียนเพราะตนเองนั้นคือผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจไข่ไก่ หรือมีวัตถุประสงค์อื่นใดแอบแฝงหรือไม่ ซึ่งการร้องเรียนกล่าวโทษเป็นการกระทำก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกร้องเรียน การกระทำเช่นนี้มีเจตนาจะให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกร้องเรียนเป็นผู้กระทำความผิดต้องได้รับโทษ และทำให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกร้องเรียนได้รับความเสียหายต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง
สมาคมฯ ในฐานะผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกร้องเรียน ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงในกรณีนี้ อาจมีการใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย มาตรา 175 " ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท " และ มาตรา 326 "ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" ทั้งนี้ หากบุคคล หรือนิติบุคคลใด เข้าข่ายองค์กรประกอบใน 2 มาตรานี้
สมาคมฯอาจพิจารณาเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปท้ายสุดนี้ สมาคมฯ ขอทราบผลการพิจารณากรณีการประกาศราดาแนะนำไขไก่คละหน้าฟาร์ม ว่าสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า มีข้อสรุปเช่นไร เพื่อที่สมาคมฯ จะได้แจ้งให้สมาชิก และองค์กรผู้เลี้ยงไก่ไข่ต่างๆ ได้รับทราบต่อไป