ส่อง 10 อันดับบริษัทรับงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมากสุด

30 มิ.ย. 2565 | 07:45 น.
อัปเดตล่าสุด :30 มิ.ย. 2565 | 14:56 น.

Creden Data เปิดข้อมูล 10 อันดับบริษัทที่รับงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมากที่สุด เมื่อจัดอันดับตามมูลค่าโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 - 25 มิ.ย. 2565

ในแต่ละปีรัฐบาลได้มีการกําหนดนโยบายที่หน่วยงานภาครัฐต้องมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการต่าง ๆ ตามที่ได้เสนอแผนไว้กับรัฐบาลและรัฐสภา ซึ่งหลายบริษัทก็ได้มีการขึ้นทะเบียนจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เนื่องด้วยหน่วยงานภาครัฐเป็นตลาดที่ใหญ่และมีกำลังซื้อสูง การเข้าถึงตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐจึงเป็นอีกหนึ่งตลาดที่จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

ส่อง 10 อันดับบริษัทรับงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมากสุด

 

 

วันนี้ Creden Data จะพามาดู 10 อันดับบริษัทรับงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมากที่สุด เมื่อจัดอันดับตามมูลค่าโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 - 25 มิ.ย. 2565

 

1.ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด

มูลค่า 127,303 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจ (TSIC)

: การขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์

 

2. ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด

มูลค่า 122,850 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจ (TSIC)

: การขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์

 

3.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

มูลค่า 96,034 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจ (TSIC)

: การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคสิ่งอำนวยความสะดวก (ยกเว้นตัวอาคารของโรงงานอุตสาหกรรม) และโครงการวิศวกรรมโยธาอื่นๆที่เกี่ยวข้องในน้ำ

 

4.ปตท. จำกัด (มหาชน)

มูลค่า 88,877 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจ (TSIC)

: การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่นปิโตรเลียม

 

5.เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)

มูลค่า 23,822 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจ (TSIC)

: การก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย

 

6.ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)

มูลค่า 21,214 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจ (TSIC)

: การก่อสร้างถนนสะพานและอุโมงค์

 

7.เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)

มูลค่า 20,093 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจ (TSIC)

: การติดตั้งไฟฟ้า

 

8.สี่แสงการโยธา(1979) จำกัด

มูลค่า 14,987 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจ (TSIC)

: การก่อสร้างถนนสะพานและอุโมงค์

 

9.โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)

มูลค่า 10,537 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจ (TSIC)

: กิจกรรมการโทรคมนาคมด้านอื่นๆ

 

10.ไทย เอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด

มูลค่า 10,327 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจ (TSIC)

: การก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย

.

หากพิจารณาตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีการเติบโตขึ้น ตามข้อมูลของกรมบัญชีกลาง ปี 2562 มีมูลค่า 1.098 ล้านล้านบาท ปี 2563 มีมูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท แต่ในปี 2564 ทางภาครัฐได้มีการใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding) ให้ผู้ประกอบการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวด มีการแข่งขันอย่างเท่าเทียม ซึ่งวิธีการนี้ส่งผลให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณไปกว่า 7.8 หมื่นล้านบาท  โดยงบประมาณในปี 2564 นั้นมีมูลค่าอยู่ที่ 9 แสนล้านบาท

.

ตลาดภาครัฐเป็นตลาดที่เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการเข้ามาเป็นคู่ค้า ส่งผลให้บริษัทได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้น ทั้งนี้ จากสถิติการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐพบว่า สินค้าที่ภาครัฐนิยมซื้อในลำดับต้น ๆ ได้แก่ อุปกรณ์การแพทย์  ปิโตรเลียม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารและโทรคมนาคม บริการด้านการก่อสร้างและบำรุงรักษาอาคาร งานเหมาบริการต่าง ๆ