นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าถึงเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนว่า เงินเฟ้อเดือนนี้ถือว่าสูงที่ระดับ 7.66% เป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่สูงที่สุดในรอบปีนี้ และทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปี มาตั้งแต่เดือนก.พ.2565 ที่เพิ่มขึ้น 5.28% มี.ค.2565 เพิ่ม 5.73% เม.ย.2565 ชะลอตัวลง แต่ยังเพิ่ม 4.65% และ พ.ค.2565 เพิ่ม 7.1% ดังนั้นมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมองว่า ครึ่งปีหลังเงินเฟ้อน่าจะยังมีทิศทางที่สูงขึ้น เฉลี่ย 5% ซึ่งไตรมาส3 มองว่าเงินเฟ้อจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่7.6% แต่ทั้งนี้เงินเฟ้อควรอยู่ในกรอบ7-8.5%
เนื่องจากว่าราคาน้ำมันยังคงมีระดับราคาที่สูงและราคาสินค้ายังคงปรับราคาขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเพดานเงินเฟ้อของไตมาส3 ไม่ควรเกิน8.5% และในไตรมาส4 เชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆน่าจะคลี่คลาย โดยมองว่าเงินเฟ้อไตรมาส4จะอยู่ประมาณ5.5-6.5% และครึ่งปีหลังน่าจะอยู่ที่6.7% และทั้งปีโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่6.2% ซึ่งประชาชนน่าจะเริ่มชินกับสถานการณ์ราคาสินค้าได้ระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ทำผลสำรวจดัชนีภาวะค่าครองชีพ เดือนมิถุนายน พบว่า ดัชนีค่าครองชีพในปัจจุบันปรับตัวดีขึ้นเป็นคร้ังแรกในรอบ 6เดือน มาอยู่ที่ ระดับ 8.0 แต่ทั้งนี้ประชาชนยังรู้สึกว่าค่าครองชีพยังสูงกว่าระดับปกติ (ระดับปกติจะมีค่าดัชนีที่ ระดับ 100)และการเพิ่มขึ้นของรายได้ยังไม่เหมาะสมกับค่าครองชีพในปัจจุบันเท่าที่ควร กลุ่มตัวอย่างมองว่าปัจจุบันภาวะค่าครองชีพอยู่ในระดับดี (เหมาะสม)มีเพียง1.1% เท่านั้น ส่วนปานกลาง มีเพียง5.8% และแย่ (ไม่เหมาะสม) สูงถึง 93.1.0% เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ที่ดัชนีภาวะค่าครองชีพในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 6.1
สำหรับในช่วง 3 เดือนข้างหน้า กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในอนาคตภาวะค่าครองชีพ ยังอยู่ในระดับแย่ถึง85.6% อยู่ในระดับดี (เหมาะสม) เพียง1.1% และปานกลาง 13.3% ส่งผลให้ ดัชนีค่าครองชีพในอนาคตปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 15.5ซึ่งปรับตัวดีขึ้นเป็นคร้ังแรกในรอบ 6เดือนเทียบกับเดือนที่ผ่านมาที่ดัชนีมีค่าอยู่ที่ระดับ 14.3
อย่างไรก็ตาม การที่ดัชนีภาวะค่าครองชีพในอนาคตยังมีค่าต่ำกว่าระดับปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภครู้สึกว่า ค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูงในอนาคตและอาจบั่นทอนอำนาจการซื้อในอนาคต