นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวบนเวทีสัมมนา NEW ENERGY แผนพลังงานชาติ สู่ความยั่งยืน ในหัวข้อ “แผนพลังงานชาติ สู่สังคมคาร์บอนต่ำ” ที่ "ฐานเศรษฐกิจ" จัดขึ้น โดยกล่าวว่า ในยุคการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาดทดแทนพลังงานฟอสซิล ที่ถูกควบคุมด้วย Carbon Emission ที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน ที่ทำให้เราต้องควบคุมอุณหภูมิต่างๆ ไว้
ไทย ปล่อยคาร์บอนประมาณปีละ 300 ล้านตัน 64% มาจากภาคพลังงานและภาคขนส่ง ที่มีการใช้พลังงานฟอสซิล ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภาคพลังงาน 36% ในการผลิตไฟฟ้า ภาคขนส่ง 28% ในเรื่องการใช้รถสันดาปที่ใช้น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล ภาคพลังงงานในเรื่องการผลิตไฟฟ้านั้น ในประเทศไทย ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ ตอนนี้ 70% มาจากก๊าซธรรมชาติในอ่าว 16% มาจากถ่านหิน และอีก 2% มาจากน้ำมันเตา
11% มาจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ที่สามารถลดภาวะโลกร้อนหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในส่วนนี้ จะต้องมีการควบคุมตรงนี้ เพื่อให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นๆ เพราะถ้าไม่มีมาตรการเร่งรัด การจะปรับเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน จาก 11% ให้ขยับขึ้นอาจต้องใช้เวลาอีก 20-30 ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้น การที่เราจะสู่ความเป็นกลางทางคาร์ฺบอน หรือสังคมคาร์บอนต่ำ ในปี 2065 ต้องเร่งและจัดทำแผนต่างๆ
เดิมกระทรววงพลังงานจัดทำแผนไว้ 5 แผน คือ แผนพลังงานไฟฟ้า PDP (Thailand Power. Development Plan : PDP) เป็นหลักสำคัญ แล้วก็มีแผนย่อยมาอีก เช่น แผนน้ำมัน แผนก๊าซ แผนอนุรักษ์และพัฒนาพลังงานทดแทน และแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า เป็นงานที่แต่ละหน่วยงานต่างคนต่างทำ เมื่อนำมาประกอบร่างและเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 21 ตุลาคม 2563 ครม. ได้มีมติให้นำแผนทั้งหมดมาบูรณาการใหม่ ทำให้ออกมาเป็นกรอบการดำเนินงานที่เป็นนโยบายที่มีทิศทางชัดเจน ในการกำหนดทิศทางของพลังงานเดินไปข้างหน้าได้อย่างเป็นยูนิตี้ ซึ่งแผนพลังงานชาตินี้ ทำโดยการดูทิศทางและสถานการณ์พลังงานโลก และสถานการณ์พลังงานไทย มารวมกับแผนพลังงานชาติ
ทิศทางของพลังงานโลก ในอีก 10 ปีต่อจากนี้ น้ำมันและก๊าซที่เป็นพลังงานฟอสซิล ยังถือเป็นพลังงานหลัก โดยที่ไฟฟ้ากับไฮโดรเจน จะเป็นพระเอก และไฟฟ้า ที่ได้จะต้องผลิตจากแหล่งพลังงานสะอาดเท่านั้น ขณะเดียวกัน ต้นทุนด้านพลังงาน ในเรื่องโซล่า ไบโอแมส เปรียบเทียบต้นทุนถูกลงอย่างมีนัยยะสำคัญ สัดส่วนการผลิตไฟฟ้า จากทั่วโลก แบ่งกันไปตามแหล่งเชื้อเพลิง พลังงานที่เป็นไฮโดรเจน จะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น
ประเทศต่างๆ มีการกำหนดนโยบาย เช่นเดียวกับแผนพลังงานชาติของไทย มีการใส่เงินเข้าไป เพื่อพัฒนาพลังงานสะอาด ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่น ใช้เงินถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในการทำกลยุทธ์การขับเคลื่อนสู่พลังงานสีเขียว และยังร่วมกับประเทศต่างๆ ในการพัฒนาเรื่องพลังงานสะอาด ซึ่งโดยหลักการแล้ว การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะทำไม่ได้ หากไม่มีการร่วมมือกันของประเทศต่างๆ
สรุปแนวโน้มพลังงานในอนาคต
สำหรับประเทศไทย ในปี 2030 มีเป้าหมายจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จาก 233 ล้านตัน ให้เหลือ 216 ล้านตัน ซึ่งมีการเตรียมความร่วมมือกันในส่วนต่างๆ ทั้ง CCUS ปตท. ก็ร่วมกับการทำก๊าซในอ่าว แหล่งอาทิตย์ แหล่งการกักเก็บคาร์บอน และบนบก แหล่งก๊าซสินภูฮ่อม ก็มีการทดลองกักเก็บก๊าซ โรงไฟฟ้าน้ำพอง ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซ ก็เริ่มดำเนินการ CCUS ด้วย
เรื่องของกรีนไฮโดรเจน กฟผ. ได้ดำเนินการอยู่ที่ศูนย์เรียนรู้ ที่ลำตะคอง โดยการใช้พลังงานลม แต่มีขนาดเล็กมาก จำเป็นต้องมีการขยายตรงนี้ขึ้นมา ถ้าเราได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ซึ่งเราก็คุยกันในระดับทวิภาคี เขาจะส่งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และการส่งเสริมด้านการเงิน
นอกจากนี้ เอ็กโก กรุ๊ป และบริษัท เจร่า จำกัด ยังได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) การร่วมศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจการจัดหาเชื้อเพลิง LNG ตั้งแต่การศึกษาตลาด การวางแผนกลยุทธ์ การเข้าร่วมประมูล ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ และยังมีวัตถุประสงค์ในการขยายโอกาสการใช้ไฮโดรเจนและแอมโมเนีย ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างการเผาไหม้ เพื่อเป็นพลังงานทางเลือกในอนาคตสำหรับการผลิตไฟฟ้า
"เราจะเริ่มดำเนินการในหลายๆ เรื่อง เรื่องไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ในแผน PDP เรากำหนด ไว้ 1 หมื่นเมกะวัตต์ ประมาณ 6,000 เมกะวัตต์ มาจากโซล่า 3,000 มกะวัตต์ มาจากโซล่าฟาร์ม และโซล่ารูฟท็อป และ 2,700-2,800 เมกะวัตต์ มาจาก floating solar ตามเขื่อนต่างๆ ที่ดำเนินการแล้ว คือ เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนสิรินทร และจะขยายต่อไปอีก ชีวมวล ชีวภาพ ที่เป็นโรงไฟฟ้าชุมชนอีก 800 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าขยะ ขยะชุมชน 400 เมกะวัตต์ ขยะอุตสาหกรรมอีก 200 เมกะวัตต์ และจะนำไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำของ สปป.ลาวเข้ามาอีก 2,000 เมกะวัตต์" นายกุลิศกล่าว
อย่างไรก็ตาม จากเป้าหมายดังกล่าว หากดูจากศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกจากภาค Energy ในปี ค.ศ.2030 ในปี ค.ศ. 2020 ภาคพลังงานสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ที่ระดับ 56.47 MtCO2 คิดเป็น 15.38% ดังนั้น เพื่อให้บรรลุตาม NDC ฉบับใหม่ ภาคพลังงานต้องเพิ่มการลดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 160 MtCO2 ภายในปี ค.ศ. 2030
ส่วนกรอบแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy plan : NEP)