นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” สมาคม จับมือกับ ปตท. เพื่อจะขายคาร์บอนเครดิตในสวนยางของ 3 จังหวัดใน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ถ้ารัฐใจปั้มใครมาลทุนในเขต EEC รัฐซื้อคาร์บอนให้ดีกว่าลดหย่อนภาษีบุคคล 13 ปีเสียอีก
ล่าสุดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีการประชุมหารือกัน ระหว่างสมาคมและ บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด หรือ “ VARUNA” ,สภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เพื่อหาข้อสรุปแล้วนำไปสู่ภาคปฏิบัติต่อไปจึงถือเป็นข่าวที่ดีของเกษตรกรชาวสวนยางที่เดือดร้อนในเรื่องของราคายางอยู่เวัดระยองใด้ผลแล้ว
“จังหวัดระยอง” เป็นจังหวัดต้นแบบของสวนยางเกษตรกรเพื่อเป็น โมเดลตัวอย่างขยายไปยังสวนยางจังหวัดอื่นๆอีกทั่วประเทศในการขายคาร์บอนเครดิตซึ่งจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติซึ่งมีฯพณฯนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและให้ความสำคัญในเรื่องนี้เพราะเหตุว่าพื้นที่สวนยางประเทศไทยซึ่งมีอยู่ 30 ล้านไร่ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเก็บกักคาร์บอนเครดิต จำนวน 51,340 ล้านตัน คิดรายใด้ให้เกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศเป็นเงิน 49,190 ล้านบาท/ปี
นายอุทัย กล่าวว่า จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งของเกษตรกรชาวสวนยางที่อยู่ในสภาวะเช่นนี้มาหลายปีแล้วแต่ไม่เคยมีใครมาแก้ปัญหาให้ซึ่งในสภาวะข้าวยากหมากแพงไม่เห็นมีใครช่วยเขาใด้นอกจากจะพึ่งพาตนเองเท่านั้นเพราะในสภาวะปัจจุบันดังนั้นรัฐบาลจึงควรสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางหันมาขายคาร์บอนเครดิตที่เขามีอยู่ตามธรรมชาติในสวนยางทุกแปลงอยู่แล้วเพียงแต่รัฐบาลจะต้องให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหันมาเอาใจใส่ให้มากก่วาที่เป็นอยู่เพราะเขามีหน้าที่ๆจะต้องให้ความรู้ร่วมมือสนับสนุนเพราะเป็นที่ทราบกันทั่วโลกว่าก๊าซเรือนกระจกมีความสำคัญในการรักษาระดับอุณหภูมิโลกหากมีก๊าซเรือนกระจกมากเกินไปจะทำให้อุณภูมิของโลกสูงขึ้น
"นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำแข็งละลายและระดับน้ำทะเลสูงขึ้นความกดดันอากาศแปรปรวนก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งน้ำท่วมแผ่นดินไหวที่รุนแรงก๊าซที่จะให้เกิดภาวะเรือนกระจกที่รู้จักกันดีก็คือคาร์บอนหรือคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ดังนั้นการลดคาร์บอนจึงมีส่วนสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก"
อย่างไรก็ดี มองว่า ในอนาคตคาร์บอนเครดิตจะสร้างโอกาศและทำรายใด้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางอย่างมั่นคงยั่งยืนแน่นอนเพราะเหตุว่าอีกไม่นานสหภาพยุโรป(EU)ใด้มีมาตรกาเก็บภาษีเพิ่มสำหรับสินค้านำเข้าที่ไม่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขบวนการผลิตหากประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ซึ่งรัฐบาลเชิญนักลงทุนชาวต่างชาติมาลงทุนถ้ามีมาตราการรองรับโดยในเขตEECน่าจะนำเครบอนเครดิตในสวนยางเป็นโปรโมชั่นให้นักลงทุนสัก 5 ปีก็จะคุ้มกับในการที่เขามาลงทุนก็จะเป็นแต้มต่อต่างจากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำให้นักลงทุนมาลงทุนในเมืองไทยมากขึ้น