หลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ได้เข้าทดสอบใน Regulatory Sandbox ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สำหรับบริการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล(e-KYC) ข้ามหน่วยงานผ่านแพลตฟอร์ม เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี (National Digital ID หรือ NDID) เพื่อเปิดบัญชีเงินฝากเป็นบริการแรกตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อรองรับการใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
วันนี้(9 พ.ย.)ธปท.ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ได้ขยายการทดสอบ e-KYC ผ่าน NDID ไปสู่บริการในภาคตลาดทุน ประกันภัย และการขอข้อมูลเครดิต ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์หรือบัญชีกองทุน ซื้อกรมธรรม์ประกันภัย และขอข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB) ผ่านช่องทางดิจิทัล เช่น เว็บไซต์หรือโมบายแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการ
โดยใช้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนจากธนาคารที่ตนเองเคยเปิดบัญชีเงินฝากและถ่ายรูปโดยใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ไว้แล้ว ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ลดการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน และปลอดภัยในการใช้บริการ โดยลูกค้าไม่ต้องเดินทางมาแสดงตัวตนที่สาขาหรือสถานที่ทำการของผู้ให้บริการ
นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.ได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ 5 แห่งคือ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน)
ขยายขอบเขตทดสอบให้บริการ e-KYC กับลูกค้าที่ขอใช้บริการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เปิดบัญชีกองทุน ซื้อกรมธรรม์ประกันภัย และขอข้อมูลเครดิตจาก NCB ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกันภัย และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อที่เข้าทดสอบระยะแรก รวม 17 แห่ง
นายอธิป ศิลป์พจีการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารธุรกิจกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซสกล่าวว่า ภายในวันที่ 12 พ.ย.นี้ บริษัทจะเปิดสมัครยื่นขอสินเชื่อออนไลน์ (Digital Lending) ผ่าน NDID บนแอปพลิเคชั่น UCHOOSE โดยเป้าหมายในการทดสอบช่วงแรกคาดว่าในช่วง2-3เดือนแรกจะมียอดอนุมัติราว2,000-3,000บาทจากยอดสมัครสินเชื่อประมาณ 5,000-6,000 รายต่อเดือน แต่เบื้องต้นบริษัทเน้นทดสอบระบบให้มีความเสถียร โดยเฉพาะพยายายามจะให้ความรู้ผ่านบริการ NDID กับประชาชนมากกว่าจะมุ่งเป้าที่สินเชื่อ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดีแทค ชวนลงทะเบียน e-KYC มุ่งสู่ธุรกรรมดิจิทัล
ลุ้นเคาะค่าต๋งe-KYC ครั้งละ 150-200 บาท
เคาะค่าบริการ NDID เชื่อมนิติบุคคล