เปิดทางตั้ง NDID เพิ่ม หวังฉุดค่าต๋งลง

18 พ.ย. 2563 | 01:30 น.
อัปเดตล่าสุด :18 พ.ย. 2563 | 08:39 น.

รัฐเล็งตั้ง NDID มากกว่า 1 บริษัท หนุนให้แข่งขันเสรี เพิ่มคนใช้บริการบนโลกดิจิทัล หวังดึงค่าธรรมเนียมลง จากปัจจุบันคิดตาม 3 ระดับความเสี่ยง ย้ำไม่กระทบประชาชนรายย่อย

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)อนุญาตให้ ธนาคารพาณิชย์ 5 แห่งคือธนาคารกรุงศรีอยุธยา ไทยพาณิชย์ กรุงเทพ กสิกรไทยและ ทหารไทยในฐานะผู้ให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (e-KYC)ผ่านแพลตฟอร์มของบริษัท เนชั่นแนล ดิจิทัล ไอดี จำกัด หรือ NDID (IDP) ขยายทดสอบไปยังภาคตลาดทุน การประกันชีวิต และผู้ประกอบการด้านสินเชื่อรวม 17 แห่งเช่น การเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ บัญชีกองทุน หรือกรมธรรม์ และและการขอข้อมูลเครดิตเพื่อบริการสินเชื่อออนไลน์จากข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(เครดิตบูโร) ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตการยืนยัตตัวตนทางดิจิทัลข้ามอุตสาหกรรม

 

จากก่อนหน้าที่ธนาคารพาณิชย์ได้ทดสอบใน Regulatory Sandbox ของธปท.ในการบริการยืนยันตัวตนทางดิจิทัลข้ามหน่วยงาน เพื่อเปิดบัญชีเงินฝาก ซึ่งผลทดสอบความคืบหน้าและมีประชนชนลงทะเบียนกว่า 10 ล้านคนคาดว่า อนาคตจะมีคนเปิดบัญชีประมาณ 50%จากบัญชีเงินฝากทั้งระบบที่มีอยู่กว่า 80 ล้านบัญชี

 

นายศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษา สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(สพธอ.)หรือ ETDA ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลผู้ให้บริการ e-KYC  โดยร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ จัดทำแนวทางการกำกับดูแลและจัดตั้ง Digital Services Sandbox รองรับการทดสอบธุรกรรมทาง อิเล็คทรอนิกส์และบริการ e-KYC ซึ่งภายใต้ร่างพระราชกฤษฎีกาควบคุมดูแลธุรกิจบริการระบบการพิสูจน์และการยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ต้องได้รับอนุญาต(National Digital ID:NDID) ซึ่งจะต้องมีการกำกับผู้ให้บริการเกี่ยวกับ NDID ดังนั้นต่อไปการประกอบกิจการดิจิทัลไอดี ต้องได้รับอนุญาตตามหลักเกณฑ์ 

 

เปิดทางตั้ง NDID เพิ่ม หวังฉุดค่าต๋งลง

 

“สพธอ.พร้อมจะสนับสนุนให้จัดตั้งแพลตฟอร์ม NDID มากกว่า 1 ราย เพื่อให้เกิดการแข่งขัน โดยหากมีผู้สนใจสามารถจะพิจารณาให้จัดตั้ง NDID ได้แต่ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ข้อหนด”

เปิดทางตั้ง NDID เพิ่ม หวังฉุดค่าต๋งลง

นายอธิป ศิลป์พจีการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารธุรกิจ กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซสกล่าวว่า การทำธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์ม NDID แม้จะลดต้นทุนการเดินทาง การจัดเตรียมเอกสารหรือค่าโทรศัพท์สอบถามลง แต่ก็จะมีต้นทุนบริการยืนยันตัวตนขึ้นมาแทน แต่หากต่อไป ETDA เปิดให้มี NDID มากว่า 1 ราย ก็จะเป็นกลไกตลาด ทำให้เกิดการแข่งขันและดึงต้นทุนค่าใช้จ่ายลง เพราะหากมีแพลตฟอร์ม NDID เพียงรายเดียว ราคาก็อาจจะกำหนดเป็นเจ้าเดียว แต่ตอนนี้ ราคาหรือค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน หลายธนาคารยังดูท่าทีกันอยู่และมีระดับของการยืนยันข้อมูล รวมถึงกลยุทธ์ในการแข่งขัน

เปิดทางตั้ง NDID เพิ่ม หวังฉุดค่าต๋งลง

“เราคาดหวังว่า การไปอยู่บนโลกดิจิทัลจะต้องราคาถูกกว่าการทำธุรกรรมปกติ เพราะสุดท้ายจะสะท้อนไปที่สิ่งที่ให้กับลูกค้าจะได้ต้นทุนทางการเงินที่ลดลง ที่สำคัญการมีข้อมูลที่เพียงพอ ก็จะไปได้เร็ว แต่ต้องยอมรับว่าตอนนี้ แม้ระบบโดยรวมจะมีความพร้อม แต่ถ้าเดินสายต่างจังหวัดจะพบว่า ตลาดไม่พร้อม ซึ่งในทางปฎิบัติต้องมีความพร้อมด้วยทั้งคนรับและคนใช้ ดังนั้นเราจึงมุ่งเน้นทำความเข้าใจกับลูกค้าเป็นหลัก”

 

ด้านนายบุญสันต์ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนชั่นแนล ดิจิทัล ไอดีกล่าวว่า การคิดค่าธรรมเนียมขึ้นกับระดับความเสี่ยงของธุรกรรมในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ระดับคือ IAL2.1 มีขั้นตอนไม่มาก เพียงเสียบบัตรประชาชนกับเครื่องเสียบบัตรและดูดข้อมูลจากบัตรประชาชน ,ส่วนระดับกลางคือ IAL2.2 ต้องถ่ายรูปเก็บไว้และตรวจสอบออนไลน์ว่า บัตรประชาชนยังมีรายละเอียดครบ ไม่สูญหายหรือบัตรยังไม่หมดอายุ และระดับสูงสุดคือ IAL2.3 ต้องเสียบบัตรประชาชนกับเครื่องเสียบบัตรและถ่ายรูปเปรียบเทียบใบหน้า(เทคโนโลยี ไบโอเมตริก)

เปิดทางตั้ง NDID เพิ่ม หวังฉุดค่าต๋งลง

“เรื่องค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมพิสูจน์และยืนยันตัวตนนั้น ขอยํ้าว่า ประชาชนไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ในส่วนของแบงก์รอตกลงกันก่อน โดยหน่วยงานผู้ขอให้พิสูจน์และยืนยันตัวตนหรือ RP จ่ายให้กับ IDP ซึ่งหน่วยงานผู้กำกับจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานแต่ละระดับออกมา ตอนนี้การเปิดบัญชีเป็นธุรกรรมที่สำคัญที่สุด เป็นประตูทางเข้า ซึ่งการเปิดบัญชีทั้งหมดใช้ระดับ IAL2.3 โดยระบบมีความเสถียรแล้ว เพียงแต่ตัวบุคคลยังไม่ได้ไปทำ”

 

อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียม 3 ระดับดังกล่าว ปัจจุบันคิดราคาต่อครั้ง ตั้งแต่หลักสิบถึง 200 บาท(ระดับสูงสุดคือ IAL2.3) 

 

นางสุธีรา ศรีไพบูลย์ รักษาการประธานกรรมการ บริษัท เนชั่นแนล ดิจิทัล ไอดี จำกัดกล่าวว่า การเปิดบัญชีเงินฝากข้ามหน่วยงานที่ผ่านมา ผลตอบรับดีและประสบความสำเร็จมากกว่า 70% ที่เหลือยังติดหลายเรื่องทั้งการสื่อสารและความหนาแน่นเวลามีปริมาณการใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก ทำให้ต้องนำมาปรับปรุงบ้าง โดยขณะนี้ระบบมีความเสถียรมากขึ้น แต่ต่อไปแต่ละองค์กรจะมีแซนด์บ็อกซ์ของตัวเอง(owner Sandbox) และแนวโน้มจะพัฒนาเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ผู้นำเทคโนโลยีต่างๆเริ่มใช้เสียงในการสั่ง ในแง่ผู้ให้บริการ NDID สิ่งสำคัญที่สุดจะต้องยกระดับมาตรฐานเป็น IAL2.3 ตามที่ธปท.กำหนด 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

เคาะค่าบริการ NDID เชื่อมนิติบุคคล

ประกันภัยลงขันเพิ่ม 20 ล้าน ดันใช้ NDID ต้นปี 63

สินเชื่อออนไลน์เดือด แบงก์ต่อยอดสแกนหน้ารู้ตัวตนปล่อยกู้

เอสซีบี อบาคัส แนะ “เงินทันเด้อ”สินเชื่อออนไลน์ตอบโจธุรกิจรายย่อย

หน้า 13 หนังสือฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,627 วันที่ 15 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563