โควิดรอบใหม่ฉุดประมาณการจีดีพี 0.3%ยันเพดานหนี้ไม่เป็นประเด็น

14 ก.ค. 2564 | 05:23 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ก.ค. 2564 | 12:44 น.

กรุงไทยประเมินโควิดรอบใหม่ฉุดจีดีพี 0.3%เหตุกระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หวังรัฐออกมาตรการหนุนเศรษฐกิจฟื้นไตรมาส 4 ย้ำเพดานหนี้สาธารณะเกิน60%ของจีดีพีไม่น่ากังวล

โควิดรอบใหม่ฉุดประมาณการจีดีพี 0.3%ยันเพดานหนี้ไม่เป็นประเด็น

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทยกล่าวว่า มุมมองต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ปีนี้กรุงไทยคาดไว้ที่ระดับ  0.8-1.6%  ผ่านมาสองเดือนตัวเลขผู้ติดเชื้อและความรุนแรงของการระบาดโควิดเพิ่มขึ้น สำหรับรอบนี้ผลกระทบอย่างต่ำประมาณเดือนกันยายนจากเดิมเดิมควกว่าจะควบคุมโควิดได้เดือนสิงหาคม โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวในเดือนตุลาคม ทำให้ประมาณการจีดีพีปีนี้เหลือโต 0.5-1.3%  ภายใต้เงื่อนไขสามารถควบคุมสถานการณ์ในเดือนสิงหาคม และเริ่มเห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาในเดือนตุลาคม 2564

ทั้งนี้ผลกระทบจากการระบาดของโควิดรอบนี้ทำให้คาดการณ์จีดีพีหายไป 0.3%เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งภาคบริการยังไม่กลับมา  เนื่องจากงดการเดินทาง  ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาลง ทำให้มาตรการการที่มีอยู่จึงไม่เพียงพอ (คนละครึ่ง – ยิ่งใช้ยิ่งได้)  รวมถึงมาตรการเราเที่ยวด้วยกัน โดยประเมินว่าไตรมาส 4 ภาครัฐจะออกมาตรการเยียวยาเพิ่มตามที่ภาคเอกชนเสนอ เช่น เพิ่มวงเงินคนละครึ่งเป็น 6,000บาทจาก 3,000บาทโดยเฉพาะเมื่อสามารถควบคุมสถานการได้ในเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม กรุงไทยมองว่ามาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนสำหรับพื้นที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกึ่งล็อคดาวน์นั้นเป็นมาตรการถูกต้องแล้ว แต่คาดหวังว่าเมื่อสถานการณ์ดีขึ้นจะมีมาตรการเชิงวงกว้างออกมาในไตรมาสที่ 4

 

“คาดว่าควบคุมสถานการณ์โควิดได้ในเดือนก.ย. และเริ่มเห็นเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวในเดือนต.ค. และคาดหวังว่ารัฐบาลจะออกมาตรการในไตรมาส4 เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจเดินได้โดยสนับสนุนประชาชนในการจับจ่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพจากมาตรการที่มีอยู่และทำให้เศรษฐกิจกลับมาอย่างเห็นได้ชัดในเดือนต.ค. และถ้าควบคุมโควิดจบในสิ้นปีนี้มีโอกาสที่จะเห็นจีดีพีปีหน้าอยู่ที่ 3.6-4%”

สำหรับแนวโน้มฐานะทางการคลังของไทยนั้น เนื่องจากสถานการณ์ผลกระทบจากการระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น ดังนั้น ระดับหนี้สาธารณะของไทย ไม่น่ากังวงวล  และระดับเพดานหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของไทยอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศในระดับเดียวกันและต่ำกว่าบางบางประเทศที่พัฒนาแล้ว   อย่างไรก็ตามในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์  โดยเฉพาะในสหรัฐและยุโรปปัจจุบันให้ความสำคัญน้อยลงต่อเพดานหนี้สาธารณะต่อจีดีพี  เห็นได้จากสหรัฐมีการกู้เงินเพิ่มอย่างมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งในยุโรป  เพียงแต่กฎหมายกำหนดเพดานหนี้สาธารณะไม่ควรเกิน 60%ของจีดีพีสำหรับประเทศไทยนั้น เป็นการสะท้อนถึงการบริหารจัดการระดับหนี้   ดังนั้น เมื่อประเทศไทยมีความจำเป็นด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน จึงต้องใช้มาตรการทางการคลังเพื่อให้ภาครัฐเข้ามาช่วยพยุงเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งนักลงทุนเข้าใจถึงความจำเป็นอยู่แล้ว  ที่สำคัญภาครัฐต้องมีแผนบริหารจัดการหนี้สาธารณะระยะยาว 3-5ปีเพื่อชี้แจงนักลงทุนในระยะยาวให้ชัดเจน