นางนันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัดเปิดเผยว่า เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวมากที่สุดในโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจยังสามารถเติบโตได้อีกมาก โดยรัฐบาลตั้งเป้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณ 7% ต่อปี ระหว่างปี 2021-2025 ผ่านการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจดิจิตอล และตั้งเป้าก้าวขึ้นเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2045
บลจ.ไทยพาณิชย์ เล็งเห็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในตลาดหุ้นเวียดนาม จึงได้ออกกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นเวียดนาม (SCBVIET) และ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นเวียดนาม เพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRMVIET) เริ่มเสนอขายครั้งแรก วันที่ 1-7 มีนาคม 2565นี้ ลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท เป็นทางเลือกให้นักลงทุน
ทั้งนี้ สามารถเลือกลงทุนได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งกองทุนรวมปกติ SCBVIET ที่มีให้เลือกลงทุนทั้ง ชนิดสะสมมูลค่า - SCBVIET(A), ชนิดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ - SCBVIET(E) และชนิดเพื่อการออม - SCBVIET(SSF) สำหรับการลงทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี รวมถึงกองทุน SCBRMVIET ที่เป็นกองทุน RMF สำหรับการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้จัดโปรโมชั่นพิเศษสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นเวียดนาม เพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRMVIET) ในช่วง IPO จะได้รับ Fund Back มูลค่าสูงสุด 1,000 บาท (ตามเงื่อนไขที่กำหนด) โดยมอบเป็นหน่วยลงทุนกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้น (SCBSFF) ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารธนาคารพาณิชย์ และหุ้นกู้ โดยสามารถลงทุนได้ในทุกช่องทาง และผ่านผู้สนับสนุนการขายทุกราย
จุดเด่นของกองทุน SCBVIET และ SCBRMVIET คือ นโยบายการลงทุนแบบ Active เฟ้นหาโอกาสทำกำไรในทุกสภาวะตลาด ผ่านการบริหารพอร์ตแบบยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนพอร์ตให้เหมาะกับมุมมองการลงทุนและสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา ผ่านทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย ทั้ง ETF, กองทุนต่างประเทศ และหุ้นรายตัว ตัวอย่างการลงทุนในเบื้องต้น ได้แก่
“ตลาดเวียดนาม หัวใจสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาจากภาคอุตสาหกรรม ที่ได้รับผลพวงจากเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ และเทคโนโลยีด้านผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยคาดว่า การลงทุนตรงจากต่างชาติจะเข้ามาในภาคการผลิตอย่างต่อเนื่อง และเป็นสัดส่วนมากกว่า 5% ของ GDP”นางนันท์มนัสกล่าว
ขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมก็เติบโตขึ้นเช่นกัน จาก 40% ในปี 2000 เป็น 86% ในปี 2020 เนื่องจากเป็นประเทศที่เน้นการส่งออก ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการกู้เงินจากต่างชาติ ทำให้สถานะทางการคลังแข็งแรง อีกทั้งแนวโน้มปริมาณแรงงานในประเทศที่เติบโตดีต่อเนื่องจนถึงปี 2040 ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และจะส่งผลให้เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการขยายตัวของเมืองเติบโตมากขึ้นในอนาคต