แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 17 ม.ค.นี้ กระทรวงการคลังจะเสนอให้ครม. พิจารณาให้รัฐบาลเพิ่มเงินสมทบสำหรับสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สูงสุดที่ 1,800 บาทต่อปี จากปัจจุบันให้สมทบสุงสุด 1,200 บาทต่อปี เพื่อดึงดูดแรงงานนอกระบบที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กบข.) ให้เข้ามาออมเงินเพื่อรองรับวัยเกษียณกันมากขึ้น
นอกจากนี้ กรณีที่สมาชิก กอช. ต้องการออมเพิ่มด้วยตัวเอง หรือออมเพิ่มมากกว่าที่รัฐกำหนดเป็นขั้นต่ำ ก็สามารถออมเพิ่มเติมได้สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี จากปัจจุบันหลักเกณฑ์ของ กอช. กำหนดให้สมาชิกต้องออมเงินขั้นต่ำ50 บาทต่อครั้ง และออมสูงสุดทั้งปีไม่เกิน 13,200 บาท โดยการออมแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องออมเท่ากันทุกเดือน
"การกำหนดเพดานการออมต่อปีไม่ให้เกินกว่าที่กำหนดนั้น เนื่องจาก กอช.เป็นกองทุนเดียวที่รับประกันผลตอบแทนการลงทุนขั้นต่ำว่าต้องไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยของ 5 ธนาคารใหญ่ ดังนั้น กรณีผลตอบแทนของกอช. ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก รัฐบาลจะต้องจ่ายชดเชยให้แก่สมาชิก ถ้าไม่กำหนดเพดาน รัฐบาลอาจต้องจ่ายชดเชยในอัตราสูงขึ้นในอนาคต"
ทั้งนี้ หากสมาชิกกอช. ออมเงินสูงสุดตามเพดานใหม่ที่เสนอว่าให้ออมสูงสุดได้ 3 หมื่นบาทต่อปีนั้น หากสมาชิกออมในระดับนี้ ตั้งแต่อายุ 18 ปี จนถึง 60 ปี จะมีเงินสะสมราว 1.5 ล้านบาท และจะได้รับเงินบำนาญตลอดชีวิต เดือนละ7,500 บาท
โดยการจ่ายเงินสมทบให้สมาชิกโดยรัฐบาลนั้น จะจ่ายตามช่วงอายุ กล่าวคือ
ส่วนกรณีข้อเสนอให้ทุกคนสามารถสมัครเป็นสมาชิกกอช.ได้นั้น ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากจะทำให้แรงงานในระบบเช่นแรงงานที่เป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม ซึ่งได้รับเงินสมทบจากรัฐบาลอยู่แล้ว ก็จะทำให้ได้รับผลประโยชน์จากรัฐซ้ำซ้อน