การประกาศ"ซื้อหุ้นคืน" ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.)ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)เพื่อบริหารการเงิน (Treasury Stock) ยังมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง เช่น
บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ( CPF) ประกาศใช้งบ 5,000 ล้านบาท ในการซื้อหุ้นคืน 200 ล้านหุ้น ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.65- 18 มิ.ย.66 , บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU ) ใช้งบ 3,000 ล้านบาท ซื้อหุ้นคืน 200 ล้านหุ้น ตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค.66- 30 มิ.ย. 66 ล่าสุด บมจ.ซิงเกอร์ประเทศไทย หรือ SINGER ตั้งวงเงิน 640 ล้านบาท เตรียมซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 18 ล้านหุ้น หรือ 2.19% เริ่มวันที่ 23 ธ.ค.65 - 23 มี.ค.66
โดยในรอบปี 2565 พบว่ามี 8 บริษัท ประกาศโครงการซื้อหุ้นคืน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 10,250 ล้านบาท เพื่อบริหารสภาพคล่อง และเพื่อพยุงราคาหุ้นที่ปรับลดลงจนต่ำกว่าบุ๊คแวลู ไม่สะท้อนมูลค่าพื้นฐานที่แท้จริง
นายเอกพิทยา เอี่ยมคงเอก กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เอกการลงทุน จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าหลายๆบจ.ที่ซื้อหุ้นคืน เนื่องจากเห็นว่าราคาหุ้นในตลาดตกจนต่ำกว่าบุ๊คแวลู ไม่สะท้อนศักยภาพผลประกอบการของบริษัท จากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา
การซื้อหุ้น จึงช่วยให้ราคาปรับขึ้นได้ในระดับหนึ่ง จากปริมาณหุ้นในตลาดที่ลดลง ตัวอย่าง กรณี บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF แจ้งตลาดฯเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 65 วันรุ่งขึ้น 15-16 ธ.ค. 65 ราคาปรับขึ้นทันที 0.42% ,2.09% อยู่ที่ 23.90 บาท และ 24.40 บาทตามลำดับ ก่อนที่ราคาจะปรับลดลงอยู่ที่ 24.10 บาท เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.65 หรือลดลง 0.30%
"ส่วนจะได้ผล ราคาหุ้นจะตอบสนองการดำเนินโครงการมาก-น้อยแค่ไหน อาจเห็นผลในระยะสั้น ๆ แต่ทั้งนี้การจะเข้าลงทุน นักลงทุนต้องศึกษาเงื่อนไขให้ดี เพราะมีข้อกำหนดที่อาจไม่รู้จึงต้องทำความเข้าใจ " นายเอกพิทยา กล่าว.
สอดคล้องกับ นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด กล่าวว่าการซื้อหุ้นคืนของ บจ.ส่วนใหญ่ทำเพื่อรักษาดาวน์ไซด์ของราคาหุ้นเป็นหลัก ซึ่งผลทางอ้อมคือปริมาณหุ้นในตลาดจะลดลง เมื่อบริษัทมีกำไรและจ่ายปันผล ผู้ถือหุ้นก็จะได้รับผลตอบแทนปมากขึ้น ส่วนราคาหุ้นจะตอบสนองการดำเนินโครงการมาก-น้อยแค่ไหน นักลงทุนต้องดูว่าการประกาศดำเนินโครงการแต่ละครั้ง ผู้บริหารมีความจริงใจที่จะซื้อคืนหุ้นให้ครบตามจำนวนที่ประกาศหรือไม่
"บจ.ที่ประกาศซื้อหุ้นคืน ราคาหุ้นจะตอบสนองในช่วงระยะเวลาเฉลี่ย 3-5 วัน จากนั้นราคาจะกลับไปเคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐานของแต่ละบริษัท ดังนั้น นักลงทุนควรพิจารณาบนพื้นฐานทางธุรกิจ การบริหารจัดการของฝ่ายบริหารเป็นหลัก รวมถึงความสำเร็จของการซื้อหุ้นคืนตามแผนการซื้อหุ้นในแต่ละโครงการ"
ส่วนสาเหตุที่ บจ.ต้องซื้อหุ้นคืน ข้อดีและ ข้อเสีย ที่นักลงทุนต้องชั่งน้ำหนักให้ดี สามารถทำความเข้าใจรายละเอียดตามล่างนี้ ...
สาเหตุที่บริษัทตัดสินใจซื้อหุ้นคืน
อย่างไรก็ดี หุ้นที่ซื้อคืน จะถือไว้ได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น เพราะท้ายที่สุดบริษัทต้องขายออกไปในเวลาที่กำหนด คือ เมื่อถือหุ้นเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และนานสุดไม่เกิน 3 ปี ถ้าบริษัทไม่นำกลับมาขายในกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์ หรือเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป ก็จะต้องดำเนินการลดทุน ด้วยการตัดหุ้นจดทะเบียนที่ซื้อคืนทิ้งไป
ข้อดี ในการซื้อหุ้นคืน
ข้อควรระวัง