บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) หรือ ADVANC เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท ได้มีมติอนุมัติให้ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จํากัด (“AWN”) และ บริษัท แฟกซ์ ไลท์ จํากัด (“FXL”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ AIS ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA) และ สัญญาจ้างออกแบบวิศวกรรม จัดหา และก่อสร้าง (Engineering, Procurement and Construction: EPC) กับ บริษัท กัลฟ์ จํากัด (“GULF1”) ซึ่งเป็นบริษัท ย่อยที่ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จํากัด (มหาชน) (“GULF”) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 โดยมีลักษณะเป็นโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีกําลังการผลิตติดตั้งรวมโดยประมาณ 16.5 เมกะวัตต์ รวมมูลค่า 531.80 ล้านบาทเป็นระยะเวลา 10 - 25 ปี
ทั้งนี้ การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า PPA ดังกล่าว รวมทั้งสิ้น 5 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) ที่ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ 2 โครงการ และ 2.โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ที่ศูนย์ AIS ContactCenter และที่ชุมสาย 3 โครงการ เป็นระยะเวลา 10- 15 ปี และโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้บริษัทเมื่อครบกำหนดสัญญา
ส่วนการทำสัญญาจ้างออกแบบวิศวกรรม จัดหา และก่อสร้าง (Engineering, Procurement and Construction: EPC) ประกอบด้วย (1) โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ที่อาคารสื่อสัญญาณหลัก 38 แห่ง และ (2) โครงการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ส าหรับสถานีฐาน 4,500 แห่ง เป็นระยะเวลา 25 ปี
ความร่วมมือทางธุรกิจนี้ สืบเนื่องจากบริษัทประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายและบริการโทรคมนาคม โดยครอบคลุมถึงโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และโครงข่ายสําหรับบริการลูกค้าองค์กร ซึ่งการให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมที่ครอบคลุมทั่วประเทศต้องใช้พลังงานไฟฟ้าปริมาณมาก และปริมาณการใช้พลังงานยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการขยายบริการโครงข่ายและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการเข้าทําสัญญาเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะช่วยลดต้นทุนในการดําเนินงานของบริษัทในระยะยาว
นอกจากนี้ ความร่วมมือทางธุรกิจนี้ยังเป็นไปตามกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ AIS ในการลดการปล่อย เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยยังใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานฟอสซิลเป็นหลักซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกก๊าซเรือนกระจก
การใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานแสงอาทิตย์ในโครงการดังกล่าว จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 11,268 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO,e) ต่อปี รวมถึงยังสอดคล้องกับเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็น ร้อยละ 5 ของการใช้พลังงานรวม เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนการดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม