KEY
POINTS
อายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่จะหมดลงในปี 2572 หรืออีก 5ปีข้างหน้า แถมล่าสุดยังมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากวิสัยทัศน์ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีในงาน Vision for Thailand 2024 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมาคือ แนวคิดการเวนคืนรถไฟฟ้าที่เอกชนบริหารกลับมาเป็นของรัฐแล้วจ้างเอกชนบริหาร เพื่อสามารถำหนดราคาค่าโดยสารเอง รวมถึงการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อมาบริหารจัดการค่าตั๋วโดยสาร ตามนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
ทำให้บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) หรือ BTS เจ้าของสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวต้องรุก ขยายธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มบริษัท
เห็นจากการร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือ BA และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ STEC จัดตั้งบริษัทร่วมทุน “บริษัท ยูทีเอ จำกัด” บริหารเมืองการบินในโครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
ล่าสุด BTS ได้ปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม โดยจะปรับโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัท วีจีไอ จำกัด(มหาชน) หรือ VGI โดยอนุมัติให้ VGI ออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) จำนวนไม่เกิน 8,805.48 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท ในราคาหุ้นละ 1.50 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 13,208.22 ล้านบาท ให้กับผู้ลงทุน 4 ราย ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ BTS ใน VGI ลดจาก 61.13% เหลือ 34.23% คือ
นอกจากนั้น ยังมีมติอนุมัติให้ VGI ออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน ครั้งที่ 4 (VGI-W4) จำนวนไม่เกิน 1,119.45 ล้านหน่วย เพื่อจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นเดิมของ VGI ตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering) โดยไม่คิดมูลค่า
นอกจากนั้น ยังจะมีการตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้นบริษัท ร็อคเทค โกลบอล จำกัด(มหาชน) หรือ ROCTEC โดยการทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด โดยสมัครใจแบบเงื่อนไขก่อนทำคำเสนอซื้อ(Conditionnal Voluntary Tender Offer: VTO) โดยบริษัทหรือบริษัทย่อยที่ BTS ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัดส่วน 100% ของหุ้นทั้งหมดของบริษัทย่อย
หลักทรัพย์ที่จะเสนอซื้อคือ หุ้นสามัญทั้งหมดของ ROCTEC จำนวน 6,716.52 ล้านหุ้น (ไม่รวมหุ้นสามัญที่ BTS ถืออยู่) คิดเป็น 82.74% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของ ROCTEC ในราคาเสนอซื้อหุ้นละ 1 บาท คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6,716.52 ล้านบาท โดยจะไม่รวม ROCTEC-W3 และ ROCTEC-W5 เนื่องจากราคาการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวเท่ากับหรือสูงกว่าราคาเสนอซื้อหุ้น ROCTEC
ขณะเดียวกัน ยังจะมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท แรบบิท โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)หรือ RABBIT โดยการทำ VTO ซึ่งบริษัทหรือบริษัทย่อย โดยหลักทรัพย์ที่จะเสนอซื้อคือ
ทั้งนี้ มูลค่าหุ้น ROCTEC และ RABBIT ที่จะได้มาจากธุรกรรมครั้งนี้ จะมีมูลค่าสูงสุดไม่เกิน 14,870.6 ล้านบาท ประกอบด้วย มูลค่าของสิ่งตอบแทนจากธุรกรรม ROCTEC ไม่เกิน 6,716.52 ล้านบาท และ มูลค่าของสิ่งตอบแทนจากธุรกรรม RABBIT ไม่เกิน 8,154.08 ล้านบาท
BTS คาดว่า ธุรกรรม ROCTEC แล RABBIT จะทำให้ BTS มีอำนาจควบคุม ROCTEC ทำให้ ROCTEC สนับสนุนการดำเนินธุรกิจของ BTS และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัท ส่วนธุรกิจของ RABBIT บริษัทมองว่า จะเป็นธุรกิจที่สามารถเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาวได้
“บริษัทฯ ได้รับหนังสือสนับสนุนทางการเงินเพื่อการทำคำเสนอซื้อซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ ROCTEC และ RABBIT จากธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)และบริษัทฯได้ออกหนังสือให้กับ RB เพื่อสนับสนุนแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการชำระราคาเสนอซื้อหุ้น ROCTEC และ RABBIT ตามสัดส่วนการรับซื้อหุ้นที่กำหนดในเอกสารคำเสนอชื้อ”
การปรับโครงสร้างดังกล่าว จะทำให้ BTS มีการถือหุ้นทั้ง VGI ROCTEC และ RABBIT โดยที่ BTS จะมีการเพิ่มทุน เพื่อจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering) จำนวน 2,926.14 ล้านหุ้น ในอัตรา 4.5 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1 หุ้นสามัญใหม่ ในราคาเสนอขายหุ้นละ 4.50 บาท
กำหนดวันจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนในวันที่ 17-18 ตุลาคม 2567, 21-22 ตุลาคม 2567 และ 24 ตุลาคม 2567 เพื่อนำเงินที่ได้ทั้งหมด ไปซื้อหุ้น VTO ของ ROCTEC และ RABBIT
การปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งนี้ ถูกมองว่า เพื่อรองรับกับการขยายธุรกิจใหม่ๆในอนาคต โดยเฉพาะการจับมือกับพันธมิตรบริหารเมืองการบินในโครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ถูกมองว่า จะได้ประโยชน์จากแผนการจัดทำโครงการใหญ่อย่าง เอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ซึ่งอยู่ระหว่างรอครม.ใหม่พิจารณา หลังจากปิดประชาพิจารณ์ไปเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2567
"เงื่อนไขการจัดตั้ง เอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ระบุว่า จะต้องอยู่ในรัศมีใกล้สนามบิน มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท และต้องอยู่ในเมืองหลัก "
สำหรับ VGI การสิ้นสุดสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวในปี 2572 จะทำให้ VGI จะไม่มีธุรกิจหลัก ดังนั้นบริษัทฯ จึงมีแผนที่จะนำเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้ เพื่อลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาหรือ Vitual Bank โดยบริษัทฯ จะทำการลงทุนใน Virtual Bank โดยบริษัทฯเองหรือผ่านบริษัทย่อยของบริษัทฯ
“บนเป้าหมายที่ผู้บริหารมองคือ จะใช้ VGI ร่วมกับพันธมิตร เข้าไปลงทุนในธุรกิจ Virtual Bank แต่ผู้ที่เข้ามาถือหุ้น PP ของ VGI ไม่ใช่พาร์ทเนอร์ ธนาคารเป็นนักลงทุน และหลังจากที่มีการปรับโครงสร้างแล้วเสร็จจะมีการมุ่งหน้าไปที่ธุรกิจ Virtual Bank”
ดังนั้นการจากการปรับโครงสร้างทั้งหมดในครั้งนี้ เป็นการหันหน้าไปยังธุรกิจใหม่ๆ ที่ใช้บริษัทย่อยเป็นหัวหอกหลัก อย่าง VGI ขยายธุรกิจผ่านจุดแข็งของ BTS Ecosystem ที่ครบวงจร ซึ่งมีผู้ใช้บริการซึ่งเป็นฐานผู้ใช้ต่อวันกว่า 40 ล้านคนปัจุบัน VGI ต่อยอดข้อมูลเชิงลึก ของผู้โดยสารกว่า 40 ล้านคน สู่ธุรกิจเอเจนซี่โฆษณา และปล่อยสินเชื่อดิจิทัล
ดังนั้นภายใต้แผนการเพิ่มทุนของ BTS จึงจะมีการจัดสรรเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้จำนวน 7,500 ล้านบาทเพื่อลงทุนร่วมกับพันธมิตรอย่างธนาคาร กรุงเทพ Sea Group ยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Vitual Bank
ส่วนธุรกิจของ ROCTEC ในระยะหลังๆ จะมีความเป็น IT มากขึ้น ซึ่ง BTS มองในเรื่องของเอ็นเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ ขณะที่ แรบบิท โฮลดิ้งส์ นอกจากเป็นผู้พัฒนาและลงทุนอสังหาริมทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังมีธุรกิจประกันชีวิต บริหารสินทรัพย์ และหลักทรัพย์จัดการกองทุน และลงทุนในกิจการ อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งอาจจะเข้ามาเสริมธุรกิจ Virtual Bank ได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม การดึงทั้งหมดเข้ามาอยู่ภายใต้ BTS แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการปรับทิศทางของธุรกิจใหม่เพื่อให้มีความพร้อมในสิ่งที่บริษัทอยากเดินไปข้างหน้า