นาย นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ผลกระทบของการล็อกดาวน์ครั้งนี้มี 2 สิ่งที่แตกต่างจากล็อกดาวน์ปีที่แล้ว คือ ครั้งนี้มีการปิดพื้นที่เสี่ยง 10 จังหวัด แต่เมื่อปีที่แล้วปิดทั้งประเทศ แต่10 จังหวัดที่ล็อกดาวน์เป็นจังหวัดที่มีอิทธิพลเรื่องเศรษฐกิจของประเทศถึง 70% ของ GDP
สอง คือ เรื่องโควิด ซึ่งครั้งนี้มีความรุนแรงเมื่อเปรียบเทียบกับครั้งที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ติดเชื้อเกือบหมื่นคนและมีผู้เสียชีวิต อีกทั้งเชื้อยังกลายพันธุ์อย่างรวดเร็วและมีความแข็งแกร่งขึ้น ทำให้วัคซีนที่ฉีดไปมีประสิทธิภาพต่ำลง และระบบสาธารณสุขเกินขีดจำกัด
ในส่วนของธุรกิจด้านค้าปลีกจังหวัดที่ถูกปิดบริการมีผลกระทบอย่างมาก ในภาพรวมของธุรกิจแต่ละประเภท มีตั้งแต่ติดลบ 20% - 90% ของยอดขายปกติ อย่างไรก็ตามธุรกิจค้าปลีกหลายธุรกิจมีการปรับตัว เสริมทัพทั้งออนไลน์และใช้หน้าร้านให้มีประโยชน์ และแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ ทำให้ธุรกิจค้าปลีกสามารถทำรายได้ประมาณ 20 - 30% ของยอดขายปกติในขณะที่ล็อกดาวน์
เมื่อยอดขายของกลุ่มการค้าปลีกหายไปย่อมมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ส่วนในกลุ่มการค้าปลีกมี SME มากกว่า 3.1 ล้านราย มีการจ้างงานมากกว่า 12 ล้านคน สิ่งสำคัญที่สุดคือ SME ถือเป็นกระดูกสันหลังของประเทศเมื่อเจอผลกระทบแบบนี้ ก็เหมือนเศรษฐกิจของไทยเป็นอัมพาตไปกว่าครึ่งตัว
ทั้งนี้ ภาคค้าปลีก ภาคการผลิต และภาคการท่องเที่ยวมีความเชื่อมโยงและเกื้อหนุนกัน และเมื่อเกิดวิกฤตกับภาคใดภาคหนึ่ง จะทำให้เกิดผลกระทบที่เรียกว่า domino effect กับสองภาคที่เหลืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"สถานการณ์ครั้งนี้ SME บางส่วนไปต่อไม่ได้และตายไปจากระบบ ส่วนที่เหลือจะมี “โครงการพี่ช่วยน้อง” คือบริษัทใหญ่ช่วยเหลือบริษัทเล็ก โดยพี่จะพาให้น้องๆทุกคนไปรอดกันทุกคน ไม่ว่าเป็น การช่วยกันเร่งเรื่องของเงินสดให้หมุนเวียนมากยิ่งขึ้น
พยายามช่วยกันทุกวิถีทางเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพราะซอฟต์โลนของรัฐบาลที่ออกมา SME เข้าไม่ถึง มีแต่ลูกค้าเก่าๆของธนาคารที่เข้าถึง ครั้งนี้ทางกลุ่มการค้าปลีกจะพา SMEไซส์เล็ก ไซส์กลาง ทั้งหมด 5 แสนราย ให้เข้าถึงแหล่งซอฟต์โลนและแหล่งทุนจากแบงก์ดอกเบี้ยที่ต่ำให้ได้"
ในส่วนของค้าปลีกช่วงล็อกดาวน์ การที่ธุรกิจหยุดนิ่งอย่างกะทันหัน ก่อนที่จะเริ่มต้นใหม่สิ่งสำคัญที่สุดมี 4 ประเด็นหลักคือ 1 ช่วงนี้ต้องทำให้ยังไงให้อยู่รอดก่อน ทำยังไงให้ตัวเบาที่สุด หมายความว่า ต้องเร่งระบายสินค้า และลดต้นทุนรายจ่ายต่างๆให้มากที่สุด และต้องเพิ่มความระมัดระวังในการขยายหรือลงทุน 2 คือ กอดเงินสด ถ้ามีวงเงินกับธนาคารก็ต้องไปเบิกมา
“การที่นักท่องเที่ยวต่างๆยังไม่เข้ามา ทำให้ต้องนั่งดูกันว่าจริงๆ ดีมานของความต้องการของลูกค้าในประเทศไทยยังมีอยู่ แต่มีน้อยลง เพราะฉะนั้นในการที่จะหาเจอก็ต้องใช้ช่องทางที่ีการปรับเปลี่ยนแบบใหม่ ไม่ใช่พึ่งเฉพาะช่องทางออฟไลน์อย่างเดียว ต้องมีทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น ออฟไลน์ ออนไลน์ ทุกรูปแบบให้เป็นทางเลือกกับลูกค้า และในช่วงนี้กลุ่มทางการค้าปลีกทุกคนก็ร่วมกันว่าจะทำยังไงของบน Shelf ไม่ให้สินค้าขาดตลาด พยายามตุนสินค้าให้ได้มากที่สุด”
ทั้งในจำเป็นต้องผลักดัน เรื่อง 2C C แรกเกิดจากเรื่องเทคโนโลยีเข้ามา ตัวสำคัญที่สุดคือเงินของเราที่เป็นตัวดิสรัปสำคัญ เดี๋ยวนี้ทุกคนจะโอนเงินก็ไม่ต้องไปที่ธนาคาร จะซื้อของก็กดสั่งซื้อสินค้าได้ ได้ตลอด 24 ชม. และหลังจากที่เจอโควิด ดิสรัปชั่นของโควิด ช่วยเร่งเครื่องให้ลูกค้าและคนเราเปลี่ยนพฤติกรรมไปมากขึ้น และก็เป็นนิสัย เพราะงั้นเราต้องพยายามปรับตัว
อีกอันคือเรื่องที่สองคือ 2 H คือ help ตอนนี้ทุกคน help conscious มากยิ่งขึ้น เพราะว่าจะทำยังไงให้ร่างกายแข็งแรง และก็ป้องกัน รักษาให้ปราศจากไวรัสต่าง ๆ และคนก็อยู่บ้านมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดเป็น Homebody Economy เพราะฉะนั้นนี่ถือเป็นสิ่งสำคัญท ว่า เมื่อมีการดิสรัปชั่นเกิดขึ้น ต้องมีการปรับเปลี่ยน
ในช่วงล็อกดาวน์บางธุรกิจถูกปิด จึงอย่าใช้เวลาให้เปล่าประโยชน์ ปรับปรุง พัฒนา เสริมเขี้ยวเล็บต่างๆให้ธุรกิจมีความแข็งแรง และเมื่อสถานการณ์กลับมาปกตินักท่องเที่ยวกลับมาเราจะสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด”