“นายอนุทิน ชาญวีรกูล” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ย้ำว่า ไม่ได้ยกเลิกโควิดพ้นโครงการยูเซปทั้งหมด หากมีอาการฉุกเฉินยังเหมือนเดิมรักษาได้ทุกที่ โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมจัดทำ “ยูเซปพลัส”
เพื่อรองรับคนติดโควิดและมีโรคร่วม ซึ่งได้มอบให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หารือร่วมสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พิจารณาเกณฑ์เข้าข่ายรักษาแบบ UCEP พลัส
“ยูเซ็ปพลัส” คืออะไร
“ยูเซ็ปพลัส” เป็นการดำเนินการเพื่อเตรียมรองรับผู้ติดเชื้ออาการโควิดสีเหลือง สีแดง ที่สามารถใช้สิทธิ ยูเซ็ป รักษาทุกที่ได้ โดยการกำหนดนิยามของผู้ที่เข้าข่ายจะเป็นผู้โรคร่วมเดิมอะไรบ้างกำลัง ยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาหารือ
โดยในวันที่ 1 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขจะปรับการรักษาโควิดเป็นไปตามสิทธิ โดยหลักคือ
ยูเซ็ป หรือUniversal Coverage for Emergency Patients : UCEP
สิทธิการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติที่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ ใกล้บ้าน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนกว่าจะพ้นวิกฤติ เช่น หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ช็อก หายใจเร็ว หอบเหนื่อยมาก เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน อ่อนแรงแขนขา เส้นเลือดออกในสมอง หรือสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
อาการป่วยเข้าเกณฑ์วิกฤติฉุกเฉิน 6 อาการ
ล่าสุดมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี สั่งให้ "อนุทิน ชาญวีรกุล" ยกเลิกการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่จะยกเลิกใช้ระบบ UCEP รักษาโควิดฟรีสำหรับกลุ่มบัตรทอง-ประกันสังคม ในกรณีวิกฤติฉุกเฉิน โดยครม.ให้คงใช้สิทธิ์ UCEO ได้ต่อไป อ่านเพิ่มเติมคลิก