จากกรณีที่มีเด็กอายุ 14 ปี ลดน้ำหนักด้วยวิธี IF (Intermittent Fasting) หรือ อดอาหาร 23 ชั่วโมง กิน 1 ชั่วโมง นาน 1 ปี ส่งผลทำให้ร่างกายวิกฤต ไม่รับอาหารทุกชนิด แถมมีโรคภาวะธาลัสซีเมีย ไขมันในเลือดสูง ตัวร้อน ผิวและผมหยาบกร้านแห้ง นอนไม่หลับ
กรณีที่เกิดขึ้น ทำให้"ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมข้อมูลจากแพทย์เกี่ยวกับการทำ IF (Intermittent Fasting)ว่าคืออะไร สามารถลดน้ำหนักได้ด้วยวิธีไหน หรือทำแบบไหนถึงจะได้ผล โดยมีเนื้อหารายละเอียดดังต่อไปนี้
IF หรือ Intermittent Fasting คืออะไร
ผศ.(พิเศษ) พญ. พัชญา บุญชยาอนันต์ ฝ่ายอายุธศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ การทำ IF หรือ Intermittent Fasting ว่าคืออะไร แล้วจะลดน้ำหนักได้อย่างไร โดยระบุว่า การทำ IF คือ การจำกัดเวลาในการรับประทานอาหารโดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา
1.ช่วงที่สามารถรับประทานได้ตามปกติ
2.ช่วงอดอาหารไม่รับประทานอาหารใด ๆ ยกเว้นน้ำเปล่า หรือของเหลวที่ไม่มีแคลอรี่
ทั้งนี้การกำหนดระยะเวลาในการอดอาหารขึ้นอยู่กับความสะดวกและวิถีของแต่ละบุคคล เช่น
1.การรับประทานวันเว้นวัน หรือ เลือกวันอดอาหาร 2 วันต่อสัปดาห์ โดยเป็นวันที่ไม่ติดกัน
2.การกำหนดช่วงเวลารับประทานภายใน 24 ชั่วโมง เช่น สูตร 6-18 รับประทานอาหารได้ 6 ชั่วโมง อีก 18 ชั่วโมง งดอาหารที่มีแคลอรี่
การทำ IF หรือ Intermittent Fasting ลดน้ำหนักได้อย่างไร
ผศ.(พิเศษ) พญ. พัชญา เผยว่า การจำกัดเวลาในการรับประทานอาหาร ทำให้ปริมาณแคลอรี่หรือพลังงานที่ได้รับโดยรวมต่อวันลดลง ส่งผลให้น้ำหนักลดลงตาม
การทำ IF หรือ Intermittent Fasting อย่างไรให้ได้ผล
ขณะที่นพ. ปกรณ์ ฮูเซ็น สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมิติเวช ก็ได้ออกมาอธิบายเกี่ยวกับการทำ IF อย่างไรให้ได้ผล โดยระบุว่า การทำ Intermittent Fasting (IF) ให้ได้ผล ต้องไม่อดอาหารมากเกินไป หรือทานมากเกินไป และต้องงดขนมหวานอย่างเด็ดขาด ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
วิธีการลดน้ำหนักแบบ IF ที่ได้รับความนิยมก็คือจำกัดเวลาทานอาหาร 8 ชั่วโมง และอดอาหาร 16 ชั่วโมง และการทำ IF จะได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากทำการตรวจระดับวิตามิน แร่ธาตุในเลือด หรือระดับฮอร์โมนในร่างกาย ก่อนทำ
นอกจากนี้นพ. ปกรณ์ ยังได้อธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับ Intermittent Fasting (IF) คืออะไร พร้อมทั้งระบุถึงปัจจัยที่ทำให้ ลดน้ำหนัก IF 16:8 ไม่สำเร็จ
Intermittent Fasting (IF) คืออะไร
การทำ Intermittent Fasting (IF) เป็นวิธีการลดน้ำหนักอีกวิธีหนึ่งโดยการควบคุมแคลอรี และจำกัดเวลาในการทานอาหาร โดยมีหลากหลายวิธีในการปฏิบัติ แต่วิธีที่ได้รับความนิยมก็คือจำกัดเวลาทานอาหาร 8 ชั่วโมง และอดอาหาร 16 ชั่วโมง
ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ เราสามารถ ทานได้เวลา 6:00-14:00 โดยหลังจาก 14:00 เป็นช่วงงดอาหาร ทานได้เพียงแต่น้ำเปล่า หรือกาแฟ ชา ที่ไม่ใส่น้ำตาล (งดเว้นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในช่วงอดอาหาร เพราะจะกระตุ้นให้เกิดความหิวและอยากน้ำตาลได้)
สรุปคือ เราจะไม่ได้ทานอาหารมื้อหนึ่ง นั่นก็คือ มื้อเย็น โดยแค่แนวคิดตัดอาหารไปหนี่งมื้อนั้นก็คือ แคลอรีที่หายไปหนึ่งวัน หากทำได้ติดต่อกัน ยังไงน้ำหนักต้องลดได้แน่นอน แต่หลายคนอาจทำแล้วประสบผลสำเร็จบ้าง บางคนน้ำหนักไม่ลดบ้าง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยดังนี้
ปัจจัยที่ทำให้ ลดน้ำหนัก IF 16:8 ไม่สำเร็จ
สำหรับเนื้อหาเหล่านี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้สนใจในการทำ Intermittent Fasting (IF) ปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ล่ะคนอาจไม่เหมือนกัน หากมีปัญหาโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำเพื่อความปลอดภัย และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการตรวจระดับวิตามินแร่ธาตุในเลือด หรือระดับฮอร์โมนในร่างกาย จะช่วยให้การทำ IF ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ที่มาข้อมูล-ภาพ