การปั่นหุ้น คืออะไร
- การปั่นหุ้น หรือ Stock Manipulation คือลักษณะของหุ้นที่มีราคาหรือปริมาณเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่มีปัจจัยพื้นฐาน หรือข้อมูลสารสนเทศรองรับ
- มีสภาพการซื้อขายหุ้นผิดไปจากสภาพปกติจากที่เคยมีมาในอดีตโดยไม่มีเหตุผลสนับสนุน และไม่ตรงกับสภาพการซื้อขายของตลาดโดยรวม ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดด้านราคาหุ้นตัวนั้นๆ อย่างมีนัยสำคัญ
- มักพบว่าความผิดปกตินั้นเกิดจากการกระทำโดยเจตนาของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ประสงค์ดี เอาเปรียบผู้ลงทุนรายอื่นโดยใช้วิธีหรือมี
ยกตัวอย่าง เช่น ต้องการปั่นราคาหุ้นตัวหนึ่ง จากการซื้อขายหุ้นตัวนั้นๆ ไปมา เพื่อทำให้นักลงทุนรายอื่นเข้าใจผิดว่าหุ้นตัวนี้มีแนวโน้มราคาที่สูงขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน
ปั่นหุ้นไปทำไม
- เพื่อให้ขายหุ้นได้ในราคาที่สูงขึ้น ได้กำไรมากขึ้น
- เพื่อให้สามารถซื้อหุ้นคืนหรือซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง
- เพื่อพยุงราคาหุ้นให้อยู่ในระดับราคาไม่สูง หรือต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น เพื่อรอโอกาสทำอะไรบางอย่าง
พฤติกรรมการปั่นหุ้นมีหลายรูปแบบ
- ซื้อขายหุ้นไปมา ดึงดูดให้นักลงทุนให้เข้ามาซื้อหุ้นมากขึ้น ราคาหุ้นก็จะปรับตัวสูงขึ้น
- เทขายหรือขายหุ้นออกมาเพื่อทำให้นักลงทุนเข้าใจว่าหุ้นจะมีราคาตกต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้ขายหุ้นที่ถือออกมา ราคาหุ้นปรับตัวต่ำลง
- ใช้กลยุทธ์พยุงราคาหุ้นไม่ให้ต่ำหรือสูงเกินไปเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างในอนาคต
- ใช้ข่าวลวง ไม่ว่าจะเป็นข่าวจากวงใน หรือ Insight ข่าวลือหรือข่าวเท็จ เพื่อให้นักลงทุนคิดไปในทางที่ต้องการ
ปั่นหุ้น ผิดกฎหมายไหม
- เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยได้บัญญัติไว้ว่า การปั่นหุ้น เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ใดๆ โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างสภาพการซื้อขายให้ผิดไปจากภาวะที่เป็นจริง โดยเจตนาให้ผู้อื่นซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยความเข้าใจผิด
- ตาม พรบ.หลักทรัพย์ 2535 ความผิดกรณีปั่นหุ้นเดิมที เป็นความผิดอาญา มีโทษทั้งปรับและจำคุก อย่างไรก็ตามใน พรบ. หลักทรัพย์ 2535 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติในหมวด 12/1 เกี่ยวกับ มาตรการลงโทษทางแพ่ง มาตรา 317/4 กำหนดโทษสำหรับการกระทำที่เราเรียกว่า ‘ปั่นหุ้น’ เพิ่มเติม ทำให้ผู้กระทำความผิดที่ยอมรับโทษทางแพ่ง ไม่ต้องถูกฟ้องอาญาอีกต่อไป จึงเป็นสาเหตุให้คนกระทำผิดไม่ถูกจำคุก