เช็ค “ภาวะลองโควิด” อาการอยู่นานแค่ไหน ส่งผลกระทบต่อร่างการทางไหนดูที่นี่

19 เม.ย. 2565 | 04:07 น.
อัปเดตล่าสุด :19 เม.ย. 2565 | 11:20 น.

เช็ค “ภาวะลองโควิด” อาการอยู่กับร่างกายนานแค่ไหน ส่งผลกระทบต่อร่างการส่วนไหนบ้างอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่

จากกรณีการแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ออกมาแจ้งว่า หากผู้ติดเชื้อโควิดไปแล้วอาจจะมี “ภาวะลองโควิด” ตามมา แล้ว “ภาวะลองโควิด” อาการอยู่กับร่างกายนานแค่ไหน

 

ล่าสุด กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ออกมาเปิดเผยว่า ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจากโรคโควิด-19 หรือ “ภาวะลองโควิด” Long COVID เป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ และ อาจมีอากรอยู่นานอย่างน้อย 2 เดือน เกิดขึ้นได้หลายระบบ และ อาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยอื่นๆ

จากการสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19  ภาวะลองโควิด อาการที่พบบ่อยมีถึง 6 ระบบ ดังนี้

  • ระบบประสาท พบได้ 27.33% ได้แก่ อ่อนแรงเฉพาะที่เฉียบพลัน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ หลงลืม กล้ามเนื้อลีบ
  • ระบบทางจิตใจ พบได้ 32.1% ได้แก่ นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด พบได้ 22.86% ได้แก่ เจ็บหน้าอก ใจสั่น
  • ระบบทางเดินหายใจ พบได้ 44.38% ได้แก่ หอบเหนื่อย ไอเรื้อรัง
  • ระบบผิวหนัง พบได้ 22.8% ได้แก่ ผมร่วง ผื่นแพ้
  • ระบบทั่วไป พบได้ 23.41% ได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ

 

 

อาการลองโควิด

อย่างไรก็ตาม อาการผิดปกติดังกล่าวส่วนใหญ่หายได้เอง หากผู้ป่วยมีอาการต่อเนื่องนานกว่า 2 เดือน ควรพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน.

 

ที่มา : กรมการแพทย์