น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
ล่าสุด !! ไวรัส BA.5 ดื้อต่อวัคซีนทั้ง Pfizer และ Moderna เพิ่มขึ้นอีก 4 เท่า เมื่อเทียบกับไวรัส BA.2
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ไวรัสสายพันธุ์หลักที่ก่อโรคโควิดทั่วโลก เป็น BA.5
ในสหรัฐอเมริกาพบ BA.5 มากถึง 65% ส่วนในประเทศไทยก็มากกว่า 50% แล้ว
ดังนั้นคุณสมบัติหรือลักษณะของไวรัส BA.5 จึงมีความสำคัญต่อการประเมินสถานการณ์โควิดของแต่ละประเทศ
เราจะมาดูการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ โดยอาศัยปัจจัยสำคัญ 4 ประการได้แก่
4) ความสามารถในการสร้างความรุนแรง ทำให้เจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล และเสียชีวิตมากน้อยเพียงใด
สำหรับไวรัสสายพันธุ์ BA.5 ในประเด็นความสามารถในการแพร่ระบาด มีข้อมูลการศึกษาจากหลายประเทศด้วยกัน ยืนยันตรงกันว่าไวรัส BA.5 เป็นสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการแพร่ที่เร็วที่สุด
ค่าตัวเลข R0 = 18.6 เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อู่ฮั่นที่ 3.3 แล้ว มีความสามารถในการแพร่เร็วกว่า 5.6 เท่า
ในประเด็นความสามารถในการบุกรุกภูมิคุ้มกัน มีข้อมูลยืนยันจากหลายประเทศเช่นกันว่า ไวรัส BA.5 สามารถติดเชื้อได้ง่ายขึ้นแม้มีภูมิคุ้มกัน โดยจะต้องใช้ภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้น จึงจะสกัดไวรัสได้
ข้ามไปในประเด็นเรื่องความสามารถในการสร้างความรุนแรง ก็มีข้อมูลยืนยันชัดเจนจากรายงานการศึกษาว่า ไวรัส BA.5 สร้างอาการรุนแรง ทำให้ป่วยและเสียชีวิตน้อยกว่าไวรัสสายพันธุ์ Delta แต่พอๆกับไวรัสสายพันธุ์ BA.2
ส่วนในประเด็นที่สาม ซึ่งเป็นสาระสำคัญของวันนี้คือ การดื้อต่อวัคซีน
มีรายงานการศึกษาลงในวารสาร Nature พบว่าไวรัสสายพันธุ์ BA.5 ดื้อต่อวัคซีน mRNA ได้แก่ของ Pfizer และ Moderna มากขึ้น 4.2 เท่า เมื่อเทียบกับไวรัสสายพันธุ์ BA.2
หมายถึงจะต้องใช้ระดับภูมิคุ้มกันในเลือดของคนที่ฉีดวัคซีนสูงขึ้นอีก 4.2 เท่า จึงจะรับมือไวรัส BA.5 ได้ ในขณะที่ไวรัส BA.2.12.1 เพิ่มขึ้น 1.8 เท่า
จึงพอจะสรุปได้ว่า
อย่างไรก็ตาม พบว่าการใส่หน้ากากอนามัย มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อได้ดีเท่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์เดิมหรือสายพันธุ์ใหม่
และการฉีดวัคซีนเข็ม 3,4 แม้จะป้องกันการติดเชื้อ BA.5 ได้ลดลง แต่ยังสามารถป้องกันการเสียชีวิตได้มากกว่า 90%
ทุกคนจึงควรที่จะต้องใส่หน้ากากอนามัย และรับวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3,4 ต่อไปในสถานการณ์โควิดปัจจุบัน