ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า สทนช. ได้ดำเนินการร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเป็นเวลากว่า 20 ปี หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ โดยปัจจุบันได้รับผลกระทบจากภูมิอากาศที่ค่อนข้างจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลายพื้นที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับอุทกภัย
โดยจะสังเกตได้จากปริมาณน้ำฝนที่ตกในช่วงเวลาสั้นๆ แต่มีปริมาณน้ำที่มากจนการระบายน้ำไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที หรือจะเห็นได้จาก น้ำป่าที่ไหลหลากจนเกิดโคลนถล่มที่เพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน
ทั้งนี้ ใน 2-3 ที่ผ่านมาแล้วพบกับสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 จนทำให้หลายอาชีพต้องมีการหยุดชะงักลง ทำให้แรงงานมีการโยกย้ายคืนถิ่นแล้วกลับไปประกอบอาชีพเกษตรกรในพื้นที่บ้านเกิด เป็นเหตุปัจจัยให้มีความต้องการน้ำในด้านการเกษตรมากขึ้น หรือแม้แต่ภาวะสงครามที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม ต้องมีการเร่งผลผลิตทางการเกษตรทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ เพื่อป้อนสู่ตลาดโลก
แผนแม่บทในการบริหารจัดการน้ำภายในระยะเวลา 20 ปี จึงเป็นสิ่งสำคัญในการรองรับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดย สทนช.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากในทุกภาคส่วนและในหลายๆเวทีทุกภาคส่วนของประเทศมาแล้ว ซึ่งต้องถือว่าณขณะนี้มีข้อมูลการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและความต้องการของประชาชนมากที่สุด
อย่างไรก็ดี จากการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำ 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในแต่ละลุ่มน้ำ ที่สะท้อนปัญหาและให้ความคิดเห็นในแต่ละประเด็น ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่
จากนั้นจะนําเสนอต่อคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ (กนช.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบในเดือนตุลาคม 2565 และประกาศใช้เพื่อเป็นกรอบแนวทางเป้าหมายในการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำ
และเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับดำเนินการจัดทำแผนแม่บทลุ่มน้ำ ที่สะท้อนกับประเด็นปัญหาของพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งถือเป็นการร่วมมือกันออกแบบระหว่างหน่วยงานรัฐและภาคประชาชน จึงเป็นแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปีที่เรียกว่า ถูกที่ ถูกเวลา และถูกคน