“ไฟป่านครนายก” ภาพทะเลเพลิงจากเหตุ ไฟไหม้ป่าเขาแหลม จ.นครนายก สร้างความกังวลใจให้สังคมไม่น้อย เมื่อช่วงค่ำคืนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ระดมกำลังทำแนวกันไฟตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา แต่กระแสลมที่พัดแรงตลอดเวลา ทำให้ไฟลุกลามรวดเร็ว สร้างความวิตกกังวลให้กับสังคมเป็นอย่างมาก ทั้งยังเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศไทยกำลังเผชิญฝุ่น PM 2.5 ข้อมูลระบุว่า เหตุไฟป่าครั้งนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ (28 มี.ค.66) โดยพบแสงไฟจำนวน 5 จุด กระจายในระแวกเดียวกัน
เมื่อพูดถึงไฟป่า ทุกคนต่างรู้ดีว่าสิ่งที่ได้รับผลกระทบ ก็คือเหล่าสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าทั้งหลาย พื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้ด้วย รวมทั้งควันและฝุ่น ในแบบที่เรารู้จักกันดีอย่าง ฝุ่น PM 2.5
ไฟป่า คืออะไร
ข้อมูลจาก National Geographic ฉบับภาษาไทย ให้ความหมาย ไฟป่าว่า เป็นไฟที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติ เช่น เศษดิน เศษหญ้า กิ่งไม้ และใบไม้แห้ง รวมถึงต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่ภายในป่าหรือสวนป่าจนเกิดไฟลุกไหม้ที่ปราศจากการควบคุม สามารถลุกลามต่อเนื่อง โดยไม่มีขอบเขต
เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ในสภาพอากาศแห้งแล้ง ประกายไฟจากฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีกัน ภูเขาไฟระเบิด แสงแดดเกิดตกกระทบผลึกหินหรือส่องผ่านหยดน้ำ เป็นชนวนของการเผาไหม้และก่อให้เกิด “ไฟป่า” ขึ้นเองได้ในธรรมชาติ
สถิติ 10 ปี ไฟไหม้ป่าในประเทศไทย
นี่คือข้อมูลจาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าเเละพันธุ์พืช
ทั่วประเทศ ระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ 2556 – 2565 เกิดไฟไหม้ป่าทั้งหมด 51,265 ครั้ง พื้นที่ป่าถูกไฟไหม้ 892,309 ไร่ ภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่เกิดไฟไหม้ป่ามากที่สุดของประเทศ
พื้นที่ไฟไหม้ป่าในแต่ละจังหวัด ปี 2566
นี่คือข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 - 16 ถึงวันที่ 12 มีนาคม 2566
โดยหากเปรียบเทียบการเกิดไฟไหม้ป่าในช่วงเวลาเดียวกัน ระหว่างปี 2565 - 2566 จะพบว่า เกิดไฟไหม้ป่า เพิ่มขึ้น 1,966 ครั้ง พื้นที่ป่าถูกไฟไหม้ เพิ่มขึ้น 43,339.13 ไร่
จากข้อมูลข้างต้น ภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่เกิดไฟไหม้ป่ามากที่สุดของประเทศ ในรายงานข้อเสนอเพื่อยกระดับการแก้ปัญหามลพิษฝุ่นควันภาคเหนือ โดย เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ ระบุเอาไว้อย่างน่าสนใจ
มาตรการหลักของรัฐคือป้องกันและดับไฟ/จุดความร้อนแบบเหมาคลุมทุกชนิดไฟ
ไม่เคยปรากฏว่ามีการจําแนกชนิดความจําเป็นหรือไม่จำเป็น และความหนักเบาของแต่ละจุด ความร้อ ซึ่งมีผลกระทบและปล่อยมลพิษต่างกัน ไม่เพียงเท่านั้นด้วยการไม่นิยามว่าไฟของรัฐเป็นหนึ่งในปัญหาจึงไม่เคยมีชุดเเผนเเละมาตรการป้องกันเเละจัดการการเผาเเปลงใหญ่อย่างจริงจัง ล่าสุดฤดูฝุ่นควัน 2565 ที่แม้จะมีฝนตก แต่มีการเผาในเขตพื้นที่ป่าเมืองปาย และป่าสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน นานต่อเนื่องหลายวัน เเน่นอนว่าไม่ใช่เขตเกษตรกรรมของประชาชน
ด้วยเหตุที่ชุดมาตรการของรัฐยังเน้นไปที่การควบคุมไฟเกษตรแปลงย่อย ทั้งๆ ที่สถิติย้อนหลงชี้ชัดว่าเป็นเพียงปัญหาส่วนน้อยไม่ใช่ปัญหาที่ส่งผลกระทบสูง การประกาศห้ามเผาเด็ดขาด zero burning คือมาตรการแบบเหมาคลุมทุกที่ใช้บังคับประชาชนรายย่อยรวมไปถึงแปลงเกษตรที่สูงซึ่งเป็นไร่หมุนเวียน ซึ่งมีพิกัดแปลงเกษตรชัดเจน ไม่ได้ครอบคลุมถึงการเผาแปลงใหญ่ที่มีผลกระทบสูง โดยเฉพาะการเผาเพื่อบริหารเชื้อเพลิงในป่าของรัฐเอง
เมื่อฤดูฝุ่น 2565 ที่ผ่านมา แม้จะเป็นลานีญามีฝนตกแต่ก็เกิดการลอบเผาหลายครั้ง แม้จะมี ชุดปฏิบัติการดับไฟของกรมป่าไมเข้าไปลาดตระเวนในพื้นที่ก็ยังเกิดมีพื้นที่ไหม้ซํ้าซากทุกปีเช่นนี้ จึงควรอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ
การเน้นประสิทธิภาพเชิงพื้นที่ตามเขตอํานาจและเขตปกครอง
ทําให้ละเลยพื้นที่ไฟใหญ่ระดับหมื่น-แสนไร่ ไหม้ข้ามจังหวัดเป็นเขตใหญ่ เมื่อเกิดแล้วมักจะดับไม่ได้ปล่อยให้ธรรมชาติฝนตก หรือมอดไปเอง หรือไฟขนาดกลาง คือไฟในเขตป่ารอยต่อหลายๆ ตําบลหรือข้ามอําเภอ เขตพื้นที่ ไหม้ระดับพันไร่
ทางออกของปัญหานี้คือ ให้มีการบริหารจัดการยกระดับประสิทธิภาพพื้นที่เสี่ยงไฟ ซํ้าซาก เกิดบ่อยครั้ง รวมทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องมาร่วมบูรณาการและสร้างระบบ KPI ร่วมกันตามขอบเขตพื้นที่เสี่ยง จุดความร้อนในพื้นที่เสี่ยงต่อไฟขนาดใหญ่ ต้องได้รับความสนใจมากกว่าจุดความร้อนในพื้นที่เกษตรที่มีการกันแนวเขต และ ไม่เคยไหม้ลุกลาม คําว่าการยกระดับประสิทธิภาพ การบริหารเชิงพื้นที่ ควรจะขยายความไปถึง พื้นที่เสี่ยงไฟซํ้าซาก พื้นที่ปัญหาซํ้าซาก ที่ต้องบูรณาการอํานาจต่างๆ ข้ามเขตปกครองราชการ
ความแตกต่างไฟแปลงใหญ่กับไฟแปลงขนาดกลาง
ไฟแปลงใหญ่
พื้นที่ไฟไหม้ติดตต่อกันเป็นวงกว้างกินเวลาข้ามวันเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก ปี 2565 แม้จะมีฝนตกจากภาวะลานีญาแต่ทันทีที่ฝนทิ้งช่วงไปแค่ไม่กี่วันก็เกิดไฟไหม้ลามในป่าเป็นวงกว้างระดับหมื่น-แสนไร่ เช่น ไฟปาตามแนวลำน้ำปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นไฟแปลงใหญ่กลุ่มแรกของปี เกิดเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์
ไฟแปลงขนาดกลาง
เป็นกลุ่มไฟข้ามเขตตําบลอําเภอในเขตป่าสงวนฯ และป่าอนุรักษ์ ทั่วทั้งภาคเหนือในแทบทุกจังหวัด เป็นไฟที่ไม่ใช่เกิดไหม้แค่หย่อมหรือจุดเดียว หากเป็นการเผา พร้อมกันหลายจุดจนลามดับไม่อยูู่ และมักจะเกิดข้ามคืน เช่น กรณีการเกิดไฟในเขต ต.บ้านปง อ.หางดง เชียงใหม่ต่อเนื่องในเดือนมีนาคม มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปดับแล้วรุ่งขึ้นลอบเผาอีก
หรือ เช่นที่เกิดในเขตป่าสงวนสันทราย จ.เชียงใหม่ กินอาณาเขตหลายตําบล เป็นรอยต่อสามอําเภอ ไฟลักษณะนี้มักจะไม่ค่อยมีเจ้าภาพในการดูแลโดยตรงเพราะเป็นแปลงใหญ่ และเป็นเขตป่าสงวนฯ ที่ถ่ายโอนภารกิจให้ กับ อปท. แต่ละแห่งไปแล้ ว ปัญหาของไฟแปลงขนาดกลางที่พบทั่วไปในภาคเหนือ คือ เป็นพื้นที่ป่าของรัฐ ที่ไม่มีคนดูเเลต่อเนื่องจริงจัง และไม่มีเจ้าภาพหลักในการบริหารจัดการตลอดทั้งปี
ข้อเสนอของเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือกับไฟไหม้ป่าซ้ำซาก
พื้นที่ไฟในป่าของรัฐที่ไหม้ซํ้าซากในบริเวณเดิมเป็นประจําทุกปีสมควรจะยกขึ้นมา เป็นเขตบริหารจัดการพิเศษ บูรณาการร่วมหลายหน่วยงาน เพราะเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวหลายเขต ปกครอง และมีหน่วยงานหลายหน่วยรับผิดชอบต่อเนื่องกัน หากมีชุมชนใกล้เคียงควรดึงมาทำแผนชุมชนและเป็นอีกหน่วยที่จะร่วมบรูณาการจัดการพื้นที่แปลงใหญ่เเละแปลงกลาง