ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสเฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความระบุว่า ความหวานเป็นมหันต์ภัยของสังคมไทย
หมอธีระวัฒน์ บอกว่า ชีวิตเราชอบความสุข ยังละกิเลสไม่ได้ หมอมีเพื่อนคนหนึ่งชอบ ทั้งของหวานชอบทั้งสูบบุหรี่ บอกให้เลิกทั้งสองเลยเพราะเดี๋ยวหัวใจ สมอง จะรับไม่ไหว
เพื่อนบอกว่าไม่ไหวหรอก ขอเลิกอย่างเดียวได้ไหม หมอบอกผมหน่อย เลิกอันไหนดี ชอบทั้งคู่เท่ากันเลย
เริ่มที่เรื่องอาหารและขนมหวานกันก่อนละกัน เรื่องนี้สำคัญเพราะคนไทยเป็นเบาหวานกันเยอะ นี่ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะยีนส์ของเรา ซึ่งถ้าเทียบกับฝรั่งหัวทองแล้ว เรามีความเสี่ยงมากกว่า
หมอธีระวัฒน์ บอกอีกว่า เบาหวานเป็นต้นตอของสิ่งเลวร้ายหลายอย่างที่ตาม มาเช่น ไตวายและตาบอด เป็นต้น
คนไทยเองถึงจะเห็นดาราสาว ๆ ผอมเปรียบได้กับไม้จิ้มฟัน แต่ปรากฏว่า ประชากรของเราน้ำหนักเกิน เยอะมาก อันนี้อ้างอิงจากสุขภาพคนไทยปี 2557 ว่า 1 ใน 3 น้ำหนักเกิน และ 1 ใน 10 อ้วน ซึ่งตัวเลขเมื่อเทียบกันกับ 20 กว่าปีที่ผ่านมานั้น เพิ่มมาถึง 2 เท่าเลยทีเดียว
ทั้งนี้ หมอธีระวัฒน์ บอกอีกว่า อีกรายงานก็บอกว่าคนไทยเราเป็นห่วงน้ำหนักกันมาก อยากจะผอม แต่ดูท่าจะไม่สำเร็จกันเยอะ คงจะยากจริง
ไม่กินน้ำอัดลม แต่หันมากินชาไร้น้ำตาล กาแฟดำไม่ใส่น้ำเชื่อมเท่านั้น พอจะกินก๋วยเตี๋ยวก็กินเกาเหลาจะได้แป้งน้อย ปรุงโดยเลี่ยงน้ำตาลและลดเค็ม นอกจากนั้นพยายามกินผลไม้ ผักที่มีกากใยมากขึ้น
มาถึงเรื่องน้ำตาลกันบ้าง น้ำตาลนั้นมีหลายชนิด หลัก ๆ ที่เรารู้จักกันก็คือ กลูโคส หรือน้ำตาลบนโต๊ะอาหาร พอกินหวานที่มีกลูโคสมาก ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นเบาหวานไหม
พวกเราอาจจะเคยได้ยินว่า กินหวานมากตับอ่อนเลยต้องทำงานเยอะ โดยต้องหลั่งสารอินซูลินมาลดน้ำตาลในเลือด และทำให้น้ำตาลถูกดูดซึมเข้าเซลล์ในร่างกายได้ พอทำงานเยอะเข้าเลยไม่ไหวจึงเป็นเบาหวานในที่สุด อันนี้อาจจะไม่ใช่ปัจจัยเดียว
เพราะเบาหวานนั้นนอกจากเรื่องที่กล่าวมายังเป็นเรืองกรรมพันธุ์ โดยความอ้วนเป็นส่วนสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงโดยเฉพาะอ้วนลงพุง เพราะไขมันที่อยู่รอบเอวและเครื่องใน ช่องท้องนั้น ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และ ทำให้เซลล์ในร่างกายดื้อกับอินซูลิน
เอาเป็นว่ากินหวานมากจนอ้วน ก็เสี่ยงจะเป็นเบาหวานมากขึ้น
ส่วนอีกชนิดก็คือ ฟรุกโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลในผลไม้ และได้นำมาใช้ในการปรุงรสหวาน
ปัญหาคือฟรุกโตสที่เอามาปรุงแต่งรสหวานมันไม่ได้มีกาก มันไม่ได้ช่วยชะลอการซึมซับ และจำนวนที่ใช้มันสูงกว่าที่เรากินผลไม้ เมื่อไม่มีกากมาช่วยในการชะลอการดูดซึม ระดับฟรุกโตสในเลือดก็จะสูงขึ้นเร็วกว่าปกติ ร่างกายไม่สามารถใช้ฟรุกโตสได้ทันทีจึงต้องไปผ่านการสังเคราะห์จากตับ และพอระดับมันสูงเร็วกว่าที่ได้จากผลไม้ ตับก็ทำงานหนัก แต่อันนี้เรายังไม่รู้แน่ชัดว่าแย่ต่อร่างกายยังไงแต่มีวิจัยว่าทำให้มีไขมันมาเกาะในตับมากขึ้น (non-alcoholic fatty liver disease)
อย่างไรก็ดี หมอธีระวัฒน์ บอกด้วยว่า นอกจากเบาหวานแล้ว กินหวานมีผลเสียอะไรกับร่างกายบ้างละ น้ำตาลนี้ไม่ธรรมดา นอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงที่เป็นเบาหวานแล้วแน่ ๆ แต่น้ำตาลตัวเล็กก็ยังสามารถแทรกซึมไปได้หมดเลย
โดยมีการศึกษาใน JAMA internal medicine 2014 ว่ากินหวานเสี่ยงตายจากโรคหัวใจสูงขึ้น 38% และมีอีกคือ จากการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ทำให้เกิดการทำลายเส้นเลือดและรวมถึงผนังของเส้นเลือดเปิดโอกาสให้ไขมันเข้าไป ทำให้เส้นเลือดตีบและตันในที่สุด
นอกจากนั้นยังทำลายความยืดหยุ่นของผนังเส้นเลือด พอมันยืดไม่ได้ หดก็ไม่ดี ก็ทำให้ปริมาณของเลือดที่ไปสู่อวัยวะต่างๆไม่สมดุลย์ และเป็นส่วนที่ทำให้ความดันสูงขึ้น ความดันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของความเสี่ยงโรคหัวใจ
การที่เส้นเลือดผิดปกติ ยังทำให้การส่งสารสำคัญไปยังอวัยวะต่างๆ และการระบายชองเสียออกเกิดผิดพลาด รวมทั้งในเนื้อเยื่อสมอง ถึงน้ำตาลจะสำคัญกับสมองมาก เพราะถ้าน้ำตาลต่ำมาก เป็นเวลานาน สมองตายกลายเป็นผักได้เลย
แต่สูงไปก็ไม่ดีเพราะภาวะดื้ออินซูลินทำให้มันไม่สามารถลดน้ำตาลในสมองได้เร็วพอ ต้องรอให้สมองใช้น้ำตาลไปทีละนิด พอน้ำตาลในสมองสูง ร่วมกับภาวะอักเสบที่มีผลต่อเส้นเลือด และต่อเซลล์สมอง จะทำให้เข้าวงจรวิกฤติพลังงานของสมอง เริ่มจากส่วนความจำและส่วนการตัดสินใจ จะถูกทำลายไปเรื่อยๆ กินหวานมากนานๆ เข้า เลยยิ่งเสี่ยงสมองเสื่อม
หมอธีระวัฒน์ ตั้งคำถามว่า เคยสงสัยไหมว่ากินหวานไปเยอะทำไมไม่เบื่อ
ของหวาน พอกินขนมครก เค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม กินไปกินมา ยิ่งอยากกิน พอกินไปเรื่อยก็ไม่เบื่อ เพราะว่าน้ำตาลมันแปลก พอกินไป rewarding pathway นี่มันไม่ด้าน ร้ายใหญ่จะทำให้ติดหวาน เหมือนกับติดบุหรี่เลย