โรคมะเร็ง นับเป็นปัญหาสำคัญลำดับต้น ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "มะเร็งเต้านม" ที่ทำให้หญิงไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับหนึ่งทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จากข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มะเร็งเต้านม ประมาณร้อยละ 10-20 มีสาเหตุมาจากการรับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือยีนกลายพันธุ์จากมารดาหรือบิดา
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาการตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1/BRCA2 กำหนดให้เป็นสิทธิประโยชน์ของคนไทยทุกคนและทุกสิทธิที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม รวมถึงญาติสายตรงซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566 พบว่า ยังมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกลุ่มเสี่ยงอีกจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงบริการนี้
ปัจจุบันการตรวจคัดกรองยีนกลายพันธุ์อยู่ในสิทธิส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ครอบคลุมทั้ง 3 สิทธิ คือ
1.ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 45 ปี
2.ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมที่อายุ 46-50 ปี แบ่งเป็น
3. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมเมื่ออายุมากกว่า หรือเท่ากับ 50 ปี ร่วมกับข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
4.ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกช่วงอายุที่เป็นมะเร็งเต้านม แบบ Triple Negative หรือ มะเร็งเต้านมในผู้ชาย
ทั้งนี้ หากพบยีนกลายพันธุ์ที่แสดงว่ามีความเสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ แพทย์จะแนะนำให้ญาติสายตรงมาตรวจว่า มียีนกลายพันธุ์ BRCA1 และ BRCA2 ด้วยหรือไม่ หากผลตรวจเป็นบวก แพทย์ที่ปรึกษาทางพันธุกรรมจะวินิจฉัยและแนะนำการป้องกัน สำหรับญาติสายตรงที่ผลตรวจเป็นบวกก็จะแนะนำวิธีลดความเสี่ยงซึ่งมีการให้ยาต้านฮอร์โมน หรือการรักษาอื่น ๆ ที่เหมาะสมแต่ละราย โดยทั้ง 3 สิทธิสุขภาพไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด