จากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยหลายจังหวัดมีค่าเกินค่ามาตรฐานและส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพคนไทย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และ โรคผิวหนัง
เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 มีอนุภาคที่เล็กมากสามารถหลุดจากการกรองของขนจมูกเข้าสู่ภายในร่างกาย ทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบในอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีความเครียดก็อาจยิ่งทำให้ภาวะโรคเรื้อรังของผู้ป่วยเลวร้ายลงได้
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การใช้สมุนไพรที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า สามารถใช้ป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคทางเดินหายใจในภาวะมลพิษมีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่
นอกจากสมุนไพรดังกล่าวแล้วยังมีอาหาร เครื่องดื่ม ที่ปรุงจากขิง และ บร็อคโคลี่ รวมถึงการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พืชผักผลไม้หลากสีช่วยดูแลสุขภาพได้
สำหรับ อาการทางผิวหนัง มักจะมีสาเหตุที่มาจากการแพ้ฝุ่น อาการผด ผื่น คัน ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ต้านการอักเสบของผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อโรค เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง เช่น ว่านหางจระเข้ บัวบก โลชั่นพญายอ
อาการผิวหนังอักเสบ ลมพิษ ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพลู และ ขี้ผึ้งพญายอ หากผิวแห้งใช้โลชั่นที่มีส่วนประกอบของว่านหางจระเข้ บัวบก ขมิ้นชัน ที่สำคัญไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง ควรดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ด้านดร.ภญ.ดวงแก้ว ปัญญาภู รองผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมุนไพรต่าง ๆ ข้างต้น ดังนี้
เป็นสมุนไพรที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ถ้ามีอาการระคายเคืองทางเดินหายใจจากภาวะฝุ่นพิษใช้แบบชาชงหลังอาหารวันละ 3 – 4 ครั้ง แต่มีข้อควรระวังเนื่องจากในหญ้าดอกขาวมีโพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไตต้องใช้อย่างระวัง
มีความโดดเด่นเรื่องการแก้พิษ ล้างพิษ สามารถนำมาใช้ได้ 2 -3 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารควรระวังผู้ป่วย ตับ ไต ใช้อย่างระมัดระวัง
มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงลดการอักเสบ การระคายเคือง บรรเทาอาการไอ รับประทานได้ทั้งแบบผลสด ผลแห้ง และชาชง
สารเคอร์คิวมินในขมิ้นชัน สามารถป้องกันการทำลายเซลล์ ระบบทางเดินหายใจจึงรับประทานขมิ้นชันในช่วงที่มีมลพิษทางอากาศได้ ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 – 4 ครั้งแต่ต้องไม่เกิน 9 กรัม / วัน และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีท่อน้ำดีอุดตัน และนิ่วในถุงน้ำดี
กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย หรือ การใช้ยาสมุนไพรในการรักษาโรค สามารถติดต่อที่ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก หมายเลขโทรศัพท์ 0 2149 5678 หรือช่องทางออนไลน์ที่ เฟซบุ๊ก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก www.facebook.com/dtam.moph และ line @DTAM