ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลจากการคาดการณ์อนาคตร่วมกับกรมสุขภาพจิต ETDA และศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ โดย MQDC เกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพจิตของประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้สุขภาพจิตและสุขภาวะของคนไทยแย่ลง เห็นได้จากตัวเลขผู้ป่วยทางจิตจากเดิมในปี 2558 ที่มีผู้ป่วยจิตเวช 1.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 2.3 ล้านคนในปี 2564 และหากเข้าไปดูข้อมูลเชิงลึกจะพบว่า มีกลุ่มที่ควรเฝ้าระวังทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่
สำหรับความเปลี่ยนแปลงที่สังคมไทยต้องพึงระวังเพื่อรับมือ คือออกแบบอนาคตที่พึงประสงค์ต่อการดูแลสุขภาพจิตในอนาคต คือ 1) วิถีชีวิตคนเมือง ซึ่งการขยายตัวของเมืองจะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าทางร่างกายและจิตใจและส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ดี 2) การแพร่ระบาดของข่าวปลอม ทำให้ผู้รับข้อมูลเกิดความสับสน เข้าใจผิด จนนำไปสู่ความกังวล ความเครียด และความไม่เชื่อใจ 3) อาชญากรรมและความรุนแรง ที่อาจนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบและทำให้คนในสังคมเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย 4) สัญญาณล่มสลายจากภัยธรรมชาติ ที่ผลกระทบจากวิกฤตภูมิอากาศที่รุนแรงส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต อัตราการเสียชีวิต และทำให้เกิดแนวโน้มที่แต่ละหน่วยงานจะมีการพัฒนาแผนการดูแลสุขภาพจิตร่วมกับแผนการรับมือภัยพิบัติ
แม้ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น แต่ก็มีปรากฏให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนทิศทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อรับมือและบรรเทาสุขภาพจิตที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่
1. ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการดูแลจิตใจ (AI Mindfullness) ซึ่งสามารถทำงานจัดเก็บข้อมูที่มีอยู่มหาศาลได้ตลอดเวลา ช่วยลดภาระทางการแพทย์
2. การเพิ่มขึ้นของนวัตกรรมโลกเสมือนเพื่อเพิ่มประสบการณ์ดูแลสุขภาพจิต (Immersive Mental Healthcae Innovation) ที่จะมีการออกแบบโลกเสมือนทั้งมิติการจำลองประสาทสัมผัสทั้งห้า และสถานการณ์จริงที่ทำให้การบำบัดจิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. สุขภาพจิตและนโยบายรัฐ (Mental Health in all Policies) ที่สวัสดิการการดูแลสุขภาพจิตจะเป็นไปอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และหลากหลายรูปแบบ ดังเช่นในอังกฤษมีมาตรการผ่อนชำระหนี้ให้กับผู้ป่วยจิตเวช เป็นต้น
4. เศรษฐกิจจากความหลงใหล (Passion Economy) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และทำให้ความชอบของแต่ละบุคคลสามารถผสานกับอาชีพ ส่งผลให้มีความสุขกับการทำงานเพิ่มขึ้น
5. พื้นที่ปลอดภัยสำหรับจิตใจของเหยื่อ (Safe Space for Mental Health Victim) ที่ทำให้การเยียวยาผู้ผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น
6. การดูแลสุขภาพจิตแบบผสมผสาน (Hybrid Mental Healthcare Model) เพื่อให้การรักษาทั้งในสถานที่จริงและแบบทางไกลมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน และเกิดทางเลือกในการรักษามากขึ้น
7. สุขภาวะที่ดีในที่ทำงาน (workplace Wellness) ที่การจ้างงานจะให้คุณค่ากับการใช้ชีวิต การออกแบบสวัสดิการในองค์กรที่ทำให้การทำงานมีความสุขและเกิดผลพวงในการลดค่าใช้จ่ายทางด้านร่างกาย
ดร.กริชผกา กล่าวเสริมว่า นวัตกรรมด้านการบริการสุขภาพจิตกําลังเข้ามามีบทบาทในการแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ และยังช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริการ ช่วยให้ผู้ป่วยสุขภาพจิตสามารถเข้าถึงการบริการได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน NIA ได้สนับสนุนสตาร์ทอัพและธุรกิจนวัตกรรมให้มีการพัฒนาโซลูชันช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพจิต และกิจกรรมไลฟ์สไตล์ที่ช่วยให้ผู้คนมีความสุขกับการใช้ชีวิตมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการรับคำปรึกษาหาแนวทางเพื่อบำบัดหรือป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นสามารถเข้าไปลองใช้ 3 แพลตฟอร์มบริการทางไกลซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก NIA ได้ เช่น
อนาคตมีการคาดการณ์ว่าตลาดแอปพลิเคชันด้านสุขภาพจิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตขึ้นจาก 300 ล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2563 เป็น 780 ล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2570 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยรายปีถึงร้อยละ 14 สำหรับประเทศไทยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมายกระดับการดูแล การให้บริการด้านสุขภาพจิตและโรคจิตเวชเริ่มมีบทบาทเด่นชัดมากขึ้น เห็นได้จากการที่วิสาหกิจหรือสตาร์ทอัพนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้และสร้างนวัตกรรมการแพทย์และสุขภาพจิต ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตสามารถเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตของผู้รับบริการได้ดีขึ้น นําไปสู่การรักษาและการดูแลผู้รับบริการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ