จากสถานการณ์ที่ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ภาคเหนือ อีสานตอนบนและภาคใต้ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากซึ่งมีรายงานพื้นที่ประสบอุทกภัยแล้วหลายจังหวัด อาทิ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุดรธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งประชาชนยังต้องการอาศัยอยู่ในบ้านเนื่องจากระดับน้ำสูงส่งผลให้ประชาชนบางส่วนไม่สามารถใช้ "ส้วม" ได้ตามปกติ
ส้วมเฉพาะกิจ หรือ ส้วมชั่วคราว จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกและป้องกัน รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงการปนเปื้อนของสิ่งปฏิกูลที่มาจากการขับถ่ายของประชาชนในน้ำช่วงที่ไม่สามารถใช้งานส้วมโดยปกติในบ้านได้ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดเชื้อที่มาจากน้ำที่เน่าเสียสกปรกหรือปนเปื้อนสิ่งปฏิกูลด้วย
โดย กรมอนามัย ได้เผยแพร่วิธีการทำส้วมชั่วคราว หรือ ส้วมเฉพาะกิจ เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับประชาชนเบื้องต้นโดยสามารถเลือกทำ ส้วมชั่วคราว หรือ ส้วมเฉพาะกิจ ได้ใน 3 รูปแบบตามความเหมาะสมเพื่อใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ดังนี้
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ :
1. เก้าอี้พลาสติก
2. มีด คัตเตอร์ หรือเลื่อยสำหรับเจาะพื้นรองนั่งเก้าอี้และกรรไกรสำหรับตัดกระดาษแข็ง
3. ถุงดำ หรือ ถุงพลาสติกขนาดใหญ่
ขั้นตอนการทำ :
ตัดกระดาษแข็งให้เป็นรูปที่นั่ง มีช่องวงรีตรงกลาง หลังเจาะเป็นช่องตรงกลาง กว้างประมาณ 12-15 ซม. ยาวประมาน 25 ซม. แล้วให้นำถุงพลาสติกสวมลงไปในช่องวงรี โดยเปิดปากถุงคลุมเก้าอี้เอาไว้ เวลาใช้ก็เพียงนั่งลงบนเก้าอี้แล้วถ่ายทุกข์
รูปแบบนี้เหมาะกับผู้สูงวัย ผู้มีน้ำหนักตัวมาก หรือ ผู้ที่มีปัญหาเข่า เวลาใช้เสร็จก็มัดถุงให้เรียบร้อย นำไปทิ้งอย่างเหมาะสม
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ :
1. ถังพลาสติก หรือกระโถน แบบมีฝาปิด
2. ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือถุงดำ
ขั้นตอนการทำ
นำถังพลาสติก หรือ กระโถนเปิดฝาออก แล้วจึงนำถุงพลาสติกใส่ลงในถังหรือกระโถน คลี่ปากถุงครอบบนปากถัง หรือกระโถน
รูปแบบนี้ควรเลือกถังพลาสติกเนื้อหนา รองรับน้ำหนักได้ ก่อนจะนั่งลงควรคะเนน้ำหนักตัวเองให้ดีกว่าถังพลาสติกสามารถรองรับได้หรือไม่
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ :
1. กล่องกระดาษ เอ4 แบบมีฝาปิด
2. มีดคัตเตอร์ หรือกรรไกร สำหรับเจาะกล่องกระดาษ
3. เทปกาว
4. ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือ ถุงดำ
ขั้นตอนการทำ :
ใช้กล่องกระดาษ เอ 4 พร้อมฝาปิด มาเจาะช่องที่ฝากล่อง กว้างประมาณ 12-15 ซม. ยาวประมาณ 25 ซม. จากนั้นคว่ำปากกล่องกระดาษลง นำฝากล่องที่เจาะเป็นช่องแล้ว ครอบปิดลงบนก้นกล่องกระดาษ แล้วเจาะก้นกล่องกระดาษเป็นช่องให้ตรงกันกับฝากล่อง
นำเทปกาวติดฝากับตัวกล่องกระดาษให้แน่น ใช้ถุงดำใส่ลงในกล่องคลี่ปากถุงครอบบนปากกล่องเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
เมื่อใช้ส้วมเรียบร้อยแล้ว หลังขับถ่ายลงในถุงดำทุกครั้งให้ใช้ปูนขาวหรือขี้เถ้า 2 ช้อนโต๊ะใส่ในถุงอุจจาระ เพื่อทำลายเชื้อโรค จากนั้นมัดปากถุงให้แน่น แล้วรวบร่วมส่งให้หน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป
ที่มา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข