ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อน-แต่งตั้ง “ข้าราชการ กทม.” ประเภทวิชาการ

31 มี.ค. 2567 | 09:11 น.
อัปเดตล่าสุด :31 มี.ค. 2567 | 09:38 น.

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ กฎ ก.ก. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้ง “ข้าราชการ กทม.สามัญ” ให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ มีผล 30 มี.ค. 2567

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๗ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศ กฎ ก.ก. (คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร) ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๗

กฎ ก.ก. ฉบับนี้ ลงนามโดย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธาน ก.ก. มีผลบังคับใช้ถัดจากวันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งคือ วันที่ 30 มีนาคม 2567

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.ก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้ง ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓) มาตรา ๔๑ (๓) และมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกอบกับมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.ก. จึงออกกฎ ก.ก. ไว้ ดังต่อไปนี้ 
 

ข้อ ๑ กฎ ก.ก. นให้ใช้บังคับตั้งแต่ นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ขอ ๒ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๕ แห่งกฎ ก.ก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ คัดเลือกและแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญ การพิเศษ พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๑) วางแผนดําเนินการคัดเลือกให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส และเป็นธรรม”

             ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อน-แต่งตั้ง “ข้าราชการ กทม.” ประเภทวิชาการ

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๔ ของกฎ ก.ก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ ๖ การประเมินความรู้ความสามารถของบุคคล (๑)

ใช้วิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้

(ก) การสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) กําหนดเป็นการสอบข้อเขียนแบบอัตนัย หรือการสอบข้อเขียนแบบปรนัย หรือ การสอบข้อเขียนแบบอัตนัย ซึ่งมีข้อสอบแบบปรนัยร่วมด้วย หรือวิธีการอื่นใดตามความจําเป็นและเหมาะสม โ

ดยให้ครอบคลุมความรู้ ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องแผน การวางแผน การนําแผนไปสู่การปฏิบัติ การประเมินผลแผน แผนยุทธศาสตร์ในระดับชาติ แผนพัฒนา กรุงเทพมหานคร และแผนเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง นโยบาย หลักการบริหารงานและการบริหารทรัพยากรบุคคล

กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ เหตุการณ์ปัจจุบันและสถานการณ์โลก วินัยข้าราชการ และอื่น ๆ ที่มีความจําเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถทั่วไปที่เกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตําแหน่ง

(ข) การสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) กําหนด เป็นการสอบข้อเขียนแบบอัตนัย หรือการสอบข้อเขียนแบบปรนัย หรือการสอบข้อเขียนแบบอัตนัย ซึ่งมีข้อสอบแบบปรนัยร่วมด้วย หรือวิธีการอื่นใดตามความจําเป็นและเหมาะสม โดยให้ทดสอบความรู้ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ สายงานที่คัดเลือก เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และอื่น ๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
โดยเฉพาะ

ทั้งนี้ จะทดสอบความรู้ความสามารถในเรื่องใดหรือทางใด ให้ระบุไว้ในประกาศรับสมัครคัดเลือกให้ชัดเจน

                          ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อน-แต่งตั้ง “ข้าราชการ กทม.” ประเภทวิชาการ

(๒) เกณฑ์การตัดสิน

(ก) ผู้ที่จะถือได้ว่าเป็นผู้สอบผ่านการสอบความรู้ความสามารถทั่วไป จะต้องได้คะแนน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ จึงจะมีสิทธิสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่ง ทั้งนี้ ผู้สอบผ่านจะได้รับ การขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบผ่านการสอบความรู้ความสามารถทั่วไป โดยสามารถใช้ผลการสอบความรู้ ความสามารถทั่วไป ได้ ๓ ปี นับแต่วันประกาศผลการสอบความรู้ความสามารถทั่วไป

(ข) ผู้ที่จะถือได้ว่าเป็นผู้สอบผ่านการสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่ง จะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

(ค) ผู้ที่จะถือได้ว่าเป็นผู้สอบผ่านการประเมินความรู้ความสามารถของบุคคลจะต้อง ได้คะแนนการสอบความรู้ความสามารถทั่วไปและความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งตามเกณฑ์ที่กําหนด จึงจะมีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่ง

ข้อ ๗ คณะกรรมการประเมินความรู้ความสามารถของบุคคล ได้แก่ คณะกรรมการออกข้อสอบ ความรู้ความสามารถทั่วไป และคณะกรรมการออกข้อสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่ง

(๑) ให้คณะกรรมการอํานวยการคัดเลือกแต่งตั้งคณะกรรมการออกข้อสอบความรู้ ความสามารถทั่วไป ประกอบด้วย คณะกรรมการ จํานวน ๓ - ๕ คน แต่งตั้งจากข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร หรือ ประเภทอํานวยการ

ให้ผู้อํานวยการส่วน หรือหัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้ากลุ่มงานในสํานักงานการเจ้าหน้าที่ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร จํานวน ๑ คน เป็นเลขานุการ และเจ้าหน้าที่ของสํานักงานการเจ้าหน้าที่ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร จํานวน ๒ คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
 

คลิกดูเพิ่มเติมจากราชกิจจานุเบกษา