กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กำชับ 64 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นลมแรง ในช่วงวันที่ 5 – 9 ก.ย. 2567 โดยพื้นที่เสี่ยงจะมีจังหวัดไหน ภาคใดบ้าง สามารถตรวจสอบได้ดังต่อไปนี้
ภาคเหนือ 15 จังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด
ภาคเหนือ 17 จังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด
ภาคกลาง 18 จังหวัด
ภาคใต้ 11 จังหวัด
ภาคกลาง 4 จังหวัด
ภาคใต้ 6 จังหวัด
นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ได้ประสานแจ้ง 64 จังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามปริมาณฝนและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักและพื้นที่ที่มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน พื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน
สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตก ถ้ำลอด หากมีความเสี่ยงเกิดสถานการณ์ภัย ให้ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ไม่ให้บุคคลใดเจ้าพื้นที่โดยเด็ดขาด พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวตลอด 24 ชั่วโมง
ในกรณีที่มีคลื่นลมแรง ให้แจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล และนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำโดยเด็ดขาด รวมถึงให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ ตำรวจน้ำ แจ้งเตือนการเดินเรือ โดยให้ชาวเรือ ผู้บังคับเรือ ผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร เดินเรือด้วยความระมัดระวัง หากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ให้พิจารณาห้ามเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด
"เรายังเตรียมความพร้อมของเครื่องจักรกลสาธารณภัย รถปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) ให้พร้อมเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดสถานการณ์ขึ้น และขอให้แต่ละจังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้าเพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์โดยปฏิบัติตามคำแนะนำจากทางราชการอย่างเคร่งครัด"
ส่วนทางด้านศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) เปิดเผยสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยาวันนี้ เมื่อเวลา 12.00 น. ตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,503 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที สมทบกับแม่น้ำสะแกกรัง ผ่านสถานีวัดน้ำ Ct.19 จ.อุทัยธานี วัดได้ 52 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ปัจจุบันกรมชลประทาน ใช้ระบบชลประทานในพื้นที่ตอนบน และบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ หน่วงน้ำก่อนจะไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา และควบคุมปริมาณน้ำให้ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อลดผลกระทบพื้นที่ด้านท้ายเขื่อน ขณะเดียวกันได้พิจารณาพร่องน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำที่จะเพิ่มขึ้น
ขณะที่สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวมกัน 48,710 ล้าน ลบ.ม. หรือ 64% ของความจุอ่างฯ รวมกัน ยังสามารถรับน้ำได้อีก 27,627 ล้าน ลบ.ม.
ทั้งนี้ จากการคาดการณ์สภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) ประเมินทิศทางของพายุไต้ฝุ่น “ยางิ” ถึงแม้กรณีพายุไม่ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย แต่อาจมีอิทธิพลที่จะส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในวันนี้มีร่องมรสุมพาดผ่านตอนกลางของประเทศ
คาดว่าในช่วง 7 วันข้างหน้านี้จะมีฝนตกหนักเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ในภาคเหนือ โดยเฉพาะบริเวณที่ประสบอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก ส่งผลให้มีน้ำท่าเพิ่มสูงขึ้นและมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ อย่างต่อเนื่อง กรมชลประทาน ได้เร่งระบายน้ำในอ่างฯ เพื่อรักษาระดับน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม รวมทั้งเพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนที่อาจจะตกลงมาอีกในระยะต่อไป ลดผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายน้ำให้มากที่สุด