เส้นทางพายุโซนร้อนจ่ามี คาดเคลื่อนตัวลงทะเลจีนใต้ 23-24 ต.ค.67

22 ต.ค. 2567 | 03:11 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ต.ค. 2567 | 03:23 น.

อัปเดต "พายุโซนร้อนจ่ามี" คาดเคลื่อนตัวลงทะเลจีนใต้ตอนบนวันที่ 23-24 ต.ค.นี้ เตือนประชาชนเดินทางฟิลิปปินส์ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนบิน พร้อมจับตาพายุลูกใหม่นี้จะกระทบไทยหรือไม่

วันที่ 22 ตุลาคม 2567  กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก เมื่อเวลา 04.00 น. พายุดีเปรสชันในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "จ่ามี (TRAMI)"แล้ว

 

สำหรับชื่อพายุ “จ่ามี(TRAMI)” หมายถึง ชื่อดอกไม้ชนิดหนึ่งในสกุลดอกกุหลาบ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยพายุลูกใหม่นี้ ถือเป็นพายุลูกที่ 20 จากการนับจำนวนพายุของ RSMC โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น) 

อัปเดต "พายุโซนร้อนจ่ามี" คาดเคลื่อนตัวลงทะเลจีนใต้ตอนบนวันที่ 23-24 ต.ค.นี้ เ

เส้นทางพายุจ่ามี กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก พายุนี้ยังอยู่ห่างจากประเทศ  คาดว่าจะเคลื่อนตัวผ่านเกาะลูซอล ประเทศฟิลิปปินส์ ในช่วงวันที่ 24- 25 ต.ค.67 หลังจากนั้นลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน และเคลื่อนไปทางตะวันออกของประเทศจีน เข้าใกล้เกาะไหหลำ และชานฝั่งประเทศเวียดนาม 
 

คาดว่าพายุนี้ยังไม่มีผลกระทบกับสภาพอากาศประเทศไทยในระยะนี้ แต่ยังต้องติดตามในช่วงวันที่ 26 -27 ต.ค.67 เมื่อพายุเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนาม ซึ่งอาจจะมีผลกระทบทางตะวันออกของภาคอีสานได้ อาจมีลมแรงเนื่องจากมีมวลอากาศเย็นอยู่ด้านหน้าของพายุ แผ่ลงมาปกคลุม 

 

ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยา ขอเตือนผู้ที่จะเดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ ขอให้ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ ข้อมูลอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้


จับตา "พายุโซนร้อนจ่ามี" กระทบสภาพอากาศประเทศไทยหรือไม่

 

ขณะที่สภาพอากาศประเทศไทยวันนี้ 22 ตุลาคม 2567 พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 

 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย 

 

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

พื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนัก
 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และกำแพงเพชร 
  • อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันออก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
  • บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส  
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

ภาคตะวันออก

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
  • บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส 
  • ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
  • บริเวณจังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
  • ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา 
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้